เมื่อไม่นานมานี้ เอเชียน ลีกัล บิสซิเนส (Asian Legal Business) ได้ประกาศรายชื่อสุดยอด 15 ที่ปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญาของจีนประจำปี 2565 โดยคุณแซลลี หวัง (Sally Wang) ที่ปรึกษาอาวุโสด้านทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัท ไมเดีย กรุ๊ป จำกัด (Midea Group Co., Ltd.) (000333.SZ) เป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับรางวัลดังกล่าว คุณมาเรียนนา จ้าว (Marianna Zhao) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ของไมเดีย กล่าวว่า “นับเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นที่คุณแซลลี หวัง ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสุดยอด 15 ที่ปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญาของจีน ซึ่งจัดอันดับโดยเอเชียน ลีกัล บิสซิเนส ในเครือทอมสัน รอยเตอร์ส (Thomson Reuters) คุณแซลลีมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งและปฏิบัติงานได้อย่างดีเยี่ยมในด้านเครื่องหมายการค้า โดยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านทรัพย์สินทางปัญญาของเธอทำให้ทีมกฎหมายของเรากลายเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาธุรกิจในต่างประเทศอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ความสำเร็จของเธอยังสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นมืออาชีพของทีมงานมากความสามารถระดับโลกของเรา”
คุณแซลลี หวัง รับผิดชอบด้านเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ และโดเมนของไมเดีย กรุ๊ป ครอบคลุมการออกเครื่องหมายการค้า การอนุญาตและการจัดการความเสี่ยงด้านอีคอมเมิร์ซ ธุรกิจการจัดจำหน่ายในต่างประเทศและธุรกิจโออีเอ็ม (OEM) รวมถึงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาทั่วโลก ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ไมเดีย กรุ๊ป ได้เข้าร่วมงานสัมมนาและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาหลายครั้ง เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ระดับสากลของจีนในการยกระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
ไมเดีย กรุ๊ป มุ่งมั่นที่จะสร้างเสริมความสามารถด้านนวัตกรรมที่มุ่งเน้นอนาคต รวมถึงส่งเสริมความได้เปรียบด้านการวิจัยและพัฒนาผ่านเครือข่ายการวิจัยและพัฒนาทั่วโลก เพื่อยกระดับรูปแบบการวิจัยและพัฒนาควบคู่ไปกับกลไกนวัตกรรม โดยนวัตกรรมเป็นหนึ่งในค่านิยมหลักของเรา ด้วยเหตุนี้ ไมเดีย กรุ๊ป จึงทุ่มงบประมาณกว่า 3.5% ของผลกำไรไปกับการวิจัยในปี 2564 ปัจจุบัน ไมเดีย กรุ๊ป ร่วมงานกับบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนากว่า 16,000 คน รวมถึงนักวิชาการชั้นนำและผู้เชี่ยวชาญระดับสูงกว่า 300 คนจากทั่วโลก นอกจากนั้นยังครอบครองสิทธิบัตรกว่า 100,000 ฉบับ ทั้งนี้ จากการจัดอันดับผู้ถือสิทธิบัตร 250 อันดับแรกของโลกประจำปี 2564 โดยไอเอฟไอ เคลมส์ (IFI Claims) ระบุว่า ไมเดีย กรุ๊ป ได้ยื่นขอสิทธิบัตร 58,494 ฉบับทั่วโลก ส่งผลให้บริษัทเป็นผู้ถือสิทธิบัตรรายใหญ่อันดับ 3 ของโลกในปี 2564