มหกรรมอุตสาหกรรมนานาชาติจีน (เซินเจิ้น) หรือ China (Shenzhen) International Industries Fair ครั้งที่ 18 ซึ่งกำลังมีขึ้นนี้ ได้นำเสนอผลงานความสำเร็จของการนำกลยุทธ์ดิจิทัลมาใช้ในอุตสาหกรรมวัฒนธรรม โดยดึงดูดบริษัทไฮเทคให้เข้ามามีส่วนร่วมได้มากมาย ทั้งในแวดวง 5G บิ๊กดาต้า คลาวด์คอมพิวติง และปัญญาประดิษฐ์แผนพัฒนาวัฒนธรรมระยะเวลา 5 ปีฉบับที่ 14 ซึ่งประกาศไว้ในปี 2565 ได้เสนอให้จีนเร่งสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ พร้อมส่งเสริมการยกระดับฐานอุตสาหกรรมและปรับปรุงห่วงโซ่อุตสาหกรรมให้ทันสมัยยิ่งขึ้นในอีก 5 ปีข้างหน้าแท้จริงแล้ว เทคโนโลยีดิจิทัลได้กลายเป็นพลังกระตุ้นอุตสาหกรรมวัฒนธรรมจีน ซึ่งนำไปฟื้นฟูทรัพยากรทางวัฒนธรรมมาแล้วมากมาย ยกตัวอย่างเช่น เทนเซ็นต์ (Tencent) ธุรกิจอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ของจีน และสถาบันตุนหวง (Dunhuang Academy) กำลังทำงานร่วมกันเพื่อแปลงโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมในถ้ำตุนหวงให้เป็นดิจิทัล โดยคุณหลิว เสี่ยวหลาน (Liu Xiaolan) หัวหน้าโปรเจกต์ของเทนเซ็นต์ เปิดเผยว่า เทคโนโลยีดิจิทัลจะยกโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมของตุนหวงขึ้นโลกออนไลน์ และผู้คนจะสัมผัสได้ถึงเสน่ห์ทางวัฒนธรรมที่มีอายุนับพันปีในถ้ำดิจิทัล
นอกจากนี้ เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (VR) ยังเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในอุตสาหกรรมวัฒนธรรม โดยเซนส์ไทม์ (SenseTime) บริษัทปัญญาประดิษฐ์ระดับยูนิคอร์น ได้ยกหางโจว เวสต์ เลค (Hangzhou West Lake) มาไว้ในโลก AR ซึ่งผู้มาเยือนเพียงใช้โทรศัพท์มือถือของตนสแกนสถานที่จริง เพื่อเปิดโหมดนำเที่ยวด้วย AR และสัมผัสกับการนำทางที่สมจริงในสถานที่จริง ซึ่งผสมผสานโลกจริงกับโลกเสมือนได้อย่างลงตัวอุตสาหกรรมวัฒนธรรมของเซินเจิ้นยังคงพัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีมากกว่า 15% การออกแบบสร้างสรรค์ เกมแอนิเมชัน วัฒนธรรมดิจิทัล และอุตสาหกรรมอื่น ๆ แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการแข่งขันที่แข็งแกร่ง และองค์กรทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นกว่า 25% ต่างมีคุณสมบัติเป็นองค์กรเทคโนโลยีขั้นสูงระดับประเทศ
กระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวระบุว่า เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น 5G บิ๊กดาต้า AR/VR ปัญญาประดิษฐ์ และความคมชัดสูงพิเศษ เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมวัฒนธรรม โดยรูปแบบใหม่ ๆ เช่น นิทรรศการบนคลาวด์ การออกอากาศออนไลน์ ศิลปะดิจิทัล และประสบการณ์สมจริง ต่างพัฒนาอย่างรวดเร็ว ขณะที่แหล่งวัฒนธรรมดิจิทัลจำนวนมากที่มีลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรมจีนก็มีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
หยวน หยวน (Yuan Yuan) นักวิจัยร่วมประจำศูนย์วิจัยวัฒนธรรม กีฬา การท่องเที่ยว วิทยุ และโทรทัศน์เซินเจิ้น เปิดเผยว่า วัฒนธรรมที่มีความเป็นเลิศจะได้มีชีวิตยืนยาวในโลกดิจิทัลมากขึ้น ลิงก์ข่าวต้นฉบับ: https://en.imsilkroad.com/p/332033.html