วช. เปิดบ้านชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566 พร้อมแถลงผลสำเร็จจากการวิจัยและนวัตกรรม NRCT Open House 2022 “วิจัยและนวัตกรรมในประเด็นท้าทายของประเทศ” เพื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการรับข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรม รวมถึงชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรมที่ วช. ให้การสนับสนุนทุนในปี 2566 ระหว่างวันที่ 12 – 19 มิถุนายน 2565 ณ ห้องประชุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และออนไลน์ผ่านวีดีทัศน์ทางไกล (VDO Conference) ด้วยระบบ Zoom และการถ่ายทอดสด (Live Steaming) ผ่าน Facebook ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
วันที่ 13 มิถุนายน 2565 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดการประชุมชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ 2566 และการแถลงผลสำเร็จจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม NRCT Open House 2022 “วิจัยและนวัตกรรมในประเด็นท้าทายของประเทศ” เพื่อชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 ของ วช. และแนวทางการเขียนและพิจารณาข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งแถลงผลสำเร็จจากการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเขียนข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรมและการยื่นขอทุน วช. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุมฯ
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้จัดการชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรม ปี 2566 และการแถลงผลสำเร็จจากการวิจัยและนวัตกรรม NRCT Open House ระหว่างวันที่ 12 – 19 มิถุนายน 2565 ซึ่งในวันนี้เป็นวันที่สอง จะเป็นด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วช. ได้มีการมองร่วมกันในหลายส่วนทั้งในเรื่องสถานการณ์โลก เรื่องสถานการณ์ในระดับภูมิภาค และสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ของประเทศไทย มีหลายประเด็นที่มีความสำคัญ อาทิ Climate Change, การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้, ภัยพิบัตทางธรรมชาติ, ด้านพลังงาน และฝุ่น PM 2.5 ประเด็นเหล่านี้มีความสำคัญ มีความเร่งด่วนที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและเป็นภาวะวิกฤตที่จะเกิดขึ้น และก็จะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ในส่วนภูมิภาคก็มีความตระหนักต่อการที่จะเรียกร้องการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
ฉะนั้น การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อมที่หลายภาคส่วนให้ความสำคัญ ในระดับการประชุมของรัฐบาล ภาคีเครือข่ายกรอบอนุสัญญาสำคัญของสหประชาชาติ ประเด็นสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นที่ถูกยกขึ้นมาพูดคุยและต้องการความร่วมมือและการตกลงร่วมกัน ในประเทศไทยก็เช่นกัน ประเทศไทยให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่ด้วยทุกวิถีทางเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน โดยเฉพาะเรื่องคาร์บอน ซึ่งมีเป้าหมายในระดับของโลกอยู่ ช่วงหลังจากปีนี้ ประเทศไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับแผนให้มีกลยุทธ และที่สำคัญเรื่องของแผนงานและโครงการที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย การพัฒนานวัตกรรมก็สามารถเป็นส่วนสำคัญในการที่จะทำให้เรื่องของการแก้ไขปัญหาที่มีความท้าทาย ความทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางพลวัตรโลก จะสามารถนำสู่เป้าหมายโลกร่วมกันได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมถึงการทำแผนด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมด้วยเช่นกัน ซึ่งในแผน ววน. ในกรอบ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2566 – 2570 ก็ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ด้วย
กิจกรรมภายในงาน มีการเสวนา เรื่อง “แนวทางการเขียนและพิจารณาข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” มีผู้ร่วมเสวนา ดังนี้ ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ศาสตราจารย์ ดร.เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ รองศาสตราจารย์ดร.สุธา ขาวเธียร ดร.ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.อำนาจ ชิดไธสง นอกจากนี้ ยังมีการแถลงผลสำเร็จจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเขียนข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรมของนักวิจัยทั้ง 5 ท่าน ดังนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.อำพร เสน่ห์ รองศาสตราจารย์ ดร.มานพ เจริญไชยตระกูล รองศาสตราจารย์ดร.เจนยุกต์ โล่วัชรินทร คุณสมโภค กิ่งแก้ว และรองศาสตราจารย์ชัชรี แก้วสุรลิขิต ร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินการโครงการให้กับนักวิจัยรุ่นใหม่ต่อไป
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการยกระดับผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสู่การนําผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ (Research Utilization) อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยการวิจัยและนวัตกรรมสำหรับการเปิดรับข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรม วช. จะเปิดรับตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน ถึง วันที่ 11 สิงหาคม 2565 โดยนักวิจัยต้องยืนยันการเข้าร่วมทำวิจัยในระบบ NRIIS ภายในวันที่ 11 สิงหาคม 2565 เวลา 18.00 น. ส่วนหน่วยงานต้นสังกัดของนักวิจัย ต้องรับรองข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรม ในระบบ