เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2565 สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สํานักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ และ กรมศิลปากร ลงนามความร่วมมือขับเคลื่อนการพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และ ศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ โดยมีศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อํานวยการ สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ และนายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร ร่วมลงนาม เพื่อร่วมมือกันดําเนินการทางวิชาการและการส่งเสริม ขับเคลื่อนโครงการกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้กรอบ “โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ” ของทั้ง 4 หน่วยงาน ในการนำองค์ความรู้ ข้อมูลทางวิชาการ พื้นที่วิจัย เทคโนโลยี และขับเคลื่อนการวิจัยสาขา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ วัฒนธรรมและศิลปกรรมศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยและวิชาการ พัฒนาและต่อยอด องค์ความรู้ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายอย่างเป็นรูปธรรม และทําให้เกิดงานวิจัยที่มีผลสัมฤทธิ์ใน วงกว้าง นําไปสู่การถ่ายทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญา การสร้างความภาคภูมิใจในรากเหง้าของคนในท้องถิ่น
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. กล่าวว่า การบูรณาการความร่วมมือของกระทรวง อว. และกระทรวงวัฒนธรรมนี้เป็นส่วนสําคัญของประเทศที่จะเป็นการขับเคลื่อนกลไกที่สําคัญ ของประเทศในด้านศาสตร์และศิลป์ ซึ่งเป็นจุดแข็งของประเทศไทย ที่จะนําไปสู่การพัฒนาของประเทศอย่างมั่นคง และยั่งยืน โดยกระทรวง อว. มีบทบาทและภารกิจใน ๓ ด้าน คือ ด้านการสร้างคน และการพัฒนากําลังคนและ บุคลากรในภาคอุดมศึกษา โดยความร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศเป็นหน่วยงานหลัก ด้านการวิจัย ในการศึกษาและ ค้นคว้าองค์ความรู้ และพัฒนานวัตกรรมใหม่ ด้านการพัฒนาโดยมีเป้าหมายในการขับเคลื่อนประเทศไทย ไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งหัวใจหลักในการขับเคลื่อนนี้ คือการที่ประเทศไทยมีโครงสร้างและกําลังคนที่ดี และ มีพื้นฐานความรู้ต่อประวัติศาสตร์ มีความภาคภูมิใจและเข้าใจรากเหง้าของความเป็นไทย รวมถึงเข้าใจทิศทางของ ประเทศต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ การขับเคลื่อนทั้งศาสตร์และศิลป์ในด้านวัฒนธรรมของไทยอยู่ในลําดับต้น ๆ ใน เวทีระดับโลก ซึ่งถือว่าเป็นจุดแข็งของประเทศไทยในด้านการพัฒนาและการนําไปใช้ประโยชน์และการขับเคลื่อนกลไก โดย วิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือมีชื่อเรียกว่า ธัชชา ภายใต้การดําเนินงานของธัชชา ประกอบไปด้วย ๕ องค์ประกอบ ดังน้ี ประวัติศาสตร์ไทย ๑. สุวรรณภูมิศึกษา โดยหัวใจหลักคือเพื่อให้เข้าใจประวัติศาสตร์ไทย ย้อนหลังก่อน ๒. โลกคดีศึกษา เพื่อทําความเข้าใจบริบทของไทยในโลก ๓. ช่างศิลป์ท้องถิ่น เรามีศิลปกรรมท้องถิ่นมากมาย แต่ละท้องถิ่นจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
รวมถึงการสืบสาน รักษาไว้ ให้อยู่คู่กับประเทศไทย ๔. พิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับงานศิลปะ อารยะ สุนทรียะ และ ๕. เศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนเพื่อที่จะนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของรัชกาลที่ ๙ ให้เป็นที่ประจักษ์ในวงวิชาการโลก และนําไปปรับใช้ในการใช้ชีวิตประจําวันเพื่อให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน
สําหรับการดําเนินงานด้านสังคมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ ได้รับการสนับสนุนจากสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)ในการขับเคลื่อนกลไก รวมทั้งกระทรวงวัฒนธรรม ถือเป็นหน่วยหลักและมีความสําคัญ ในการพัฒนาและขับเคลื่อนเพื่อนําไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณค่าทางสังคมศาสตร์ในประเทศ ต่อไป
ด้าน นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวง วธ. กล่าวว่า การบูรณาการความร่วมมือ ของกระทรวง อว. มีความสอดคล้องและทิศทางเดียวกันกับกระทรวงวัฒนธรรมในการขับเคลื่อนกลไกการพัฒนา และต่อยอด ในเรื่องมรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งการถ่ายทอด การพัฒนาในประเด็นทางวัฒนธรรมจําเป็นต้องใช้ เทคโนโลยี และการวิจัยมาช่วยหนุนเสริม และขับเคลื่อน ซึ่งภายใต้กระทรวง วธ. ยังมีหลายหน่วยงานที่สามารถ เป็นกําลังสําคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนการดําเนินงานได้ เช่น กรมส่งเสริมวัฒนธรรม สํานักงานศิลปะร่วมสมัย สถาบัน บัณฑิตพัฒนศิลป์ และหอภาพยนตร์ ที่พร้อมจะเป็นส่วนผลักดันในการขับเคลื่อนร่วมกับกระทรวง อว. ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมเล็งเห็นการพัฒนารากฐานของประเทศเป็นสิ่งสําคัญ รวมไปถึงการพัฒนาฐานข้อมูล งานวิจัย การเพิ่มมูลค่า การนําเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ในการสืบสาน รักษา และต่อยอดทางศิลปวัฒนธรรม นําไปสู่การเป็นประเทศที่มั่นคง มั่นคงและยั่งยืน ทั้งนี้ การบูรณาการร่วมกันมือระหว่างกระทวง อว. และกระทรวง วัฒนธรรมจะเป็นการขับเคลื่อนด้านศิลปกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุดของประเทศต่อไป
ส่วน รองศาสตราจารย์พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวง อว. กล่าวว่า บันทึกข้อตกลง ความร่วมมือการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ ของทั้ง ๔ ฝ่าย เป็นการบูรณาความร่วมมือในด้านการแลกเปลี่ยนบุคลากรด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ ของประเทศ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความร่วมมือการวิจัยในแต่ละสาขาของหน่วยงานภายในประเทศและหน่วยงาน ต่างประเทศ เป็นการเชื่อมโยงองค์ความรู้และต่อยอด รวมทั้งการอนุรักษ์ความเป็นท้องถิ่น การฟื้นฟูชุมชนเพื่อ นําไปสู่การถ่ายทอดองค์ความรู้ต่อไป โดยบันทึกข้อตกลงได้ทําขึ้นมีระยะเวลา ๕ ปี โดยจะมีการทบทวนและ ขยายความร่วมมือในทุกภาคส่วน