นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่ งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และนายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่ งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร่วมเปิดเผยผลการสำรวจดัชนี ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ประจำเดือนธันวาคม 2566 อยู่ที่ระดับ 88.8 ปรับตัวลดลง จาก 90.9 ในเดือนพฤศจิกายน เมื่อพิจารณาองค์ประกอบของค่าดั ชนีฯ พบว่าปรับตัวลดลงเกือบทุกองค์ ประกอบ ทั้งดัชนีฯ คำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ขณะที่ดัชนีฯ ต้นทุนประกอบการปรับเพิ่มขึ้น
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุ ตสาหกรรม ปรับตัวลดลงมีปัจจัยเสี่ ยงจากภาคการผลิตชะลอลง เนื่องจากวันทำงานน้อยและวันหยุ ดต่อเนื่องในเทศกาลปีใหม่ ประกอบกับผู้ผลิตได้เร่งการผลิ ตในช่วงก่อนหน้า ขณะที่กำลังซื้อของผู้บริโภคยั งฟื้นตัวไม่เต็มที่จากปัญหาหนี้ ครัวเรือนที่ยังทรงตัวในระดับสู ง ขณะเดียวกันยังมีปัญหาการแข่งขั นด้านราคาที่รุนแรง นอกจากนี้ภาคการก่อสร้างชะลอตั วลงโดยเฉพาะโครงการก่อสร้ างของภาครัฐ ส่งผลให้ความต้องการใช้สินค้าวั สดุก่อสร้างลดลง ด้านการส่งออกประสบปัญหาอัตราค่ าระวางเรือที่ปรับตัวสูงขึ้น จากกรณีกลุ่มฮูตีในเยเมนโจมตี เรือขนส่งสินค้าพาณิชย์ที่แล่ นผ่านทะเลแดง ส่งผลกระทบต่อการขนส่งสินค้ าโดยเฉพาะระหว่างทวีปเอเชี ยและยุโรป แต่อย่างไรก็ตามในเดือนธั นวาคมยังมีปัจจัยบวกจากความต้ องการสินค้าสินค้าอุปโภคบริ โภคและสินค้าแฟชั่น ที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลปีใหม่ และอานิสงค์การขยายตั วของภาคการท่องเที่ยว ขณะที่ภาคการส่งออกมีทิศทางดีขึ้ นต่อเนื่องจากอุปสงค์ จากประเทศคู่ค้าทยอยฟื้นตัว นอกจากนี้มาตรการอุดหนุนราคาพลั งงานของภาครัฐ โดยการปรับลดราคาน้ำมันและค่ าไฟฟ้า ช่วยลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ จากการสำรวจผู้ประกอบการ 1,309 ราย ครอบคลุม 46 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุ ตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในเดือนธันวาคม 2566 พบว่าปัจจัยที่ผู้ประกอบการมี ความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ เศรษฐกิจโลก ร้อยละ 81.1 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ร้อยละ 72.2 อัตราแลกเปลี่ยน (มุมมองผู้ส่งออก) โดยอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงค่ าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ร้อยละ 45.2 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความกังวลลดลง ได้แก่ ราคาน้ำมัน ร้อยละ 48.5 เศรษฐกิจในประเทศ ร้อยละ 43.0 สถานการณ์การเมืองในประเทศ ร้อยละ 38.5 ตามลำดับ
ขณะที่ดัชนีฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 96.2 ปรับตัวลดลง จาก 97.3 ในเดือนพฤศจิกายน โดยมีปัจจัยกังวลเกี่ยวกั บการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่ กระทบต่อต้นทุนประกอบการ ตลอดจนความไม่แน่นอนของปั ญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (commodities) ปรับตัวสูงขึ้นทั้งราคาพลั งงานและวัตถุดิบ แต่อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยสนั บสนุนจากมาตรการ Easy E-Receipt ซึ่งเป็นมาตรการลดหย่อนภาษี สำหรับปี 2567 ช่วยกระตุ้นการบริ โภคภายในประเทศในช่วงวันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2567
ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ
1) สนับสนุนกระทรวงพลั งงานในการดำเนินการปรับโครงสร้ างพลังงานทุกประเภทให้มีความเป็ นธรรมต่อผู้ใช้งาน และควรเปิดให้ภาคส่วนที่เกี่ ยวข้องมีส่วนร่วมให้ความเห็นผ่ าน กรอ.พลังงาน
2) เสนอให้ภาครัฐออกมาตรการช่ วยเหลือและบรรเทาผลจากปัญหาค่ าระวางเรือที่ปรับตัวสูงขึ้ นจากปัญหาความไม่สงบบริ เวณทะเลแดง โดยเฉพาะสายเรือขนส่งสินค้าตู้ คอนเทนเนอร์ในเส้นทางระหว่ างเอเชียและยุโรป
3) ขอให้กรมสรรพากรเร่งประชาสัมพั นธ์และอำนวยความสะดวกร้านค้ าขนาดกลางและขนาดเล็ก ในการยื่นคำขอออกใบกำกับภาษีอิ เล็กทรอนิกส์ (E-Tax) เพื่อให้สามารถเข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt ซึ่งจะช่วยขยายโอกาสในการขายสิ นค้าและบริการ
ทั้งนี้ ส.อ.ท. ได้ทำการรวบรวมข้อมู ลผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่ นภาคอุตสาหกรรม และข้อมูลตัวชี้วัดทางเศรษฐกิ จและอุตสาหกรรมจากหน่วยงานต่างๆ ย้อนหลัง 3 ปี จัดทำเป็น Dashboard เผยแพร่ในเว็บไซต์ศูนย์ข้อมู ลภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม Industry Data Space (iDS) ของ ส.อ.ท. เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ ประกอบการและบุคคลทั่วไปให้ สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็ นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ โดยสามารถเข้าไปใช้บริการข้อมู ลดังกล่าวได้ที่ www.fti.or.th/ids ส.อ.ท. มุ่ง “เสริมสร้างความเข้มแข็งให้อุ ตสาหกรรมไทย เพื่อประเทศไทยที่เข้มแข็งกว่ าเดิม (Strengthen Thai Industries for Stronger Thailand)”