กรุงเทพฯ – สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร่วมกับ Alliance to End Plastic Waste (AEPW) และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดงานแถลงข่าว ผลการศึกษานวัตกรรมถนนพลาสติกรี
ส.อ.ท. ร่วมกับ AEPW และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชูนวัตกรรมถนนพลาสติกรีไซเคิล ลดขยะ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
ดร. ชาครีย์ บำรุงวงศ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการขนส่ งทางบก (นักวิชาการขนส่งทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า “กระทรวงคมนาคมมีนโยบายพั ฒนาโครงข่ายการขนส่งหลายรู ปแบบที่มีประสิทธิภาพ และการจูงใจให้ผู้เดินทางและผู้ ประกอบการขนส่ง เปลี่ยนรูปแบบการเดิ นทางและการขนส่งจากรถเป็นรางให้ มากขึ้นในอนาคตอันใกล้ แต่อย่างไรก็ตามนำขยะพลาสติ กมาใช้ในการก่อสร้างถนน ภายใต้ความร่วมมือของหลายภาคส่ วน จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรั บการสร้างถนนที่ยั่งยื นของประเทศไทย กระทรวงคมนาคม ขอร่วมสนับสนุนการดำเนิ นการและความร่วมมือนี้เพื่ อนำมาปรับใช้กับการดำเนิ นโครงการต่าง ๆ ของกระทรวงคมนาคมให้ เหมาะสมในอนาคตต่อไป”
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่ งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า “สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยมี ความยินดีอย่างยิ่ง ที่ได้มีส่วนร่วมขับเคลื่ อนโครงการที่มุ่งเน้นการแก้ปั ญหาขยะพลาสติก และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กั บพลาสติกที่ใช้แล้วในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งโครงการถนนพลาสติกนี้ ได้ริเริ่มครั้งแรกโดยบริษั ทสมาชิกของ ส.อ.ท.และพันธมิตร ได้แก่ เอสซีจีซี (SCGC) ดาว (DOW) อมตะ SC Asset และ เซเว่นอีเลฟเว่น จนทำให้ได้รับการสนับสนุนจาก Alliance to End Plastic Waste (AEPW) ในการต่อยอดการศึกษาครั้งนี้ เพื่อเป็นองค์ความรู้ที่ สามารถขยายผลได้และช่วยแก้ปั ญหาของขยะพลาสติกได้อย่างยั่งยื น”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พฤกษ์ อักกะรังสี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพั ฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวเสริมว่า “มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนพั ฒนาโครงการถนนพลาสติ กมาโดยตลอดและมีความพร้อมทั้งด้ านบุคลากรและเครื่องมือที่จะพั ฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรม ผ่านงานวิจัยต่าง ๆ ซึ่งเรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ งที่ได้มาร่วมโครงการในครั้งนี้ ซึ่งไม่เพียงตอบโจทย์เรื่ององค์ ความรู้ แต่ยังเป็นการพัฒนาแนวทางที่ช่ วยให้ประเทศไทยสามารถแก้ปั ญหาขยะพลาสติกได้อีกทางหนึ่งด้ วย”
Mr. Nicholas Kolesch Vice President of Projects (ผู้บริหารระดับสูงของ AEPW) เผยว่า “ในฐานะที่ Alliance to End Plastic Waste (AEPW) เป็นองค์กรความร่วมมือระดั บโลกเพื่อลดปัญหาพลาสติกใช้แล้ว เรามั่นใจว่า ความรู้ ความสามารถ และทักษะการบริหารงานขององค์ กรในประเทศไทยที่เราสนับสนุนเงิ นทุนและร่วมทำงานด้วย ไม่ว่าจะเป็นการผลักดันโครงการ การสร้างโมเดลการจั ดการขยะพลาสติกในชุมชน ตลอดจนงานวิจัยด้านวิชาการนั้น ล้วนมีศักยภาพที่ช่วยขับเคลื่ อนการดำเนินงานให้บรรลุวิสัยทั ศน์ขององค์กรในการจั ดการขยะพลาสติกไม่ให้หลุ ดรอดไปสู่สิ่งแวดล้อม และสร้างสรรค์โลกนี้ให้พั ฒนาไปในทางที่ยั่งยืน”
ภายในงาน ยังได้รับเกียรติจากนายเจริญชัย ประเทืองสุขศรี ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ส.อ.ท. ดร. วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้ อมไทย (TEI) และในฐานะเป็นเลขาธิการองค์กรธุ รกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ BCG และประธานอนุกรรมการขับเคลื่ อนสาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน และนายวีระ ขวัญเลิศจิตต์ ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติกและฝ่ ายเลขานุการโครงการ PPP Plastics ที่ได้ร่วมงานแถลงผลการศึกษานวั ตกรรมถนนพลาสติกรีไซเคิ ลและการดำเนินโครงการระยะที่ 2 ในครั้งนี้ด้วย
นอกจากนี้ ยังมีการเสวนาในหัวข้อ “ผลการศึกษาของโครงการฯ ระยะที่ 1 และข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ ประโยชน์ต่อยอด” เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ สนใจได้รับทราบผลการวิจั ยจากการดำเนินโครงการระยะที่ 1 พร้อมทั้งแบ่งปันองค์ความรู้ เกี่ยวกับการพัฒนางานวิจัยด้ านการเพิ่มความแข็งแรงของถนน โดยสร้างจากขยะพลาสติกผสมกั บยางมะตอย ซึ่งนอกจากจะช่วยลดปัญหาในการจั ดการขยะแล้ว ยังสามารถลดค่าใช้จ่ายในการสร้ างถนน และไม่เกิดปัญหาสิ่งแวดล้ อมภายหลังอีกด้วย
โครงการศึกษานวัตกรรมถนนพลาสติ กรีไซเคิล ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Recycled Plastics in Roads Study) เป็นโครงการที่คณะทำงาน PPP Plastics ภายใต้ ส.อ.ท. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับเงินสนับสนุนจาก Alliance to End Plastic Waste (AEPW) เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้บริ หารและดำเนินโครงการ (Project Management) โดยสนับสนุนการจัดทำการศึกษาเรื่ องการนำเศษพลาสติกที่ใช้แล้ วมาแปรรูปเป็นส่วนหนึ่งของวัตถุ ดิบในการสร้ างถนนยางมะตอยในประเทศไทย โดยมีผู้ทำการวิจัยหลัก คือ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อโครงการแล้วเสร็จ ภาครัฐและผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถนำองค์ความรู้นี้ ไปขยายผลได้ต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย BCG ของทางภาครัฐและแผนที่นำทาง (Roadmap) การจัดการขยะพลาสติ กของประเทศไทย
สอบถามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่ มเติมได้ที่ กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย http://www.ftipc.or.th/th/ contact