โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดยักษ์ใหญ่ในมาเลเซีย ได้รับการยอมรับในด้านผลการดำเนินงานที่โดดเด่นในการบรรลุเป้าหมายระดับโลกเรื่องความเป็นกลางทางคาร์บอน โครงการ Forest City ในมาเลเซียของบริษัท Country Garden ได้รับรางวัลต้นแบบของโลกด้านการวางผังและการออกแบบเมืองคาร์บอนต่ำ สำหรับแนวคิดการพัฒนาอย่างใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมแบบคาร์บอนต่ำในงานประกาศรางวัล Sustainable Cities and Human Settlements Award (SCAHSA) ประจำปี 2564 ที่จัดขึ้นทางออนไลน์ระหว่างวันที่ 27-29 ตุลาคม SCAHSA เป็นกิจกรรมไฮไลท์ของการประชุมประจำปีครั้งที่ 16 ขององค์กร Global Forum on Human Settlements (GFHS 2021) ซึ่งจัดขึ้นเพื่อฉลองวัน World Cities Day ประจำปี 2564 ทั้งนี้ โครงการ Forest City ของ Country Garden เคยได้รับรางวัล SCAHSA มา 5 ปีติดต่อกันแล้ว ซึ่งรวมถึงรางวัลต้นแบบของโลกด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมทางระบบนิเวศชายฝั่งในปี 2563, รางวัลเมืองอัจฉริยะสีเขียวโลกในปี 2562, รางวัลต้นแบบของโลกด้านการบูรณาการเมือง-อุตสาหกรรมในปี 2561, รางวัลต้นแบบของโลกด้านนิคมอุตสาหกรรมอาคารสีเขียวในปี 2560 และรางวัลการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ทั่วโลกด้านการวางผังและออกแบบในปี 2559
หน่วยงานของสหประชาชาติ 10 แห่งร่วมมือกันจัดพิธีมอบรางวัล SCAHSA ประจำปี
GFHS 2021 มีจุดมุ่งหมายเพื่อรวมเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน เพื่อพยายามจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และนำการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาใช้ ซึ่งจนถึงปัจจุบัน องค์กรที่มีอำนาจ 25 แห่งร่วมดำเนินการแล้ว ซึ่งรวมถึงหน่วยงานสำคัญ 10 แห่งของยูเอ็น อาทิ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO), การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD), สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และสำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) โดยแนวคิดของการประชุมในปีนี้ก็คือ “เร่งการเปลี่ยนแปลงและการสร้างนวัตกรรมสีเขียวให้เร็วขึ้น เพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้และมีความเป็นกลางทางคาร์บอน” โครงการ Forest City ของ Country Garden ได้รับคำชมจากทั้งคณะกรรมการและผู้ร่วมประชุมในเรื่องแนวคิดด้านการพัฒนาสีเขียวคาร์บอนต่ำ โครงการนี้ตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ Iskandar Malaysia ในรัฐยะโฮร์ เป็นโครงการที่ช่วยขยายเศรษฐกิจเมืองผ่านการวางผังและการจัดตั้งอุตสาหกรรมที่สำคัญ 8 กลุ่มที่อิงตามแนวคิดดังกล่าว โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างเมืองที่มีความรับผิดชอบทางสิ่งแวดล้อม มีการเคลื่อนไหว และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ที่ทำหน้าที่เป็นต้นแบบสำหรับการบูรณาการเมือง-อุตสาหกรรมได้
Forest City ได้รับรางวัลนี้เนื่องจากแนวคิดสีเขียวคาร์บอนต่ำ ซึ่งได้รับการยกย่องจากนักวิจารณ์
“Forest City ลดปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการเพิ่มประสิทธิผลของการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ตามโรงงานต่าง ๆ ขณะที่การวางผังเมืองและการออกแบบอาคารสีเขียวตามแนวคิดการบูรณาการเมือง-อุตสาหกรรมนั้นได้ร่วมกันช่วยสร้างเมืองสีเขียวคาร์บอนต่ำ” Arab Hoballah ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านความยั่งยืน อดีตผู้อำนวยการด้านการอุปโภคบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืนจาก UNEP กล่าว “นอกจากนี้ โครงการนี้ยังมีผลการดำเนินงานที่โดดเด่นในแง่ของการปกป้องสิ่งแวดล้อมระบบนิเวศชายฝั่ง การสร้างวัฒนธรรมแบบหลอมรวม และการใช้เทคโนโลยีเมืองอัจฉริยะ”
Forest City มุ่งมั่นสร้างเมืองที่มีการเคลื่อนไหวอย่างใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการส่งเสริมไลฟ์สไตล์คาร์บอนต่ำ
Forest City ได้นำแนวคิดในการพัฒนาสีเขียวแบบคาร์บอนต่ำมาใช้กับการวางผังเมือง การพัฒนา และการดำเนินงานในทุกขั้นตอนนับตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ ด้วยการใช้ระบบการสร้างพื้นที่สีเขียวแบบหลายมิติกับการใช้งานต่าง ๆ นับตั้งแต่พื้นดินไปจนถึงหลังคา ผู้อำนวยการและวิศวกรของโครงการจึงประสบความสำเร็จในการรวมพื้นที่สีเขียวขนาด 2.71 ล้านตารางเมตรในแนวราบ และพื้นที่ราว 256,000 ลิเนียร์เมตรในแนวตั้ง ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิผลของการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ตามโรงงานต่าง ๆ พร้อมทั้งลดปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมืองและการใช้พลังงานของระบบควบคุมอุณหภูมิ นอกจากนี้ ตามความพยายามเพื่อปรับปรุงความยืดหยุ่นของเมืองและส่งเสริมการเดินทางที่รับผิดชอบทางสิ่งแวดล้อม โครงการนี้จึงทำให้ชุมชนท้องถิ่นมีวิธีการเคลื่อนที่แบบอัจฉริยะและสะดวกสบายผ่านการใช้แอปพลิเคชันอัจฉริยะ ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการเดินและการปั่นจักรยานให้เป็นรูปแบบการเดินทาง ด้วยการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและต่อเนื่องสำหรับวิธีการเดินทางที่รักสุขภาพมากขึ้น นอกจากนี้ แผนการพัฒนาที่อิงตามการบูรณาการเมือง-อุตสาหกรรมจะส่งผลให้เกิดเมืองคาร์บอนต่ำ ด้วยการลดระยะทางและเวลาที่ต้องใช้ในการสัญจรในแต่ละวัน
Forest City ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนแนวคิด Sponge City ได้สร้างสถานีบำบัดน้ำเสีย 5 แห่งที่มีความจุรวมกันเทียบเท่าประชากร 170,400 คน ระบบที่ทันสมัยสำหรับการบำบัดน้ำเสียในทางระบบนิเวศนี้ เมื่อประกอบกับระบบบำบัดสำหรับบึงประดิษฐ์แล้ว ก็ให้น้ำที่มีคุณภาพดีกว่ามาตรฐานปกติของมาเลเซียอย่าง CLASSⅡB นอกจากนี้ ระบบรีไซเคิลน้ำหมุนเวียนอิสระถูกสร้างขึ้นสำหรับการใช้ในหลังคา พื้นที่สีเขียวแนวตั้ง และนอกอาคาร รวมทั้งใช้กับระบบชลประทานและการชำระล้างของห้องน้ำสาธารณะด้วย จนถึงปัจจุบัน โครงการ Forest City ทุ่มทุนกว่า 140 ล้านริงกิตแล้วในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงการสร้างบึงเพาะเลี้ยงหญ้าทะเล และการดำเนินมาตรการปกป้องและเพาะเลี้ยง และเพื่อส่งเสริมชุมชนใกล้เคียงและสนับสนุนการพัฒนาระดับภูมิภาค โครงการนี้ยังได้ลงทุนกว่า 53 ล้านริงกิตในการสร้างชุมชนและหมู่บ้านในบริเวณใกล้เคียง รวมทั้งให้เงินทุนสนับสนุนโรงเรียนท้องถิ่นด้วย หลังจากใช้เวลา 5 ปีในการสร้าง โครงการ Forest City ก็กำลังเป็นรูปเป็นร่าง หลังจากที่บรรลุเป้าหมายการพัฒนาด้านระบบนิเวศทีละน้อยอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งต่อไปในอนาคต โครงการ Forest City มีแผนที่จะสานต่อพันธสัญญาในการสร้างความกลมกลืนกันระหว่างการพัฒนาเมืองกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางระบบนิเวศ เพื่อให้ตอบสนองเป้าหมายระดับโลกในเรื่องความเป็นกลางทางคาร์บอนได้ดีขึ้น