สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมมือกับ ซีพี ฟู้ดแล็บ จำกัด หน่วยงานวิจัยอาหารซีพีแรม ได้จัดการสัมนาวิ ชาการในโอกาสลงนามบันทึกข้ อตกลงความร่วมมือ ทางวิชาการ (MOU) เพื่อสนับสนุนและยกระดับการพั ฒนาวิชาการด้านโภชนาการ สร้างองค์ความรู้ สร้างเครือข่าย และนวัตกรรมต่างๆ ตลอดจนนำผลงานทางวิชาการไปใช้ ประโยชน์ โดยได้รับเกียรติจากผู้บริ หารระดับสูง มหาวิทยาลัยมหิดล คณาจารย์สถาบันโภชนาการ ผู้บริหารระดับสูงบริษัท ซีพีแรม จำกัด และผู้บริหารระดับสูง บริษัท ซีพี ฟู้ดแล็บ จำกัด ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีดังกล่ าว โดยความร่วมมือ ของทั้งสองหน่วยงานี้จะครอบคลุ มในเรื่อง การศึกษาและพัฒนากิจกรรมวิ ชาการและวิจัย ด้านอาหาร เพื่อโภชนาการจากการมีส่วนร่ วมของพหุภาคีที่สาคัญ อาทิ นักวิชาการ ภาคธุรกิจ และชุมชนท้องถิ่น เป็นต้น การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมด้ านโภชนาการ อาทิ ร่วมพัฒนานวัตกรรมอาหารผ่ านโครงการวิจัย สนับสนุนการจัดทำห้องปฏิบัติการ เป็นต้น การจัดกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และ/หรือซีพี ฟู้ดแล็บ จำกัด เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมด้ านโภชนาการ การแลกเปลี่ยนวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ และบุคลากรในการพัฒนาทางวิ ชาการและฝึกอบรม รวมถึงการส่งเสริมการสร้างจิ ตสำนึกและรณรงค์ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ข้อมูล ข่าวสาร และผลการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน
รองศาสตราจารย์ ดร. รัชนี คงคาฉุยฉาย ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวในการสัมนาครั้งนี้ว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่ วมมือในครั้งนี้ เป็นโอกาสที่สถาบั นโภชนาการในฐานะหน่วยงานวิ ชาการจะได้นำองค์ความรู้ที่มี อยู่ไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ได้ กว้างขวางและเป็นรูปธรรมมากขึ้น ช่วยสร้างสรรค์นวัตกรรมด้ านอาหารเพื่อคุณภาพชีวิ ตประชาชนไทย เป็นการผลักดันผลงานวิจัย “จากหิ้ง…สู่ห้าง” รวมถึงสร้างเครือข่ายกับภาคอุ ตสาหกรรม เกิดการต่อยอดในเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ เป็นการสนองนโยบายของรั ฐบาลและมหาวิทยาลัยมหิดลที่ต้ องการให้หน่วยงานด้านวิ ชาการและภาคเอกชน ทำงานร่วมกันเพื่อก้าวไปสู่ ไทยแลนด์ 4.0 อีกทั้งช่วยเสริมศักยภาพความเชี่ ยวชาญด้านการตลาด แผนธุรกิจ การผลิต รวมทั้งการกระจายสินค้าสู่ สาธารณะ ให้กับคณาจารย์และนักศึ กษาของสถาบันโภชนาการ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการพั ฒนางานทางด้านอาหารและโภชนาการ เพื่อให้ตอบสนองกับความต้องการ ในระดับประเทศ รวมทั้งช่วยส่งเสริมให้นักศึ กษาได้มีการวิจัยและเรียนรู้ ในสถานที่ผลิตจริง ซึ่งจะก่อประโยชน์อย่างยิ่งกั บการเรียนการสอนของสถาบั นโภชนาการ นอกจากนี้ สถาบันโภชนาการ จะได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ซีพี ฟู้ดแล็บ จำกัด ในด้านการพัฒนาเครื่องมือวิ ทยาศาสตร์สำหรับห้องปฏิบัติ การวิจัย ซึ่งจะเป็นแนวทางหนึ่งในการส่ งเสริมงานวิจัยและสร้างนวั ตกรรมผลิตภัณฑ์อาหารให้มีศั กยภาพเพิ่มขึ้นอีกด้วย
นายวิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีแรม จำกัด ในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ฟู้ดแล็บ จำกัด กล่าวว่า ซีพีแรมยังคงใช้เงิน 1% ของยอดขายหรือปีละ 150-200 ล้านบาท ทุ่มให้กับการวิจัยและพัฒนาให้ ได้มาซึ่งเทคโนโลยีและนวั ตกรรมของตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้ใน การขับเคลื่อนธุรกิจ ยกระดับองค์กรสู่ CPRAM 4.0 รวมถึงยกระดับขี ดความสามารถของประเทศไทย /ในการเป็นศูนย์กลางนวั ตกรรมอาหาร…. ในการเป็นศูนย์กลางนวั ตกรรมอาหารของภูมิภาคเอเซีย อีกทั้งยังใช้เทคโนโลยีชีวภาพ มาพัฒนาอาหารสุ ขภาพและอาหารสำหรับบุ คคลเฉพาะกลุ่ม เช่น ผู้สูงอายุ เด็ก และผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นต้น นอกจากนี้ การที่สังคมไทยก้าวสู่สังคมผู้ สูงอายุอย่างชัดเจน ซีพีแรม จึงได้พัฒนาสินค้าออกมาตอบสนอง ความต้องการกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งตอนนี้ทำออกมาวางตลาดแล้ว คือ ข้าวต้มผู้สูงวัย มีคุณสมบัติ เคี้ยวแหลกง่าย ดูดซึมได้ดี และมีคุณค่าทางโภชนาการที่ผู้สู งอายุต้องการเป็นเพราะกลุ่มผู้ สูงอายุต้องการกินอาหารไม่เหมื อนคนปกติ นอกจากนี้ ซีพีแรมยังได้พัฒนาอาหารสุ ขภาพและอาหารสำหรับบุ คคลเฉพาะกลุ่ม เข้าไปตอบโจทย์ ความต้องการ อาทิ กลุ่มผู้ป่วยหรือมีโรคประจำตัว ซึ่งต้องการอาหารคุณสมบัติพิเศษ เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ต้องการอาหารที่หวานน้อย หรืออาหารมีความหวานปกติ แต่เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วอั ตราการดูดซึมความหวานต่ำ ไม่ทำให้ปริมาณน้ำตาลในร่ างกายปรับเพิ่มขึ้น เป็นต้น
ดร.ธัญญ์นลิน วิญญูประสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจั ยและวิเทศสัมพันธ์ ม.มหิดล ในฐานะอาจารย์ผู้เข้าร่ วมโครงการส่งเสริมให้บุคลากรวิ จัยในสถาบันอุดมศึกษาไปปฏิบัติ งานเพื่อแก้ไขปัญหาและเพิ่มขี ดความสามารถในการผลิตให้กั บภาคอุตสาหกรรม (Talent mobility) ซึ่งดำเนินโครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาขนมไทยเพื่อสุ ขภาพจากแป้งที่ผ่านการดัดแปรเพื่ อลดปริมาณแป้งย่อยเร็ว” และ “การพัฒนาการใช้เทคนิคกักเก็ บสารสำคัญเพื่ อคงสภาพสารอาหารในผลิตภัณฑ์ สำหรับกลุ่มคนเฉพาะเจาะจง” และ ดร.พัชรี กิตติสุบรรณ หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนา บริษัท ซีพี ฟู้ดแล็บ จำกัด ในฐานะหัวหน้านักวิจัยของบริษัท ซึ่งร่วมสัมนาในครั้งนี้ได้ร่ วมกันกล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ ทำให้เกิดการสร้างสรรค์นวั ตกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะอาหารฟังก์ชัน (Functional Food) ซึ่งจะสามารถตอบสนองความต้ องการโภชนาการเฉพาะบุคคลได้ อาทิ ผลิตภัณฑ์อาหารที่ใช้เทคนิคกั กเก็บสารอาหารสำคัญ ช่วยคงสภาพสารอาหาร ทำให้ไม่เกิดการสูญเสี ยสารอาหารในระหว่างขั้ นตอนการผลิต การขนส่งและการเก็บรักษา อีกทั้งยังสามารถควบคุ มการปลดปล่อยสารอาหาร ทำให้ผู้บริโภคได้รั บสารอาหารอย่างครบถ้วนและเพี ยงพอต่อความต้องการของร่างกาย รวมถึงช่วยให้ผู้บริโภคมีตัวเลื อกในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ อาหารที่เหมาะสมกับสุ ขภาพของตนได้มากขึ้น เช่น ข้าวต้มสำเร็จรูปสำหรับผู้สู งอายุ ซึ่งนับเป็นหนึ่งในผลงานนวั ตกรรมอาหารเพื่อสังคมที่สถาบั นโภชนาการพัฒนาร่วมกันกับ บริษัท ซีพี ฟู้ดแล็บ จำกัด พัฒนาขึ้น โดยข้าวต้มดังกล่าวเป็นข้าวต้ มสำเร็จรูปที่มีชิ้นเนื้อสัตว์ และผักที่ขึ้นรูปใหม่ มีเนื้อสัมผัสที่เหมาะสมกับผู้ สูงอายุที่สูญเสียฟัน และมีสารอาหารครบถ้วน มีการกระจายตัวของสัดส่วนพลั งงานจากสารอาหารหลักที่เหมาะสม อีกทั้ง มีใยอาหารสูงและมีโซเดียมต่ำอี กด้วย ขณะนี้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้มี วางจำหน่ายในท้องตลาดแล้ว นอกจากนี้ ขณะนี้ยังได้ดำเนินการพั ฒนาขนมไทยให้มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุ มน้ำตาลในเลือดและผู้ป่ วยเบาหวาน ซึ่งคาดว่าจะออกสู่เชิงพาณิชย์ ในเร็วๆ นี้ รวมทั้งจากความร่วมมือของทั้ งสองหน่วยงานในครั้งนี้ จะได้ส่งเสริมให้มีผลิตภัณฑ์ อาหารเพื่อสุขภาพที่จะช่วยพั ฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนไทยที่ หลากหลายมากขึ้นในอนาคต