จอลลี่ กู๊ด อิงค์ (Jolly Good Inc.) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตชูโอ กรุงโตเกียว และนำโดยเค็นซูเกะ โจจิ (Kensuke Joji) ผู้เป็นซีอีโอ และในที่นี้จะเรียกว่า “จอลลี่ กู๊ด” ได้จัดสัมมนาการแพทย์ทวิภาคีในรูปแบบเสมือนจริง (VR) เชื่อมต่อระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ที่งานประชุมวิชาการนานาชาติเวชศาสตร์เขตร้อน ประจำปี 2565 (JITMM 2022) ซึ่งเป็นงานประชุมด้านการแพทย์ระดับนานาชาติ ทั้งนี้โดยใช้สื่อประกอบการสอนในรูปแบบเสมือนจริง(*) ที่พัฒนาขึ้นร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีนายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ เป็นอธิการบดี โดยในที่นี้จะเรียกว่า “มหาวิทยาลัยมหิดล” และมหาวิทยาลัยจุนเทนโด (Juntendo University) ในเขตบุงเกียว กรุงโตเกียว โดยมีฮาจิเมะ อาราอิ (Hajime Arai) เป็นอธิการบดี เกี่ยวกับการรักษาโรคติดเชื้อด้วยวิธีการเฉพาะของมหาวิทยาลัยมหิดล ในงานสัมมนาดังกล่าวนี้ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหิดลได้บรรยายทางไกลในรูปแบบเสมือนจริงให้แก่นักศึกษาแพทย์และแพทย์ประจำบ้านในญี่ปุ่น โดยมีเป้าหมายเพื่อเผยแพร่เทคโนโลยีการแพทย์ที่ก้าวหน้าของไทยแก่สถาบันการศึกษาทางการแพทย์ในญี่ปุ่น
ไทยอยู่ในอันดับที่ห้าจาก 74 ประเทศทั่วโลกในแง่ของจำนวนโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน JCI (มาตรฐานระดับนานาชาติในการประเมินบริการทางการแพทย์) และมีบริการทางการแพทย์ระดับแนวหน้าของเอเชีย อีกทั้งยังมีเทคโนโลยีการรักษาที่ก้าวหน้าที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อหลากหลายชนิด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นสังคมสูงวัย ไทยกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์อย่างมาก เพราะฉะนั้น ในการก้าวไปข้างหน้า จอลลี่ กู๊ด จะดำเนินการต่อไปในการสร้างสื่อประกอบการสอนจากเทคโนโลยีการแพทย์ที่ก้าวหน้าของไทยร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล โดยจะเริ่มต้นด้วยงานสัมมนาการแพทย์ทวิภาคีในรูปแบบเสมือนจริงดังกล่าวนี้ เพื่อแบ่งปันข้อมูลกับสถาบันการแพทย์ในต่างประเทศในหลากหลายสถานการณ์ในแง่ของความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการแพทย์ของไทย ประกอบกับจะสนับสนุนความพยายามในการดึงดูดผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์จากต่างประเทศมายังประเทศไทย
*เป็นโครงการสาธิตภายใต้ความร่วมมือระหว่างจอลลี่ กู๊ด กับมหาวิทยาลัยจุนเทนโด สำหรับการริเริ่มการศึกษาทางการแพทย์ในรูปแบบเสมือนจริง เพื่อจุดประสงค์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางการแพทย์ด้วยการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงที่มหาวิทยาลัยมหิดลและทั่วประเทศไทย (ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://newscast.jp/news/7194657)
ประเทศไทยประสบปัญหาขาดแคลนแพทย์ และจำเป็นที่จะต้องเผยแพร่เทคโนโลยีการแพทย์
ปัจจุบัน กว่า 20% ของประชากรไทยมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และอุปสงค์ในอุตสาหกรรมการแพทย์ในประเทศกำลังเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ไทยยังมีสัดส่วนแพทย์ต่อประชากรอยู่ที่แพทย์ 1 คนต่อประชากร 2,000 คน ซึ่งหมายความว่ามีการขาดแคลนแพทย์เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ (ยุโรปมีแพทย์ 1 คนต่อประชากร 800 คน และญี่ปุ่นมีแพทย์ 1 คนต่อประชากร 600 คน) และขณะนี้ความต้องการเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์กำลังเพิ่มสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้ ในแง่ของนโยบายระดับชาติ เมื่อปี 2559 ไทยได้วางแผนยุทธศาสตร์ 10 ปีเพื่อก้าวเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ และขณะที่องค์กรที่เกี่ยวข้องทำงานร่วมกันเพื่อสร้างระบบอุตสาหกรรมการแพทย์ที่ก้าวหน้า มีความจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการใหม่ ๆ ในการรับบุคลากรทางการแพทย์
ภาพรวมของสัมมนาทวิภาคีรูปแบบเสมือนจริงในงานประชุมวิชาการนานาชาติเวชศาสตร์เขตร้อน ( JITMM) ประจำปี 2565
หัวข้อหลัก: เทคโนโลยีเสมือนจริงในการศึกษาทางการแพทย์
วันที่จัด: วันพุธที่ 7 ธันวาคม
สถานที่จัด: ห้องซี โรงแรมมณเฑียร สุรวงศ์ กรุงเทพฯ ประเทศไทย
มหาวิทยาลัยจุนเทนโด ประเทศญี่ปุ่น
วิทยากร: รศ. ดร. องอาจ มหิทธิกร (ประธาน) คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
ดร. รพีพรรณ ประเสริฐบุญ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
ศ. นพ. โทชิโอะ นาอิโตะ (Toshio Naito) (ประธาน) ภาควิชาอายุรศาสตร์ทั่วไป มหาวิทยาลัยจุนเทนโด
รศ. นพ. ฮิโรตาเกะ โมริ (Hirotake Mori) ภาควิชาอายุรศาสตร์ทั่วไป คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุนเทนโด
ดร. วาเลนตี ไซมอน (Valenti Simon) ภาควิชาอายุรศาสตร์ทั่วไป มหาวิทยาลัยจุนเทนโด
ยูทาโระ โออิกาวะ (Yutaro Oikawa) จอลลี่ กู๊ด อิงค์
ภาพรวมของการศึกษาทางการแพทย์รูปแบบเสมือนจริงที่พัฒนาขึ้นร่วมกัน สำหรับการรักษาโรคติดเชื้อ
หัวข้อหลัก: เนื้อหารูปแบบเสมือนจริงสำหรับการเรียนรู้โดยตรงเกี่ยวกับวิธีการย้อมสีในการวินิจฉัยโรคมาลาเรีย มาลาเรียเป็นโรคติดเชื้อสัตว์เซลล์เดียว (protozoan infection) ที่แพร่เชื้อโดยการกัดของยุงก้นปล่อง โดยเป็นโรคประจำถิ่นในภูมิภาคเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อประมาณ 220 ล้านคน และคร่าชีวิตคนราว 430,000 คนต่อปี วิธีการวินิจฉัยโดยพื้นฐานสำหรับโรคมาลาเรียคือการตรวจส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ การย้อมสีจิมซา (Giemsa) เป็นวิธีการย้อมสีตัวอย่างเลือดและใช้ในการวินิจฉัยทางจุลพยาธิวิทยาสำหรับเชื้อมาลาเรียและเชื้อปรสิตในกระแสเลือดชนิดอื่น ๆ ในแง่นี้มีการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในการแนะแนวทางของขั้นตอนและเทคนิคการย้อมสีที่ต้องทำในการจัดเตรียมตัวอย่างอย่างถูกต้องเหมาะสม