รัฐบาลอินเดียได้แต่งตั้งคุณมาตา อัมริตานันดามายี เทวี ( Mata Amritanandamayi Devi) หรืออัมมา (Amma) เป็นประธานกลุ่มซีวิล 20 (Civil 20) หรือซี 20 ของอินเดีย โดยซี 20 เป็นกลุ่มทำงานอย่างเป็นทางการของกลุ่มจี 20 (G20) ซึ่งเป็นการประชุมระหว่างรัฐบาลระดับแถวหน้าของเศรษฐกิจกลุ่มพัฒนาแล้วและเศรษฐกิจเกิดใหม่ เพื่อหารือเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเงินในระดับสากล โดยกลุ่มซี 20 เป็นแพลตฟอร์มสำหรับองค์กรภาคประชาสังคม (CSO) เพื่อผลักดันเสียงนอกภาครัฐและภาคธุรกิจให้ถึงผู้นำในกลุ่มจี 20 อินเดียจะเป็นประธานกลุ่มจี 20 เป็นเวลาหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2565 ถึง 30 พฤศจิกายน 2566 โดยจะมีเหตุการณ์สำคัญที่สุดในวันที่ 9-10 กันยายน 2566 เมื่อการประชุมสุดยอดของผู้นำกลุ่มจี 20 จะเปิดฉากที่กรุงนิวเดลีในระดับประมุขของรัฐและรัฐบาล แต่ก่อนที่จะถึงเหตุการณ์นี้ อินเดียจะจัดการประชุมรวมกันกว่า 200 รายการทั่วประเทศ ซึ่งเป็นความพยายามที่อาศัยการทำงานอย่างหนักของการประชุมระดับรัฐมนตรี คณะทำงาน และกลุ่มทำงานต่าง ๆ
คุณอัมมาได้กล่าวรับตำแหน่งประธานกลุ่มซี 20 ของอินเดีย โดยได้แสดงความขอบคุณต่อรัฐบาลอินเดีย ในการเปิดเวทีระดับสูงให้คนทั่วไปได้ส่งเสียง นอกจากนี้ สมาชิกของกลุ่มดังกล่าวยังมีคุณศรี เอ็ม ( Sri M) จากมูลนิธิสัตสัง (Satsang Foundation) ในฐานะผู้เข้าร่วม, คุณสุธา มูรตี (Sudha Murthy) ประธานมูลนิธิอินโฟซิส (Infosys Foundation) ในฐานะผู้เข้าร่วม, คุณรัมโบ มาลกี พราโบดินี (Rambhau Mhalgi Prabodhini) เป็นเลขาธิการ และองค์กรวิเวกอนันดา เคนดรา (Vivekananda Kendra) จากเมืองกันยากุมารี เป็นหุ้นส่วนภาคสถาบัน
คุณอัมมา กล่าวในการประชุมซี 20 เบื้องต้นทางออนไลน์ว่า “ความหิวโหย ความขัดแย้ง การสูญพันธุ์ของสายพันธุ์ต่าง ๆ และการทำลายสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดที่โลกกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน เราควรทุ่มเทความพยายามอย่างจริงใจเพื่อพัฒนาวิธีแก้ปัญหา หากนักวิทยาศาสตร์จากทุกสาขา ไม่ว่าจะเป็นวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ วิศวกร และอื่น ๆ ทำงานร่วมกันได้ เราก็สามารถสร้างวิธีการใหม่ ๆ ในการทำนายภัยพิบัติด้านสิ่งแวดล้อมได้ และด้วยเหตุนี้เราจะช่วยชีวิตคนจำนวนมากได้ แต่บ่อยครั้งเรากลับขาดความร่วมมือในภาคส่วนต่าง ๆ และไม่เป็นในทางเดียวกัน ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ต้องจัดการอย่างเร่งด่วน”