• ภาคการศึกษาและทักษะบุคลากรยั
สรุปประเด็นแถลงข่าว กกร. ประจำเดือน กรกฎาคม 66
นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เป็นประธานการประชุ มคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) โดยมีนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่ งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และ นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย เป็นประธานร่วมในการแถลงข่าว
• เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้ มชะลอลงมากขึ้นในช่วงครึ่งหลั งของปี 2566 ภาคการผลิตยังคงหดตัวต่อเนื่อง ขณะที่ภาคบริการเริ่มเห็นสั ญญาณชะลอลงในกลุ่มประเทศเศรษฐกิ จหลักทั้งสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น นอกจากนี้ ธนาคารกลางของประเทศหลักฝั่ งตะวันตกมีแนวโน้มปรับขึ้ นดอกเบี้ยต่อในช่วงครึ่งปีหลัง ภาวะการเงินตึงตัวจากความเข้ มงวดในการปล่อยสินเชื่อใหม่จะยิ่ งกดดันภาคธุรกิจและจำกัดการใช้ จ่าย นำไปสู่การชะลอตัวทางเศรษฐกิจจี นมีแนวโน้มชะลอลงเช่นกัน มีการปรับลดประมาณการณ์ตั วเลขการเติบโตของ GDP จีนปี 2566 ลงสู่ระดับ 5.4-5.5% จากเดิม 6% ปัจจัยเหล่านี้อาจฉุดการเติ บโตของภาคการส่งออกไทยในระยะข้ างหน้า
• ค่าเงินบาทอ่อนค่าสอดคล้องกับค่ าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค ช่วงที่ผ่านมาค่าเงินบาทอ่อนค่ าค่อนข้างเร็ว สาเหตุจากค่าเงินดอลลาร์ที่กลั บมาแข็งค่าหลั งจากธนาคารกลางสหรัฐมีแนวโน้ มกลับมาเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่ ออีก 2 ครั้งในปีนี้ซึ่งมากกว่าที่ ตลาดคาดการณ์ และเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียที่ นำโดยเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้ มชะลอตัวกว่าคาด ส่งผลให้ค่าเงินภูมิภาคอยู่ในทิ ศทางอ่อนค่า อย่างไรก็ตาม คาดว่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่ าชั่วคราวและจะกลับมาทยอยแข็งค่ าได้ในช่วงที่เหลือของปี ด้วยทิศทางดอกเบี้ ยนโยบายของไทยที่เป็นขาขึ้ นและปัจจัยความไม่แน่ นอนในประเทศที่คลี่คลายลง
• เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ อเนื่อง ภาคการท่องเที่ยวดีขึ้นต่อเนื่ องจากนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้ งจำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดว่ าจะไปถึง 29-30 ล้านคนและรายได้ต่อหัวที่เพิ่ มขึ้น อย่างไรก็ตาม ที่ประชุม กกร. คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2566 ยังคงเติบโตประมาณ 3.0% ถึง 3.5% ตามกรอบเดิมที่เคยประเมินไว้ เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนถู กกดดันจากค่าครองชีพและหนี้ครั วเรือนในระดับสูงที่ 90.6% ต่อจีดีพี ซึ่งทำให้ผู้บริโภคมีข้อจำกั ดและระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้ น ขณะที่ภาคการผลิตมีแนวโน้ มชะลอตัวตามทิศทางเศรษฐกิจโลก ส่วนมูลค่าการส่งออกประเมินว่ าหดตัวมากขึ้นในกรอบ -2.0% ถึง 0.0% ขณะที่ภาวะเงินเฟ้อ แม้ยังมีความเสี่ยงจากภัยแล้ง (เอลนีโญ) และหากมีการปรับค่าแรง แต่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปต่ำ ลงจากที่ประเมินไว้เดิมตามทิ ศทางราคาพลังงาน โดยจะอยู่ในกรอบ 2.2 ถึง 2.7%
กรอบประมาณการเศรษฐกิจปี 2566 ของ กกร.
(ณ พ.ค. 66) ปี 2566
GDP 3.0 ถึง 3.5
ส่งออก -1.0 ถึง 0.0
เงินเฟ้อ 2.7 ถึง 3.2
(ณ มิ.ย. 66) ปี 2566
GDP 3.0 ถึง 3.5
ส่งออก -1.0 ถึง 0.0
เงินเฟ้อ 2.7 ถึง 3.2
(ณ ก.ค. 66) ปี 2566
GDP 3.0 ถึง 3.5
ส่งออก -2.0 ถึง 0.0
• การปรับปรุงนิยามและข้อมูลหนี้ ครัวเรือนของ ธปท. ให้ครอบคลุมมากขึ้น ทำให้ ณ ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 หนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 90.6% ต่อจีดีพี หรือสูงกว่าตัวเลขเดิมก่อนปรั บปรุงราว 4% ต่อจีดีพี (7.65 แสนล้านบาท) ที่ประชุม กกร. มองว่าเป็นประโยชน์ต่ อการวางแนวทางแก้ปัญหาหนี้ครั วเรือนอย่างรอบด้าน จากเดิมที่มองเห็นหนี้ ในธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ กลุ่ม non-bank และสหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นหลัก ข้อมูลที่ปรับปรุงใหม่ได้ ครอบคลุมไปถึงหนี้เพื่อการศึกษา (กยศ.) การเคหะแห่งชาติ ธุรกิจพิโกไฟแนนซ์ และสหกรณ์ที่ไม่ใช่สหกรณ์ออมทรั พย์ ทั้งนี้ การจะแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนได้ อย่างยั่งยืน จึงต้องเป็นการฟื้นฟูศั กยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจ ยกระดับทักษะแรงงานและผลิ ตภาพแรงงาน นำไปสู่รายได้ที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่อยากให้รั ฐบาลใหม่ร่วมหาแนวทางกั บภาคเอกชน เพื่อให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ทั้ งแรงงาน ผู้ประกอบการ และรัฐบาล ในระหว่างนี้ที่เศรษฐกิจฟื้นตั วไม่เต็มที่ ภาคการเงินยังต้องประคั บประคองลูกหนี้กลุ่มเปราะบางต่ อไป แม้จะมีต้นทุนต่อระบบบ้าง นอกจากนี้ยังรวมไปถึงกลุ่ม 30% ที่ไม่ได้อยู่ในระบบภายใต้ การกำกับของ ธปท.
• การส่งออกที่มีแนวโน้มหดตัวต่ อเนื่อง จากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดยเฉพาะฝั่งตะวันตก ซึ่งภาครัฐควรเร่งสนับสนุนการส่ งออกไปยังตลาดใหม่ๆ ในประเทศที่ยังขยายตัวได้ เช่น จีน อินเดีย และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง เพื่อทดแทนการส่งออกในประเทศหลั ก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุ โรปที่อ่อนแอลง นอกจากนี้ ภาครัฐควรเร่งผลักดันการเจรจา FTA เพื่อเปิดตลาดใหม่และเพิ่ มโอกาสทางการแข่งขันให้กับผู้ส่ งออกไทย
• ที่ประชุม กกร. มองว่าตลาดการท่องเที่ยวเป็ นเครื่องยนต์หลักตัวเดี ยวในการขับเคลื่อนประเทศตอนนี้ โดยเฉพาะจากนักท่องเที่ยวจีนที่ มีการใช้จ่ายต่อหัวเพิ่มขึ้นอย่ างต่อเนื่อง ภาครัฐจึงควรให้ความสำคัญกั บการเร่งเพิ่มประสิทธิภาพ และความรวดเร็วในการออกหนังสื อเดินทาง และรวมถึงการดูแลด้านความปลอดภั ยของนักท่องเที่ยว ขณะที่การส่งออกมีแนวโน้มชะลอตั วอย่างต่อเนื่อง
• เร่งเพิ่มเครื่องยนต์ขับเคลื่ อนเศรษฐกิจจากการใช้จ่ ายของภาครัฐ ซึ่งการเร่งการใช้จ่ายและการจั ดทำงบประมาณเป็นเรื่องเร่งด่วน การจัดตั้งรัฐบาลให้ได้อย่ างรวดเร็วและราบรื่นจึงสำคัญอย่ างยิ่ง เพื่อให้การใช้จ่ายภาครัฐไม่ สะดุด จะช่วยพยุงเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวท่ ามกลางความเสี่ยงรอบด้าน
• ที่ประชุม กกร. มีความกังวลภาระต้นทุนของผู้ ประกอบการที่อยู่ในระดับสูงมาต่ อเนื่อง โดยเฉพาะต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เตรียมจะพิจารณาค่าไฟฟ้าผั นแปรอัตโนมัติ (Ft) งวดที่ 3/2566 (ก.ย.-ธ.ค. 66) ซึ่งหากพิจารณาจากปัจจัยที่ นำมาคำนวณค่า ft แล้ว พบว่า มีปัจจัยบวกให้ค่าไฟฟ้าลดลงได้ กว่า 10% จากงวดที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 66) และคาดว่าไม่ควรเกิน 4.25 บาท/หน่วย จากเดิม 4.70 บาท/หน่วย เนื่องจาก
1) ปริมาณก๊าซจากอ่ าวไทยโดยเฉพาะจากแหล่งเอราวั ณทยอยเพิ่มจาก 200 เป็น 600 ล้านล้าน ลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (MMBTU) ในช่วงปลายปี
2) ปริมาณการนำเข้าก๊าซธรรมชาติ เหลวหรือ LNG ลดลง
3) ราคา LNG Spot ลดลงมากกว่า 30%
4) ราคาพลังงานโลก มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
5) ภาระหนี้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ งประเทศไทย (กฟผ.) ทั้งงวดที่ 1 และงวดที่ 2 ลดลงเร็ว กว่าแผนด้วยต้นทุนจริง LNG ต่ำกว่าที่เรียกเก็บ Ft แม้ว่าค่าเงินบาทจะยังอ่อนค่ าในระดับ 35 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐ จึงขอให้พิจารณาขยายเวลาการคื นหนี้ให้ กฟผ. จาก 5 งวด เป็น 6 งวด เพื่อให้ค่า Ft ลดลงอีก 10 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่ง กฟผ. จะได้รับเงินคืนครบภายในเดือนสิ งหาคม 2568 และขอให้มีการบูรณาการในการจั ดหาเชื้อเพลิง LNG โดยมอบหมายผู้นำเข้าหลักเพี ยงรายเดียวในการจัดหาเพื่อเป็ นการสกัด Demand เทียมจาก Shipper หลายรายที่เข้าจัดหาในตลาด สำหรับนำมาผลิตไฟฟ้าในงวดที่ 3/2566 เพื่อให้ได้ราคาที่ เหมาะสมตามกลไกตลาด และไม่ให้ประเทศเสียเปรียบ โดยจัดหาในราคาเฉลี่ย LNG ในช่วง 14-16 USD/MMBTU ซึ่ง กกร. มีความกังวลว่าหากเข้าสู่ฤดู หนาวจะทำให้ราคา LNG ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจากความต้ องการใช้พลังงานในโลก