ณ โรงแรมวอลดอร์ฟ แอสโทเรีย กรุงเทพฯ – มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ประกาศผลการพิจารณาคัดเลื อกโครงการรางวัลนักเทคโนโลยีดี เด่น ประจำปี 2566 ซึ่งปีนี้มีผู้เสนอผลงานเพื่ อขอรับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น จำนวน 31 โครงการ และรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ จำนวน 15 โครงการ ผลปรากฏว่า นักวิจัยไบโอเทค ได้แก่ ดร.นิติพล ศรีมงคลพิทักษ์ นักวิจัยทีมวิจัยการออกแบบและวิ ศวกรรมชีวโมเลกุลขั้นแนวหน้า ด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชี วภาพเพื่ออุตสาหกรรม ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยี ชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จากผลงาน “เทคโนโลยีฐานในการสังเคราะห์ยา (Synthesis for Medicine as Technology Platform)” ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่ นใหม่ ประจำปี 2566 โดยมี รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ประธานมูลนิธิส่งเสริมวิ ทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานในพิธี พร้อมนี้ ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผอ.สวทช. และ ดร.วรรณพ วิเศษสงวน ผอ.ไบโอเทค เข้าร่วมแสดงความยินดี
ดร.นิติพล ศรีมงคลพิทักษ์ นักวิจัยไบโอเทค สวทช. เปิดเผยถึงผลงานที่ได้รับรางวั ลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่จากมูลนิ ธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี 2566 จากผลงานวิจัยเรื่อง “เทคโนโลยีฐานในการสังเคราะห์ ยา” (Synthesis of Medicine) โดย ดร.นิติพล และคณะผู้วิจัย ได้พัฒนาเทคโนโลยีฐานการสั งเคราะห์ยา มีแนวคิดคือ กระบวนการสังเคราะห์ยาจะต้องมี ประสิทธิภาพสูง สามารถทำได้เองในประเทศไทย โดยได้เป็นสารออกฤทธิ์ทางเภสั ชกรรมที่มีคุณภาพและมี ราคาเหมาะสม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งแนวคิดดังกล่าวสอดคล้องกั บแนวคิดเรื่อง BCG ของประเทศไทย และแนวคิด Sustainable Development Goals (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ
โดยสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรม (Active Pharmaceutical Ingredients; API) ถูกสังเคราะห์ขึ้น โดยใช้วิธีการสังเคราะห์ 2 รูปแบบ ได้แก่ เทคนิคการสังเคราะห์แบบดั้งเดิม และเทคนิคการสังเคราะห์แบบใหม่ เช่น การสังเคราะห์แบบไหลต่อเนื่อง หรือการใช้ตัวเร่งทางชีวภาพ/ เอนไซม์ โดยมีเป้าหมายในการถ่ ายทอดเทคโนโลยีไปยังระดับกึ่งอุ ตสาหกรรมและอุตสาหกรรม ปัจจุบันคณะผู้วิจัยฯ มุ่งเน้นพัฒนายาต้านมาลาเรี ยและโรคติดเชื้อไวรัส โดยการพัฒนายาในระดับต้นน้ำ (TRL1-3) ประกอบด้วยการค้นพบอนุพันธ์ BION-075, BION-106, BION-141 และ BION-157 ส่วนการพัฒนายาในระดับกลางน้ำ (TRL4-6) ได้แก่ ฟาวิพิราเวียร์ มอลนูพิราเวียร์ โซฟอสบูเวียร์ และเรมเดซิเวียร์ เป็นต้น ซึ่งยาฟาวิพิราเวียร์ เป็นยาชนิดแรกที่ได้พัฒนาขึ้ นโดยใช้เทคนิคการสังเคราะห์ แบบไหลต่อเนื่องร่วมกับเทคนิ คการสังเคราะห์แบบดั้งเดิม ซึ่งเทคนิคนี้ช่วยให้ กระบวนการสังเคราะห์ยามี ความปลอดภัยมากขึ้น เนื่องจากสามารถควบคุมอุณหภูมิ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากการทำปฏิกิ ริยาของสาร และทำให้ได้สารที่มีความบริสุ ทธิ์สูงในเวลาอันรวดเร็ว
นอกจากนี้ ยังมีความเหมาะสมสำหรั บการขยายขนาดการผลิตจากห้องปฏิ บัติการสู่ระดับกึ่งอุตสาหกรรม (ยื่นจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เลขที่คำขอ 2101001627) ยามอลนูพิราเวียร์ เป็นยาที่พัฒนาขึ้นโดยต่ อยอดจากเทคโนโลยีเดิม ใช้สารตั้งต้นที่มีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย และพัฒนากระบวนการสังเคราะห์ โดยใช้ตัวเร่งทางชีวภาพ หรือเอนไซม์ ทำให้ขั้นตอนการสังเคราะห์ลดน้ อยลงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ความร่วมมือกับองค์การเภสั ชกรรม และ Medicine for All Institute ประเทศสหรัฐอเมริกา) (ยื่นจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เลขที่คำขอ 2201001996)
ปัจจุบันคณะผู้วิจัยฯ ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการสั งเคราะห์ยาฟาวิพิราเวียร์ และยามอลนูพิราเวียร์ให้กับองค์ การเภสัชกรรมและได้ ขยายขนาดการผลิตในระดับกึ่งอุ ตสาหกรรม สำหรับยาโซฟอสบูเวียร์ และเรมเดซิเวียร์ เป็นยาที่คณะผู้วิจัยฯ สังเคราะห์ขึ้นโดยใช้เอนไซม์ Phosphotriesterase (PTE) เป็นตัวเร่งทางชีวภาพในการสั งเคราะห์ sofosbuvir precursor และใช้กระบวนการตกผลึกทำให้ได้ สารบริสุทธิ์ รวมถึงอยู่ระหว่ างขยายขนาดการผลิตในระดับก่อนกึ่ งอุตสาหกรรม (ยื่นจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เลขที่คำขอ 2101007629 และ 2301005964) การพัฒนายาในระดับปลายน้ำ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มี โรงงานผลิตสารออกฤทธิ์ทางเภสั ชกรรมแบบอเนกประสงค์ คณะผู้วิจัย สวทช. จึงได้ร่วมมือกับองค์การเภสั ชกรรมและบริษัท อินโนบิก เอเซีย จำกัด (บริษัทในเครือ ปตท.) ก่อตั้งบริษัทและโรงงานสั งเคราะห์สารออกฤทธิ์ทางเภสั ชกรรม ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมื อเรื่อง “กระบวนการสังเคราะห์สารออกฤทธิ์ ทางเภสัชกรรม และศึกษาความเป็นไปได้ในเชิ งพาณิชย์ และ/หรือการสร้างความมั่ นคงทางยาให้แก่ประเทศไทย” ประโยชน์ที่ได้รับจากการก่อตั้ งโรงงานสังเคราะห์ API คือ ผู้พัฒนาเทคโนโลยีจะสามารถถ่ ายทอดกระบวนการสังเคราะห์ API สู่โรงงานนี้โดยตรง ทำให้กระบวนการสังเคราะห์ ยาของประเทศไทยครอบคลุมระบบนิ เวศตั้งแต่ระดับต้นน้ำจนถึ งปลายน้ำ และคาดว่าจะสามารถลดการนำเข้า API จากต่างประเทศ คิดเป็นมูลค่า 200 ล้านบาท/ปี
นอกจากนี้ในงานรับรางวัลนั กเทคโนโลยีดังกล่าว ยังมีผลงานของ ดร.วีระพงษ์ วรประโยชน์ นักวิจัยทีมวิจัยเทคโนโลยีชี วภาพทางอาหาร กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่ นและนวัตกรรมอาหาร ไบโอเทค สวทช. ที่มีความโดดเด่นด้านเทคโนโลยี และได้ผ่านเข้ารอบสุดท้าย ได้รับเชิญเข้าร่วมเป็นเกียรติ แสดงผลงาน และขึ้นกล่าวถึงผลงานเทคโนโลยี บนเวที พร้อมรับโล่รางวัลเชิดชูเกียรติ ผลงานที่มีความโดดเด่นทางด้ านเทคโนโลยีด้วย
ทั้งนี้ รางวัล “นักเทคโนโลยีรุ่นใหม่” มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงจู งใจให้กับนักวิจัยรุ่นใหม่ที่ เริ่มมีผลงานวิจัยและพั ฒนาทางเทคโนโลยีที่เป็นที่ประจั กษ์ถึงศักยภาพและความทุ่มเท ในการที่จะพัฒนาเทคโนโลยี ในสาขาที่ตนเองมีความเชี่ ยวชาญให้เกิดประโยชน์ในวงกว้าง โดยมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมการจัดการธุรกิจแห่ งประเทศไทย (TMA) กำหนดจัดให้มีพิธีรั บพระราชทานรางวัลฯ จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานประชุมวิชาการนานาชาติด้ านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวั ตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 49 ในวันอังคารที่ 23 มกราคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา