อธิการบดี ม.ปทุมธานี แนะนักเรียนชั้นม.6 หรือเทียบเท่า หรือผู้ที่ทำงานแล้ว เลือกเรียนต่อมหาวิทยาลัยปทุมธานี ในสาขาที่ชอบ และเน้นการเรียนการสอนแบบ Hybrid ให้เหมาะกับยุค Next Normal โดยเน้นทั้งทฤษฎี กรณีศึกษา ควบคู่การฝึกปฏิบัติจริง เพื่อโอกาสได้ทำงาน แบบ 100% พร้อมก้าวเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ หลังพบตัวเลขว่างงานในไตรมาสแรกมีกว่า 420,000 คน ขณะที่บัณฑิต ป.ตรี จบใหม่จ่อเข้าสู่ตลาดแรงงานเพิ่มอีกกว่า 165,000 คน ม.ปทุมธานี พร้อมเปิดโอกาสทางการศึกษาเปิดรับนักศึกษาใหม่ ใน 7 คณะ 43 สาขาวิชา ชูจุดเด่นการสอนเน้นเชิงปฏิบัติจริง ตามปรัชญา “รู้วิชาการ รู้คุณธรรม นำปฏิบัติได้” ผลิตบัณฑิตที่ตอบโจทย์ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจแบบ New S-CURVE
ดร.ชนากานต์ ยืนยง อธิการบดีมหาวิทยาลัยปทุมธานี เปิดเผยว่า หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ถึงวันนี้ได้กลายเป็นโรคประจำถิ่นแล้ว ส่งผลทำให้ภาวะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น หลายธุรกิจกลับมาดำเนินธุรกิจเป็นปกติ สถิติการว่างงานเริ่มปรับตัวลดลง เพราะผู้ที่เคยว่างงานก่อนหน้านี้ ได้กลับเข้าสู่ตลาดแรงงานอีกครั้ง สอดคล้องกับข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งทำการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรไทย เมื่อช่วงไตรมาส 1 ปี 2566 ที่ผ่ามาพบว่ามีจำนวน 420,000 คน หรือมีผู้ว่างงานร้อยละ 1.1 ซึ่งเป็นจำนวนเท่ากับช่วงก่อนเกิดโควิด-19
แม้ว่าตัวเลขการว่างงานดังกล่าวจะปรับตัวลดลง โดยเฉพาะกลุ่มคนว่างงานระยะยาวที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีจำนวนลดลงอย่างมาก คือจากจำนวน 45,000 คนในไตรมาส 4 ปี 2565 เหลือเพียง 35,000 คนในไตรมาสแรกของปีนี้ แต่ทุกปีก็จะมีนักเรียนนักศึกษาจบใหม่เข้ามาสู่ตลาดแรงงานจำนวนมาก โดยข้อมูลของกรมการจัดหางานได้ประเมินสถานการณ์นักเรียนนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับต่าง ๆ และจะเข้าสู่ตลาดแรงงานในปี 2566 จะมีจำนวนทั้งสิ้น 373,488 คน โดยมีนักศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุดถึง 165,115 คน หรือคิดเป็นสัดส่วน 44.21% รองลงมาเป็นกลุ่มนักศึกษาระดับปวส. จำนวน 87,176 คน หรือคิดเป็นสัดส่วน 23.34% ส่วนที่เหลือเป็นนักเรียนระดับมัธยมต้นและมัธยมปลาย 12,063 คน สัดส่วน 3.23% และจำนวน 48,453 คน สัดส่วน 12.97% ตามลำดับ
จากข้อมูลข้างต้นเห็นได้ว่าแม้จำนวนผู้ว่างงานจะลดลง แต่บัณฑิตจบใหม่ก็ยังมีค่อนข้างสูง ซึ่งผู้ว่างงานและบัณฑิตจบใหม่ยังคงต้องแข่งขันกันเพื่อให้ได้เข้าทำงานในสายวิชาชีพที่ตนเองต้องการ อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลตลาดแรงงานในไตรมาสแรกที่ผ่านมา มีประเด็นที่น่าสนใจ พบว่า แรงงานในภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวดีขึ้นมาก จากการที่ประเทศจีนเปิดประเทศ ซึ่งส่งผลให้ชาวจีนเดินทางมาเที่ยวประเทศไทย เพราะเป็นหมุดหมายสำคัญอันดับต้น ที่ชาวจีนชื่นชอบและนิยมเดินทางมาท่องเที่ยว ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวต่าง ๆ จึงกลับมาเติบโตและเกิดการจ้างเพิ่มมากขึ้นด้วย
สำหรับมหาวิทยาลัยปทุมธานี เล็งเห็นถึงความสำคัญของภาคการท่องเที่ยว ที่สร้างรายได้เข้าประเทศ กระตุ้นเศรษฐกิจหลักของไทยในปัจจุบัน ที่มีอัตราการขยายตัวสูงและมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยปทุมธานีจึงได้เปิดการเรียนการสอนทั้งหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติ เพื่อรองรับนักศึกษาไทยและต่างชาติในหลายสาขาวิชา รวมถึงมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตเข้าสู่ตลาดแรงงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อาทิ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ที่มี 5 สาขา คือ สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน รวมถึง สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม ซึ่งเป็นสาขาที่ตอบโจทย์การเติบโตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมใหม่ หรือ New S-CURVE ซึ่งเปิดการเรียนการสอนทั้งแบบปกติและเทียบโอนประสบการณ์ รวมไปถึงหลักสูตรฝึกอบรมส่งเสริมอาชีพเรือสำราญและการโรงแรม มหาวิทยาลัยปทุมธานี (P-Cruise) ซึ่งสาขาวิชาเหล่านี้ ได้รับการยอมรับจากผู้ประกอบการในธุรกิจเรือสำราญ และโรงแรมต่าง ๆ จำนวนมาก นักศึกษาเหล่านี้จะถูกจองตัวให้เข้าทำงานก่อนที่จะเรียนจบการศึกษา โดยมีนักเรียนสนใจมาสมัครเรียนจนเต็มจำนวนทุกปีการศึกษาที่เปิดการเรียนการสอนขึ้น
อธิการบดีมหาวิทยาลัยปทุมธานี กล่าวต่อไปอีกว่า นักเรียนนักศึกษาที่เรียนจบและต้องการมีงานทำ นอกจากจะเลือกเรียนในสาขาที่ตนเองมีความชื่นชอบและมีความถนัดแล้ว ควรเลือกเรียนในสาขาที่ตลาดแรงงานมีความต้องการสูงอย่างต่อเนื่อง อาทิ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล ของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย ของคณะสหเวชศาสตร์ หรือแม้กระทั่ง สาขาวิชาพลศึกษา และ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ของคณะศึกษาศาสตร์ และสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ ซึ่งบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาออกไปแล้ว มีงานทำ 100% ซึ่งมหาวิทยาลัยมุ่งเน้นการเรียนการสอน ด้วยการนำความรู้ไปปฏิบัติได้จริง มีการสอนด้วยกรณีศึกษา การจัดทำโครงการ การวิจัย หรือเพิ่มทักษะด้านอาชีพควบคู่ไปด้วย มากกว่าการเรียนเฉพาะในตำราเท่านั้น เพราะการเรียนด้วยวิธีดังกล่าว จะช่วยส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถจริงทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ พร้อมออกไปทำงานได้จริง มุ่งเน้นการเรียนการสอนด้วยระบบ Hybrid ใช้กรณีศึกษาต่าง ๆ มาให้นักศึกษาได้เรียนรู้และฝึกฝน รวมถึงการสอนที่เน้นการนำไปใช้ได้จริงด้วยระบบ Project Based เพื่อพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ให้นักศึกษามีเครือข่าย (Connection) หรือพันธมิตรทางธุรกิจ (Business Alliance) สามารถที่จะทำงานร่วมกันเป็นทีมเวิร์ค และเกิดความร่วมมือกันเป็นเน็ตเวิร์คเดียวกัน ซึ่งนักศึกษาจะสามารถวิเคราะห์ธุรกิจที่นำมาเป็นกรณีศึกษา การปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม ทำให้นักศึกษาเกิดความเชี่ยวชาญในใช้เครื่องมือ ตลอดรวมถึงการทำโครงงานการวิจัยที่ตอบโจทย์ในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในยุคปัจจุบัน ซึ่งมั่นใจว่านักศึกษาเมื่อเรียนจบแล้วจะมีงานรองรับอย่างแน่นอน
สำหรับผู้ที่ทำงานแล้ว มหาวิทยาลัยฯ ยังมีหลักสูตรปริญญาตรี เทียบโอนประสบการณ์สำหรับผู้บริหาร ของคณะรัฐศาสตร์ ส่วนคณะนิติศาสตร์ ยังมีรับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้วในสาขาวิชาใดก็ได้ เข้าศึกษาต่อปริญญาตรีใบที่ 2 “มหาวิทยาลัยปทุมธานี มีปรัชญาที่สำคัญ คือ รู้วิชาการ รู้คุณธรรม นำปฏิบัติได้ บัณฑิตของมหาวิทยาลัยปทุมธานีจึงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน และมหาวิทยาลัยมีการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก เพื่อให้นักศึกษาของเราได้เข้าสู่ตลาดแรงงานอย่างมีคุณภาพ อย่างเช่นที่ผ่านมาได้ทำข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ กับ CTI.Thailand เพื่อสนับสนุน การศึกษา ดูงาน การฝึกอบรม และการฝึกประสบการณ์ด้านวิชาชีพ การทำงานบนเรือสำราญระดับโลกด้วย”
สำหรับนักเรียนที่สนใจเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีกับทางมหาวิทยาลัยปทุมธานี มหาวิทยาลัยฯ มีทุนการศึกษา ที่นักศึกษาสามารถทำเรื่องกับสำนักงานกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาได้ พร้อมกันนี้ยังมีบริการพิเศษให้นักศึกษาสามารถผ่อนชำระค่าธรรมเนียมการเรียนได้ ตามสะดวกของนักศึกษา โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งโดยไม่มีค่าธรรมเนียม โดยในปีการศึกษา 2566 นี้ มหาวิทยาลัยยังเปิดรับสมัครนักศึกษา ทั้งนี้หากมีความสนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือสมัครเรียนได้ที่ Website : www.ptu.ac.th Facebook : มหาวิทยาลัยปทุมธานี Line : @ptu.info หรือที่เบอร์โทรศัพท์ 02-975-6999 / 065-5343454