22 หน่วยงาน ภายใต้ภาคีเครือข่ายชีววิทยาสั งเคราะห์แห่งประเทศไทย (Thailand Synthetic Biology Consortium) ร่วมจัดงานประชุม SYNBIO Consortium ประจำปี 2566 หัวข้อ Advancing the ‘Game Changer’ โดยมุ่งหวังเป็นเวทีแลกเปลี่ ยนเรียนรู้ในอุ ตสาหกรรมเทคโนโลยีชีววิทยาสั งเคราะห์ (Synthetic Biology Technology) ของหลายภาคส่วน เช่น ภาคเอกชนทั้งที่เป็น start up และขนาดใหญ่ ภาครัฐที่มีบทบาทกำหนดนโยบาย การส่งเสริมกำลังคน และเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆที่ เกี่ยวกับ เทคโนโลยีชีววิทยาสังเคราะห์ กิจกรรมพบปะพูดแลกเปลี่ยนระหว่ าง startup ผู้สนับสนุน นักลงทุนด้าน SynBio ตลอดจนบูทแสดงผลิตภัณฑ์ด้าน SynBio
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่ งประเทศไทย หนึ่งในภาคีเครือข่าย เผยว่า ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้ อยู่ในพื้นที่ที่มี ความหลากหลายทางชีวภาพสูงสุด 8 อันดับแรกของโลก มีความอุดมสมบูรณ์ด้านวัตถุดิ บการเกษตรและมีจุลินทรีย์ท้องถิ่ นมากกว่า 200,000 ชนิด และมีการลงทุนวิจัยและพัฒนาด้ านเทคโนโลยีชีวภาพ ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาบุคลากร และการส่งเสริมระบบนิเวศการวิจั ย จึงเป็นโอกาสที่ดีจะต่อยอดงานวิ จัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพสู่การพั ฒนางานวิจัยและเทคโนโลยีขั้นสู งด้านชีววิทยาสังเคราะห์ และผลักดันการใช้เทคโนโลยี SynBio สร้างธุรกิจนวัตกรรม สร้างโอกาสใหม่ทางเศรษฐกิจ ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ ชาติด้านยกระดับการพัฒนาอุ ตสาหกรรมภายใต้เศรษฐกิจ บีซีจี และสร้างโอกาสให้เกิดการลงทุ นในกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) ให้ประเทศสร้างสามารถในการแข่ งขันได้อย่างยั่งยืน
ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิ ทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวว่า Synthetic Biology เป็นแนวโน้มเทคโนโลยีใหม่ที่ กำลังมาแรงในกระแสโลก ที่ช่วยลดการพึ่งพาวิถี การทำเกษตรกรรม ปศุสัตว์ การผลิตแบบดั้งเดิมที่ใช้พื้นที่ และทรัพยากรมหาศาล ที่สุดท้ายก่อให้เกิดขยะ มลพิษ และผลกระทบอื่น ๆ ต่อสิ่งแวดล้อมจนเป็นสาเหตุหนึ่ งในการเกิดภาวะโลกรวน ซึ่งภาครัฐและภาคเอกชน ในนามภาคีเครือข่ายชีววิทยาสั งเคราะห์แห่งประเทศไทย (Thailand Synthetic Biology Consortium) ได้ร่วมมือกัน โดยปีนี้ก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 ทำให้เกิดกิจกรรมจากการดำเนิ นงานเชิงรุกภายในเครือข่าย อาทิ การสร้าง SynBio Academy เพื่อสร้างกำลังคนทั้งรูปแบบ degree และ non-degree ป้อนเข้าสู่สถาบันวิจัยและภาคอุ ตสาหกรรม การลงทุนหน่วยรับจ้างพั ฒนาและผลิตระดับอุตสาหกรรม (Contract Development and Manufacturing Organization: CDMO) การจัดทำแผนพัฒนา Biofoundry โครงสร้างพื้นฐานด้าน SynBio และการทำ Business Matching ภายในเครือข่ายเพื่อถ่ายทอดองค์ ความรู้และส่งเสริมให้เกิดธุรกิ จนวัตกรรมที่ใช้เทคโนโลยี SynBio ในกลุ่ม Biorefinery และการแพทย์
ผลประชุมในครั้งนี้จะช่ วยขยายเครือข่ายทั้งในกลุ่ มมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย ภาคเอกชน และภาครัฐที่เกี่ยวข้องทั้ งในและต่างประเทศ เกิดกิจกรรมที่มีส่วนร่วมระหว่ างองค์กรในเครือข่ายอย่างต่อเนื่ อง และสร้างความความเข้มแข็ งของภาคีเครือข่ายชีววิทยาสั งเคราะห์ของประเทศ เพื่อยกระดับงานวิจัยและดึงดู ดการลงทุนด้าน SynBio ในภาคอุตสาหกรรม รวมทั้ง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขั นสู่เวทีระดับนานาชาติได้อย่ างยั่งยืน