นอกจากความรู้เรื่องสกินแคร์ตัวไหนดี คลีนิคผิวที่ไหนช่วยเยียวยา อีกตัวช่วยหนึ่งที่ควรรู้ คือ การเลือกฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์ที่การันตีว่ามีคุณสมบัติป้องกันรังสียูวีตัวร้ายให้กับเราในเวลาที่ต้องขับรถ โดยเฉพาะช่วง 10.00 – 16.00 น. ที่แพทย์ผิวหนังยืนยันว่าผิวของเราจะโดนทำลายได้มากที่สุด
วันนี้เราจะมาบอกสิ่งที่สาวๆ “ต้องรู้” ก่อนเลือกและควักกระเป๋าเพื่อติดฟิล์มกรองแสงรถยนต์ที่โฆษณาชวนเชื่อว่ากันรังสียูวีโน่นนี่ได้จริงๆ หลักง่ายๆ 3 ข้ออยู่ในพารากราฟต่อจากนี้
1. อย่าเลือกฟิล์มที่ลดแสงจ้าเพียงอย่างเดียว ฟิล์มกรองแสงรถยนต์ที่ดีต้องมีความสามารถในการลดความร้อนจากแสงอาทิตย์เป็นหลัก เพราะความเข้มไม่ได้แปลว่าลดความร้อนได้สูง สาวๆ ควรดูจากเปอร์เซ็นต์การลดความร้อนจากแสงแดดเป็นเรื่องสำคัญ อ๊ะอ๊ะ ไม่ใช่แสงจากหลอดไฟสปอตไลท์หรือหลอดอินฟาเรดนะจ๊ะ, เปอร์เซ็นต์การลดรังสียูวี, เปอร์เซ็นต์การสะท้อนแสง และเปอร์เซ็นต์แสงส่องผ่าน เช่น ฟิล์มที่มีค่าแสงส่องผ่าน 5% การสะท้อนแสง 5% การลดความร้อนจากแสงแดด 76% และการลดรังสีอุลตร้าไวโอเลต 99% เป็นต้น
2. อย่าลืมการบริการหลังการขายและระยะเวลารับประกัน สิ่งสำคัญที่สาวๆ ต้องพิจารณาควบคู่ในการตัดสินใจนั่นคือการบริการหลังการขาย ซึ่งโดยทั่วไปการรับประกันคุณภาพไม่ควรต่ำกว่า 7 ปี (ถ้า 10 ปี หรือตลอดชีพอันนี้ก็เกินไป) และ “ต้อง” ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้จำหน่ายอยู่มานาน มีความเชี่ยวชาญและน่าเชื่อถือพอจะให้การรับประกันได้จริงอย่างต่อเนื่องไม่หนีหาย
3. อย่าเลือกร้านติดตั้งที่ไม่การันตีช่างชำนาญการ ส่วนสำคัญที่สุดที่สาวๆ จะได้รับฟิล์มกรองแสงที่เรียบร้อยไม่มีปัญหาตามมาภายหลัง เลือกร้านที่การันตีช่างชำนาญการ อีกตัวเลือกหนึ่งที่ดีคือหาข้อมูลตามเว็บไซต์ คลับรถรุ่นที่เราใช้ และเลือกสาขาที่สะดวกในการเดินทาง
4. อย่าเลือกฟิล์มแค่กันรังสียูวี แต่กั้นสัญญาณดิจิทัลสมัยนี้ที่ทุกแบรนด์ล้วนโฆษณากันครึกโครมว่าฟิล์มกรองแสงที่ขายอยู่นั้นกันรังสียูวีแต่ไม่ผ่านสัญญาณดิจิทัล แนะนำว่าในสมัยนี้ควรเลือกฟิล์มที่เป็นเซรามิค ซึ่งนอกจากจะกันรังสียูวีได้ดีเยี่ยม ยังรองรับทุกสัญญาณดิจิทัลด้วย ที่สำคัญคือสาวๆ อย่างเราต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่พิสูจน์ได้จริง เอาแค่ 2 สัญญาณในชีวิตประจำวันของสาวๆ อย่างเรา คือ สัญญาณอีซี่พาสผ่านทางด่วนและสัญญาณจีพีเอสเวลาเดินทาง
รู้กันแล้วก็อย่าลืมจำเอาไปใช้เพื่อสาวๆ อย่างเราจะไม่ต้องเสียเงินไปเปล่าๆ เวลาเลือกติดฟิล์มกรองแสงรถยนต์นะจ๊ะ!
Post Views: 752