นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่ งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานในพิธีปิดการศึ กษาอบรมหลักสูตรวิทยาการประกั นภัยระดับสูง (วปส.) รุ่นที่ 12 ประจำปี 2567 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-27 ตุลาคม 2567 ณ Pullman Phuket Karon Beach Resort จังหวัดภูเก็ต โดยหลักสูตรดังกล่าวมีผู้เข้ าอบรมประกอบด้วยผู้บริหารระดั บสูงจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และธุรกิจประกันภัย จำนวนทั้งสิ้น 144 คน ซึ่งตลอดหลักสูตรมีการอบรม แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในชั้นเรี ยนและเข้าศึกษาดูงานทั้งในและต่ างประเทศ รวมทั้งร่วมทำกิจกรรมความรับผิ ดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR) ตลอดจนจัดทำรายงานการศึกษากลุ่ม (Group Project : GP) ในหัวข้อต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อระบบประกันภั ยของไทยอีกด้วย
ทั้งนี้ การจัดทำรายงานการศึกษากลุ่ม (Group Project : GP) เป็นกิจกรรมที่หลักสูตรฯ ให้ความสำคัญและกำหนดให้นักศึ กษาทุกคนเข้าร่วม เพื่อช่วยกันระดมความคิดและแบ่ งปันประสบการณ์ในแง่มุมต่าง ๆ มานำเสนอในรูปแบบรายงานวิชาการ โดยในการปิดหลักสูตร วปส. รุ่นที่ 12 ครั้งนี้ ได้กำหนดให้ผู้เข้ารั บการอบรมนำเสนอรายงานการศึ กษากลุ่ม GP และตอบข้อซักถามแก่คณะอาจารย์ที่ ปรึกษา ประกอบด้วยอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และผู้บริหารระดับสูงของสำนั กงาน คปภ.
สำหรับรายงานวิชาการแบ่งเป็น 6 กลุ่ม 6 หัวข้อ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 หัวข้อ “ความร่วมมือระหว่างภาครั ฐและเอกชนในการส่งเสริมการประกั นภัยความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้ อมเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่ งยืนในประเทศไทย” ความสำคัญของการประกันภั ยความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Liability Insurance : ELI) เป็นเครื่องมือสำคัญในการจั ดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้ อมในภาคอุตสาหกรรมของไทย ช่วยลดผลกระทบทางการเงิ นและกฎหมายจากเหตุการณ์ที่มี ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมความยั่งยืนทางเศรษฐกิ จและสิ่งแวดล้อม
กลุ่มที่ 2 หัวข้อ “การพัฒนากรอบธรรมาภิบาล AI สำหรับธุรกิจประกันภัย” เนื่องจากความก้าวหน้ าของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามามีบทบาทสำคัญในภาคธุรกิ จประกันภัย การจัดทำกรอบธรรมาภิบาล AI ที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมจึ งเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า AI จะถูกนำมาใช้ในลักษณะที่รับผิ ดชอบและเป็นธรรม โดยมีการเสนอแนะแนวทางในการกำกั บดูแลและบริหารจัดการ AI ที่สามารถประยุกต์ใช้ในธุรกิ จประกันภัย ที่คำนึงถึงความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ AI รวมถึงการสร้างความเชื่อมั่นให้ กับผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ซึ่งการนำ AI มาใช้ในธุรกิจประกันภัยช่วยเพิ่ มประสิทธิภาพในด้านต่าง ๆ กลุ่มที่ 3 หัวข้อ “การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อเสริ มสร้างความเข้าใจในกรมธรรม์ และเพิ่มประสิทธิภาพในการเรี ยกร้องค่าสินไหมทดแทนได้อย่ างครบถ้วน : กรณีประกันภัยสุขภาพ” การเกิดวิกฤตโควิด-19 ทำให้ประชาชนรู้จักและซื้อประกั นภัยสุขภาพมากขึ้น แต่หลังจากวิกฤตคลี่คลายลง จำนวนการซื้อประกันภัยสุขภาพกลั บลดลง เนื่องจากผู้ถือกรมธรรม์ประสบปั ญหาเกี่ยวกับการเข้าใจเนื้ อหาและเงื่อนไขของกรมธรรม์ ส่งผลให้ไม่สามารถใช้สิทธิ์ ตามที่กำหนดไว้ได้อย่างเต็มที่ ทางกลุ่มได้ศึกษาถึงสภาพปั ญหาของผู้ถือประกันภัยสุ ขภาพในเรื่องความเข้าใจในเนื้ อหาของกรมธรรม์ สิทธิประโยชน์ และเงื่อนไขต่าง ๆ ตามข้อกำหนดในกรมธรรม์ และหาเครื่องมือโดยเน้นการใช้ เทคโนโลยี AI เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เข้ าใจในเนื้อหาของกรมธรรม์และเพิ่ มประสิทธิภาพในการเรียกร้องค่ าสินไหมทดแทน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ถื อกรมธรรม์ บริษัทประกันภัย และหน่วยงานกำกับดูแลในอนาคต กลุ่มที่ 4 หัวข้อ
“โครงงานศึกษาแพลตฟอร์มให้บริ การวิเคราะห์ความต้ องการและแนะนำผลิตภัณฑ์ประกันชี วิตให้เหมาะสมเฉพาะบุคคล ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อ Insurance Penetration Rate ในไทย ได้แก่ การขาดความรู้ ความเข้าใจ การเข้าถึงข้อมูล และความสามารถทางการเงิน โครงสร้างประชากรไทยที่เข้าสู่ สังคมสูงวัยที่ไร้บุตรหลาน อีกทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ ยนแปลงไป ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตมีความสำคั ญต่อเศรษฐกิจครอบครั วและการวางแผนการเงินในระยะยาว ทางกลุ่มจึงเน้นการพั ฒนาแพลตฟอร์มที่สามารถวิเคราะห์ และแนะนำผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่ เหมาะสมเฉพาะบุคคล เพื่อเพิ่มการเข้าถึงและความเข้ าใจในประกันชีวิตของประชาชน กลุ่มที่ 5 หัวข้อ “การส่งเสริมสภาวะแวดล้ อมในการดำเนินธุรกิจประกันสุ ขภาพ (ภาคสมัครใจ) เพื่อรองรับการแข่งขันในภูมิ ภาคเอเชีย” โดยเล็งเห็นว่าประกันภัยสุ ขภาพภาคสมัครใจ มีประโยชน์ในการบริหารความเสี่ ยงด้านสุขภาพ ช่วยให้ประชาชนได้รับการรั กษาพยาบาลที่เหมาะสมและมีประสิ ทธิภาพ ลดภาระงบประมาณของรัฐ แต่อัตราการทำประกันภัยสุ ขภาพในไทยยังต่ำ เนื่องจากเบี้ยประกันภัยสู งและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทางกลุ่มจึงมีข้อเสนอเชิ งนโยบายเพื่อเสริมสร้างธุรกิ จประกันชีวิตโดยการลดค่าใช้จ่ ายและส่งเสริมการทำประกันภั ยภาคสมัครใจ และกลุ่มที่ 6 หัวข้อ “การสร้างความตระหนักในการพั ฒนาความร่วมมือในธุรกิจประกันภั ยระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่ อลดช่องว่างความคุ้ มครองจากภาวะสูงอายุเพื่อการพั ฒนาสังคมที่ยั่งยืน” ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาสั งคมสูงอายุที่ส่งผลกระทบทั้งด้ านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะการจัดการสุขภาพและค่ าใช้จ่ายในการยังชีพของผู้สู งอายุ การศึกษาพบว่ามีช่องว่างความคุ้ มครองด้านประกันภัยที่สำคัญ เช่น สวัสดิการจากรัฐไม่เพียงพอ ขาดความรู้และความตระหนั กในการวางแผนก่อนเกษียณ และความไม่พอใจในความคุ้ มครองของประกันภัยที่มีอยู่ ดังนั้น ทางกลุ่มจึงให้ความสำคัญกั บการพัฒนาความร่วมมือระหว่ างภาครัฐและเอกชนในการแก้ไขปั ญหาสังคมสูงอายุ และการสร้างความตระหนักรู้ให้ ประชาชนเห็นความสำคั ญของการประกันภัยเพื่อการพั ฒนาสังคมที่ยั่งยืน
ภายหลังจากรับฟั งการนำเสนอรายงานการศึกษากลุ่ม คณะผู้บริหารสำนักงาน คปภ. และนักศึกษา วปส. รุ่นที่ 12 ร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR) โดยร่วมบริจาคสิ่งของอุปโภคบริ โภคของนักศึกษา ได้แก่ ข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่ม อุปกรณ์การเรียน เครื่องเขียน และเงินจำนวน 348,035.59 บาท ณ โรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล
“ต้องขอชื่นชมนักศึกษา วปส. รุ่นที่ 12 ที่ได้ทุ่มเทความรู้ ความสามารถอย่างเต็มที่ในการค้ นคว้าและนำเสนอรายงานวิชาการ โดยทั้ง 6 เรื่อง ล้วนเป็นประเด็นร่วมสมัย และผลการศึกษาจะเป็นประโยชน์แก่ อุตสาหกรรมประกันภั ยและประชาชนผู้เอาประกันภัยเป็ นอย่างยิ่ง ซึ่งผมและอาจารย์ที่ปรึกษาได้ซั กถามและให้ข้อแนะนำต่าง ๆ เพื่อให้นำไปปรับปรุงรายงานวิ ชาการให้ดียิ่งขึ้น และจะได้มีการประชุมเพื่อคัดเลื อกสุดยอดรายงานวิชาการดีเด่นเพื่ อนำเสนอในงานสัมมนาวิ ชาการของสำนักงาน คปภ. ต่อไป” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย