นายสุชาติ จันทรานาคราช รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่ งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และนายสรกิจ มั่นบุปผชาติ รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่ งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร่วมเปิดเผยผลการสำรวจดัชนี ความเชื่อมั่นภาคอุ ตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2566 อยู่ที่ระดับ 93.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 92.6 ในเดือนธันวาคม โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 43 เดือนนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2562 เมื่อพิจารณาองค์ประกอบของค่าดั ชนีฯ พบว่าปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุ กองค์ประกอบ ทั้งดัชนีฯ คำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ยกเว้นต้นทุนประกอบการ ปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตั วของอุปสงค์ในประเทศ ทั้งสินค้าคงทนและสินค้าอุ ปโภคบริโภค รวมทั้งอานิสงส์ของมาตรการช้ อปดีมีคืน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ช่วยส่งเสริมการใช้จ่ายในประเทศ ตลอดจนการฟื้นตัวของภาคการท่ องเที่ยวและการเปิดประเทศของจีน ส่งผลดีต่อภาคการท่องเที่ ยวและทำให้จีนนำเข้าสินค้ าจากไทยเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม อุปสงค์จากต่างประเทศที่อ่ อนแอลง เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยั งคงเปราะบาง โดยเฉพาะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้ าอย่างสหรัฐอเมริกาและยุโรป เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาคการส่ งออกของไทย ขณะที่ผู้ประกอบการยังมีความกั งวลต่อเนื่องในปัจจัยด้ านราคาพลังงาน ค่าไฟฟ้าที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่ มสูงขึ้น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ตลอดจนการแข็งค่าของเงิ นบาททำให้ความสามารถในการแข่งขั นด้านราคาสินค้าส่ งออกของไทยลดลง
จากการสำรวจผู้ประกอบการ 1,321 ราย ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุ ตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในเดือนมกราคม 2566 พบว่าปัจจัยที่ผู้ประกอบการมี ความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ เศรษฐกิจโลก ร้อยละ 73.0 ราคาน้ำมัน ร้อยละ 58.5 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ร้อยละ 50.2 อัตราแลกเปลี่ยน (มุมมองผู้ส่งออก) โดยอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงค่ าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ร้อยละ 48.6 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความกังวลลดลง ได้แก่ เศรษฐกิจในประเทศ ร้อยละ 36.8 สถานการณ์การเมืองในประเทศ ร้อยละ 35.0 ตามลำดับ
สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 101.1 ปรับตัวเพิ่มขึ้น จาก 99.9 ในเดือนธันวาคม โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการบริ โภคในประเทศและการท่องเที่ยวที่ ยังคงขยายตัว โดยเฉพาะการกลับมาของนักท่องเที่ ยวจีน ภายหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุ มโควิด-19 ขณะที่ภาคการผลิตมีคำสั่งซื้ อและปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้ นสอดคล้องกับการขยายตัวของอุ ปสงค์ในประเทศ
ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ
1.) เสนอให้ปรับลดค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) งวดที่ 2 สำหรับเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2566 เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ ายของประชาชนและลดต้นทุนการผลิ ตให้กับผู้ประกอบการ
2.) เสนอมาตรการบรรเทาผลกระทบผู้ ประกอบการจากปรับขึ้นอั ตราดอกเบี้ย เพื่อช่วยลดต้นทุนทางการเงินให้ กับภาคธุรกิจโดยเฉพาะ SMEs ที่ยังมีปัญหาสภาพคล่ องและขาดเงินทุนหมุนเวียน
3.) เร่งเพิ่มขี ดความสามารถในการแข่งขั นของประเทศไทยเมื่อเทียบกับเพื่ อนบ้าน อาทิ เวียดนาม ที่ได้เปรียบไทยเรื่องสิทธิ ทางภาษีต่างๆ อาทิ ความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) ระหว่างไทย-สหภาพยุโรป (EU) และ FTA ระหว่างไทย-GCC (กลุ่มประเทศอ่าวอาหรับ)
ทั้งนี้ ส.อ.ท. ได้ทำการรวบรวมข้อมู ลผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่ นภาคอุตสาหกรรม และข้อมูลตัวชี้วัดทางเศรษฐกิ จและอุตสาหกรรมจากหน่วยงานต่างๆ ย้อนหลัง 3 ปี จัดทำเป็น Dashboard เผยแพร่ในเว็บไซต์ศูนย์ข้อมู ลภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม Industry Data Space (iDS) ของ ส.อ.ท. เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ ประกอบการและบุคคลทั่วไปให้ สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็ นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ โดยสามารถเข้าไปใช้บริการข้อมู ลดังกล่าวได้ที่ www.fti.or.th/ids
ส.อ.ท. มุ่ง “เสริมสร้างความเข้มแข็งให้อุ ตสาหกรรมไทย เพื่อประเทศไทยที่เข้มแข็งกว่ าเดิม (Strengthen Thai Industries for Stronger Thailand)”