ณ อาคารไบโอเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี – ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยี ชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย (TBRC) ให้สื่อมวลชนเยี่ยมชมคลังเก็บรั กษาจุลินทรีย์และชีววัสดุ ซึ่งมีมากเกือบ 1 แสนสายพันธุ์ ใหญ่ที่สุดในระดับภูมิภาคอาเซี ยน พร้อมโชว์จุดแข็งของ TBRC ในด้านการรับฝากและให้บริการจุ ลินทรีย์และชีววัสดุ รวมถึงงานบริการเทคนิคที่เกี่ ยวข้องได้แก่ การคัดแยกจุลินทรีย์ การจำแนกชนิดจุลินทรีย์ การวิเคราะห์ประชากรจุลินทรีย์ การเก็บรักษาสายพันธุ์จุลินทรี ย์ รวมถึงการอบรบด้านการเก็บรั กษาและจัดการคลังจุลินทรีย์ให้ กับผู้สนใจ ทำให้ประเทศเกิดความเข้มแข็ งในการนำทรัพยากรจุลินทรีย์ มาใช้ประโยชน์ทั้งในด้านวิจั ยและด้านอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่ อง ทั้งในด้านอาหาร สุขภาพ เกษตรกรรม และสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการนำเข้าจุลินทรีย์จากต่ างประเทศ สร้างศักยภาพผู้ประกอบการและอุ ตสาหกรรมไทยให้เข้มแข็งและยั่ งยืน พร้อมทั้งมีส่วนอนุรักษ์ ความหลากหลายทางชี วภาพของประเทศไทย โดยปัจจุบัน TBRC เก็บรักษาจุลินทรีย์ไว้มากกว่า 4,300 สปีชีส์ ทั้งหมดนี้ช่วยสนับสนุนนโยบายด้ านเศรษฐกิจ BCG ของรัฐบาลในการช่วยสร้างความเข้ มแข็งด้วยฐานชีวภาพจากวิ ทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดร.เกื้อกูล ปิยะจอมขวัญ รองผู้อำนวยการไบโอเทค สวทช. กล่าวว่า ไบโอเทคจัดตั้งศูนย์จุลินทรีย์ ตั้งแต่ปี 2539 และได้พัฒนาเรื่อยมาจนเกิดเป็ นศูนย์ชีววัสดุประเทศไทยในปัจจุ บัน เพื่อเป็นศูนย์ชีววัสดุชั้ นนำในอาเซียนที่เชื่ อมโยงระบบการบริหารจัดการชีววั สดุที่ทันสมัยและเป็ นไปตามกฎระเบียบนานาชาติเข้ากั บการวิจัยและนวัตกรรม ด้วยภารกิจในการเป็นศูนย์ กลางการรวบรวมชีววัสดุและข้อมู ลโดยใช้ระบบบริหารจัดการที่ได้ มาตรฐานระดับนานาชาติเพื่อสนั บสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์ชี ววัสดุอย่างสูงสุด พร้อมทั้งสนับสนุนให้เกิดการอนุ รักษ์และการใช้ประโยชน์ชีววัสดุ อย่างยั่งยืนเป็นไปตามกฎระเบี ยบนานาชาติ รวมถึงสร้างความร่วมมือระดั บประเทศและนานาชาติด้านการวิจั ยเกี่ยวกับชีววัสดุ ตลอดจนพัฒนาบุคลากรด้านการเก็ บรักษาและบริหารจัดการชีววัสดุ ทำให้ TBRC มีความพร้อมในการเป็นศูนย์ กลางจัดการชีววัสดุของประเทศที่ มีคุณภาพและมาตรฐานเป็นที่ยอมรั บในระดับสากล
ดร.ชาญวิทย์ สุริยฉัตรกุล หัวหน้าทีมวิจั ยความหลากหลายและการใช้ประโยชน์ จุลินทรีย์ ศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย (TBRC) ไบโอเทค กล่าวว่า TBRC เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เก็บรั กษา ให้บริการและบริหารจัดการทรั พยากรจุลินทรีย์ ชีววัสดุ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้เกิ ดการใช้ประโยชน์ โดยจุลินทรีย์และชีววัสดุที่เก็ บรักษาประกอบด้วย แบคทีเรีย รา ยีสต์ ไวรัส และโปรโตซัว ซึ่งมีมากถึงเกือบ 1 แสนสายพันธุ์ ที่พร้อมนำมาวิจัยต่อยอดให้เกิ ดประโยชน์ต่อประเทศ ถือเป็นคลังชีววัสดุชั้นนำระดั บภูมิภาคอาเซียน โดย TBRC มีบริการหลัก ได้แก่ รับฝากและให้บริการจุลินทรีย์ และชีววัสดุ คัดแยกจุลินทรีย์ จำแนกชนิดจุลินทรีย์ วิเคราะห์ประชากรจุลินทรีย์ การเก็บรักษาสายพันธุ์จุลินทรี ย์ รวมถึงให้การอบรบด้านการเก็บรั กษาและจัดการคลังจุลินทรีย์ ซึ่ง TBRC มีระบบการเก็บรักษาจุลินทรีย์ ตามมาตรฐานระดับสากล ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ ISO 9001:2015 โดยมีการเก็บรักษาในสภาพแช่เยื อกแข็งที่อุณหภูมิต่ำกว่า -80 องศาเซลเซียส และในถังไนโตรเจนเหลว และการเก็บรักษาแบบแห้ งในหลอดแก้วสุญญากาศ ที่สามารถเก็บรักษาจุลินทรีย์ ให้มีชีวิตรอดได้นานกว่า 20 ปี โดยผู้เชี่ยวชาญด้านจุลินทรีย์ กลุ่มต่าง ๆ จะกำหนดขั้นตอน วิธีการจัดเก็บ วิธีการตรวจสอบคุณภาพ เพื่อให้จุลินทรีย์ที่จัดเก็ บและให้บริการมีความถูกต้อง รอดชีวิต และปราศจากการปนเปื้อน ซึ่งบริการเหล่านี้จะช่วยเชื่ อมโยงระหว่างผู้ใช้บริการไปยั งกลุ่มนักวิจัย หน่วยงานวิจัย และภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ด้านการใช้ประโยชน์จุลินทรีย์ และชีววัสดุ เพื่อตอบโจทย์งานวิจัยและความต้ องการของภาคอุตสาหกรรมต่อไป
ด้าน ดร.สุภาวดี อิงศรีสว่าง นักวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยระบบจุลินทรีย์และชี วสารสนเทศ กล่าวเสริมว่า TBRC มีการดำเนินงานโครงการวิจัยร่ วมกับหน่วยงานทั้งภาครั ฐและเอกชนเพื่อค้นหาจุลินทรีย์ ชนิดใหม่ ๆ ของโลกและสร้างนวัตกรรมผลิตภั ณฑ์และเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์อุ ตสาหกรรมเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่ งแวดล้อมและพลังงาน โดย TBRC ร่วมงานกับพันธมิตรในการทำวิจั ยร่วมกัน โดยเน้น 1) การตรวจหาติดตามดีเอ็นเอชุมชนจุ ลินทรีย์ (Microbiome Analysis) เพื่อวิเคราะห์ ความหลากหลายของชุมชนจุลินทรีย์ และบทบาทของจุลินทรีย์ ในการประเมินสถานภาพสิ่งแวดล้ อมหรือผลิตภัณฑ์จากภาคอุ ตสาหกรรม 2) ชีวสารสนเทศและฐานข้อมูลจุลิ นทรีย์ เพื่อการวิเคราะห์บ่งชี้ชนิดจุ ลินทรีย์และความสัมพันธ์เชิงหน้ าที่ของจุลินทรีย์ระดับยีนได้ อย่างรวดเร็วและแม่นยำ รวมทั้ง 3) การค้นหาและปลดล็อกศักยภาพของจุ ลินทรีย์จากคลัง TBRC เพื่อให้จุลินทรีย์ที่อยู่ในคลั ง TBRC มีความพร้อมและตอบสนองต่อความต้ องการของอุตสาหกรรมได้มากที่สุด
นอกจากนี้ TBRC ยังมีส่วนช่วยส่งเสริมการอนุรั กษ์ไว้ซึ่งความหลากหลายทางชี วภาพ (Biodiversity) บนโลกนี้ด้วย โดย TBRC ดูแลทรัพยากรจุลินทรีย์ในระดั บสกุลมากกว่า 1,500 สกุล (genus) และระดับชนิดมากกว่า 4,300 ชนิด (species) รวมถึง TBRC ยังนับเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ช่ วยสนับสนุนและส่งเสริมในเรื่ องของโมเดลเศรษฐกิจ BCG ในด้านสนับสนุนการขึ้นทะเบี ยนเป็นผลิตภัณฑ์ การขึ้นทะเบียนจุลินทรีย์เพื่ อควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้กั บภาคอุตสาหกรรม และยังเป็นแหล่ง Bioresources หรือแหล่งรวมข้อมูลพันธุกรรมที่ สำคัญของประเทศ ซึ่งมีภาคเอกชนและผู้ ประกอบการเข้ามาใช้บริ การและประโยชน์เพื่อต่อยอดในอุ ตสาหกรรมจำนวนมาก เป็นหนึ่งในฟันเฟืองช่วยขับเคลื่ อนเศรษฐกิจ BCG ของไทย โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมสุขภาพและยารักษาโรค อุตสาหกรรมเกษตร และอุตสาหกรรมสีเขียวที่เป็นมิ ตรต่อสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ สัดส่วนการใช้ประโยชน์คลังจุลิ นทรีย์ TBRC ที่ผ่านมา มีทั้งผู้ใช้บริการ คือนักวิจัยของไบโอเทค สวทช. และหน่วยงานภายนอก เช่น องค์กรรัฐและภาคเอกชน ตัวอย่างการศึกษาวิจัยที่ ทำโดยนักวิจัยไบโอเทคเพื่ อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น จุลินทรีย์ที่ผลิตเอนไซม์ที่ใช้ ในอาหารสัตว์ อาทิ เชื้อราสายพันธุ์แอสเปอร์จิลลัส (Aspergillus spp.) หรือจุลินทรีย์สำหรั บควบคุมศัตรูพืช อาทิ เชื้อราสายพันธุ์ไตรโคเดอร์มา (Trichoderma spp.) ขณะที่หน่วยงานภายนอกมี การใช้บริการงานบริการเทคนิคต่ าง ๆ เป็นจำนวนมาก เช่น คัดแยกจุลินทรีย์ จำแนกชนิดจุลินทรีย์ อย่างไรก็ตาม สวทช. มีบริการที่จะช่วยเหลือภาคอุ ตสาหกรรมในการใช้ประโยชน์จากจุ ลินทรีย์อย่างครบวงจรตั้งแต่ต้ นน้ำจนถึงปลายน้ำ คือการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ ในกลุ่มที่ต้องการให้มากขึ้ นในระดับกึ่งอุ ตสาหกรรมในโรงงานต้นแบบชี วกระบวนการไบโอเทค (BIOTEC Bioprocessing Facility) หรือ BBF เพื่อตอบโจทย์ความต้ องการของภาคอุตสาหกรรมได้อย่ างแท้จริง
หนึ่งในนักวิจัยไบโอเทคที่สะท้ อนมุมมองถึงการนำจุลินทรีย์ ไปใช้ประโยชน์ในงานวิจัยคือ ดร.วีระวัฒน์ แช่มปรีดา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยเทคโนโลยี ไบโอรีไฟเนอรีและชีวภัณฑ์ ไบโอเทค ซึ่งมีการนำจุลินทรีย์ จาก TBRC มาใช้ในด้านต่าง ๆ เช่น เอนไซม์ ENZEase ซึ่งใช้ในการลอกแป้ง (desizing) และกำจัดแว็กซ์ (scouring) ในขั้นตอนเดียวซึ่งช่วยลดการใช้ พลังงานและสารเคมี ในกระบวนการผลิตสิ่งทอ การใช้เทคโนโลยีชีววิทยาสั งเคราะห์ในการปรับปรุงยีสต์ผลิ ตเอทานอลให้สามารถผลิตสารคาโรที นอยด์ ซึ่งใช้ในอุ ตสาหกรรมอาหารและอาหารสัตว์ การใช้จุลินทรีย์และเอนไซม์ ในการเร่งปฏิกิริยาการผลิตน้ำ ตาลฟังก์ชั่น ในกลุ่มน้ำตาลแอลกอฮอล์ เช่น ไซลิทอล ซึ่งใช้เป็นสารให้ ความหวานในอาหารและผลิตภัณฑ์สุ ขภาพ และโอลิโกแซคคาไรด์ ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารพรี ไบโอติก จากชีวมวลทางการเกษตร และการใช้จุลินทรีย์ในกลุ่มรา เช่น บิววาเรีย และเมตาไรเซียม เป็นสารชีวภัณฑ์ควบคุมแมลงศัตรู พืช รวมถึงการผลิตสารผลิตภัณฑ์ ธรรมชาติที่มีโครงสร้ างเฉพาะจากจุลินทรีย์ ซึ่งงานวิจัยเหล่านี้ได้รั บการถ่ายทอดสิทธิ์ให้ ภาคเอกชนแล้ว หรืออยู่ระหว่างขยายขนาดการผลิ ตร่วมกับภาคเอกชนชั้นนำ เพื่อผลักดันไปสู่การใช้ ประโยชน์ต่อไป
หน่วยงานหรือผู้สนใจใช้ความรู้ ความสามารถและเทคโนโลยีของ TBRC ในการตอบโจทย์ด้านจุลินทรีย์ รวมถึงหารือเพิ่มเติมเกี่ยวกั บความร่วมมือวิจัย สามารถติดต่อได้ที่ TBRC อาคารกลุ่มนวัตกรรม 2 ตึก B ชั้น 8 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ปทุมธานี โทร. 0 2117 8000-1 อีเมล [email protected] แฟนเพจ www.facebook.com/tbrcnetwork/ และเว็บไซต์ www.tbrcnetwork.org/