สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่ งประเทศไทย (Global Compact Network Thailand: GCNT) ร่วมกับ คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสั งคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชี ยและแปซิฟิก (UN ESCAP) และ สหประชาชาติในประเทศไทย (UN in Thailand) ร่วมเป็นเจ้าภาพเวทีระดับภูมิ ภาคเอเชียแปซิฟิก ขับเคลื่อนความยั่งยืน ในเวทีโลก “UNGC Leaders Summit 2022” เป็นการประชุมผ่านแพลตฟอร์ มออนไลน์พร้อมกันทั่วโลก เมื่อ 1-2 มิถุนายน ที่ผ่านมา มีภาคธุรกิจ ภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม จากทั่วโลกกว่า 10,000 คนเข้าร่วมงาน และเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้ รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดประชุม ในงานนี้ นายพีรพงศ์ กรินชัย รองกรรมการผูู้จัดการบริหาร ด้านวิศวกรรมกลาง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ได้รับเชิญร่วมแลกเปลี่ ยนประสบการณ์ดำเนินธุุรกิจ ในประเด็น Climate & Biodiversity
นายพีรพงศ์ กรินชัย รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ด้านวิศวกรรมกลาง ในฐานะประธานความมุ่งมั่นด้ านการบริหารทรัพยากรที่เป็นเลิศ ของซีพีเอฟ ร่วมแลกเปลี่ยนมุ มมองและประสบการณ์ ในหัวข้อ Climate & Biodiversity ว่า ซีพีเอฟ ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิ จและดูแลสิ่งแวดล้อม ให้ไปด้วยกันได้อย่างสมดุลบนเป้ าหมายความยั่งยืน มีการหมุนเวียนใช้ทรั พยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่ าตลอดห่วงโซ่คุณค่า และมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกเป็นศูนย์ (Net-Zero) บรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) โดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี มาปรับกระบวนการผลิต ดำเนินการเพิ่มประสิทธิ ภาพการใช้พลังงาน การจัดการมูลสัตว์และน้ำเสีย มีการติดตั้งระบบก๊าซชี วภาพในการบำบัดมูลสัตว์และน้ำที่ ใช้ในการเลี้ยงสุกรและไก่ไข่ และนำก๊าซมีเทนและคาร์ บอนไดออกไซด์ที่ได้จากระบบก๊ าซชีวภาพไปผลิตกระแสไฟฟ้ าและนำกลับมาใช้ในฟาร์ม
นอกจากนี้ ได้ส่งเสริมการใช้พลั งงานแสงอาทิตย์ ติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคา บนพื้น และแบบลอยน้ำ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและลดการปล่ อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมแล้วสามารถลดการปล่อยก๊ าซเรือนกระจกได้มากกว่า 575,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่ อปี ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนพลังงานหมุ นเวียนอยู่ที่ 27% ของการใช้พลังงานทั้งหมด ซีพีเอฟ ยังได้พัฒนามาตรฐานการจัดหาวั ตถุดิบอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่ อุปทาน เพื่อปกป้องความหลากหลายทางชี วภาพ โดยมีการกำหนดเป้าหมาย ปี 2573 ในการจัดซื้อวัตถุดิ บทางการเกษตรหลักที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวโพด ปาล์มน้ำมัน ถั่วเหลือง มันสำปะหลัง และปลาป่น 100% จากการจัดหาทั่วโลกของซีพี เอฟจะต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลั บได้และมาจากพื้นที่ที่ ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่าและไม่ ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ บริษัท ฯ ได้พิจารณายกระดับการจัดการข้ อมูลด้วยเทคโนโลยีการจัดการข้ อมูลแบบบล็อกเชน (Blockchain Technology) เพื่อทำให้การตรวจสอบย้อนกลับวั ตถุดิบมีความรวดเร็วและแม่นยำ
นายพีรพงศ์ ยังมีข้อเสนอแนะถึงประเด็นสำคั ญที่จะต้องร่วมกันสร้ างความตระหนักรู้ให้คนรุ่นต่ อๆไป (Next Generation) ร่วมกันสร้างโลกให้ดีขึ้นกว่านี้ และทุกคนต้องทำหน้าที่ ในฐานะพลเมืองของโลก ที่ต้องสร้างสิ่งที่ดีให้กั บโลกใบนี้ โดยลงมือทำตั้งแต่วันนี้ เหมือนว่าเป็นปี 2030 ทั้งนี้ ซีพีเอฟ มุ่งมั่นสนับสนุนเป้าหมายการพั ฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ( Sustainble Development Goals : SDGs) ขับเคลื่อนความยั่งยืน ภายใต้เป้าหมายกลยุทธ์ CPF 2030 Sustainability in Action ประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่ ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพี ยงและปรัชญา 3 ประโยชน์ คือประโยชน์ของประเทศ ประชาชน และบริษัท บนพื้นฐานของการกำกับดูแลกิ จการที่ดี
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ มีผู้นำของภาคเอกชนไทยที่เข้าร่ วม อาทิ นายนพปฎล เดชอุดม ประธานคณะผู้บริหารด้านความยั่ งยืนองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขาธิการสมาคมเครือข่ ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย เลขาธิการสำนักงาน ก.ล.ต ผู้แทนจากบริษัท บางจากคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)เป็นต้น โดยหัวข้อในการประชุม ติดตามความก้าวหน้าสู่เป้ าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและข้ อตกลงปารีสในภูมิภาคอาเซียน การร่วมสร้างเครือข่ายผู้นำที่ มุ่งมั่นขับเคลื่อนความยั่งยื นในโลกหลังโควิด-19 การบรรลุเป้าหมาย SDGs โดยเฉพาะเป้าหมาย Net-Zero การจัดการกับช่องว่างด้านความรู้ ทรัพยากรและเงินทุน