สมุนไพรไทยดีไม่แพ้ชาติใดในโลก คำกล่าวนี้ไม่เกินจริง นำความภาคภูมิใจมาสู่คนไทยเสมอ โดยครั้งนี้ มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ บริษัท นารีฟาร์มากรุ๊ป จำกัด ผู้คิดค้นสูตรผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรไทย ร่วมกันขับเคลื่อน Thailand Medical Hub ผลักดันสมุนไพรไทย กัญชาทางการแพทย์ สู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพระดับโลก พร้อมแถลงข่าวความสำเร็จของผลงานวิจัย การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบและต้านมะเร็งในหลอดทดลองของสมุนไพรไทยสูตรผสม โดยงานวิจัยมีชื่อว่า “In vitro antioxidant, anti-inflammatory, and anticancer activities of mixture Thai medicinal plants” ตีพิมพ์ในวารสาร BMC Complementary Medicine and Therapies ซึ่งเป็นวารสารวิชาการระดับนานาชาติ (Quartile Score, Q1) พร้อมเปิดรับอาสาสมัครในการศึกษาผู้ที่มีภาวะลองโควิด ด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เคลียร์-บีลอง พลัส ผสมใบกัญชา โดยได้รับเกียรติจาก ดร.อรรถวิท อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต เป็นประธานเปิดงาน ณ ห้องสุริยเทพ ศาลาดนตรีสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต
สำหรับการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการครั้งนี้ ได้กล่าวถึง 3 หัวข้อสำคัญคือ
– การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบและต้านมะเร็งในหลอดทดลองของสมุนไพรไทยสูตรผสม (In vitro antioxidant, anti-inflammatory, and anticancer activities of mixture Thai medicinal plants) โดย อ.ดร.เภสัชกรหญิงนลินี ประดับญาติ อาจารย์ประจำหมวดวิชาเภสัชวิทยา และ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
– เปิดรับอาสาสมัครในโครงการวิจัย “การศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเคลียร์-บีลอง พลัส ผสมใบกัญชา ในผู้ที่มีภาวะลองโควิด” โดย อ. ดร. เภสัชกรหญิงธิติยา ลักคุณะประสิทธิ์ อาจารย์ประจำหมวดวิชาบริหารเภสัชกิจ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
– เสวนาพิเศษเรื่อง “สมุนไพรไทยในยุคโควิด 19 ผลักดันประเทศไทยสู่การเป็น ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ Thailand Medical Hub” โดย คุณพิมส์นารี นรรพสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทนารีฟาร์มากรุ๊ป จำกัด , อ.ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต และ นายแพทย์ ฉัตรเพชร เพิ่มสมบัติ คลินิก MW Wellness
นางสาวพิมส์นารี นรรพสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท นารีฟาร์มากรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า งานแถลงข่าวและจัดสัมมนาครั้งนี้เป็นการบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพของสมุนไพรไทย ผลิตผลธรรมชาติที่มีในประเทศ สามารถช่วยทดแทนการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพจากต่างประเทศ ซึ่ง มหาวิทยาลัยรังสิต ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของสมุนไพรมาอย่างยาวนาน ส่งเสริมนักวิจัย ให้มีการวิจัยสมุนไพรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีข้อมูลที่หลากหลาย ชัดเจน รวมถึงความปลอดภัยในการใช้สมุนไพร ทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในการใช้สมุนไพรมากขึ้น อีกทั้งมหาวิทยาลัยรังสิตมีความพร้อมหลายๆ ด้าน หนึ่งในความพร้อมนั้น คือ “สถาบันวิจัยกัญชาเพื่อการแพทย์” จึงเป็นที่มาของความร่วมมือต่อยอดวิจัยด้านสมุนไพรไทยสู่การพัฒนาเศรษฐกิจชาติ “มหาวิทยาลัยรังสิต และ บริษัท นารีฟาร์มากรุ๊ป จำกัด ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพสมุนไพรไทย ตั้งแต่กลางปี 2565 ที่ผ่านมา กระทั่งได้รับการการันตีผลการวิจัยเผยแพร่ลงวารสารวิชาการ ระดับนานาชาติ (Quartile Score, Q1) ซึ่งเป็นวารสารวิชาการ ติดลำดับ top 10 ใน สาขา Complementary and Alternative Medicine ที่ได้รับการยอมรับระดับโลก โดยผลการวิจัยสมุนไพรไทยสูตรผสม ที่มีส่วนผสมสมุนไพร 5 ชนิด ข่า มะนาว ใบย่านาง พริกไทย และ ใบกัญชา ผลงานที่วารสารได้รับการ ตีพิมพ์ชื่อ BMC Complementary Medicine and Therapiesในวารสารประจำปี 2023”
สำหรับผลการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบในหลอดทดลองของสมุนไพรไทยสูตรผสม ทีมวิจัยต่อยอดศึกษาในผู้ที่มีภาวะลองโควิด ภายหลังจากการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 โดยเปิดรับอาสาสมัครในการศึกษาผู้ที่มีภาวะลองโควิด ด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เคลียร์-บีลอง พลัส ผสมใบกัญชา เป็นจำนวน 66 คน โดยผู้ที่เป็นอาสาสมัครจะได้รับการชี้แจงรายละเอียดข้อมูลของโครงการวิจัย ลงนามแสดงความยินยอมเข้าร่วมโดยความสมัครใจ และได้รับการติดตามเป็นระยะเวลา 14 วัน สำหรับช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เคลียร์-บีลอง พลัส ผสมใบกัญชา ปกติจะมีจำหน่ายอยู่ที่ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต พร้อมเปิดรับผู้แทนจำหน่ายในสถานประกอบการ โรงพยาบาล , คลีนิครักษาโรค ,ร้านขายยาชั้นนำทั่วประเทศแล้วเพื่ออำนวยสะดวกแก่ผู้บริโภค
สำหรับผู้สนใจเป็นอาสาสมัครในการศึกษาผู้ที่มีภาวะลองโควิด ด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เคลียร์-บีลอง พลัส ผสมใบกัญชา สามารถติดต่อได้ที่ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ หรือ Facebook : วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ ม.รังสิต , Facebook : Clears belong plus หรือ Line ID : @nareepharma