ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เปิดเผยว่า ปัจจุบันเราจะพบสัตว์ทะเลหายาก ทั้งวาฬ โลมา เต่าทะเล และพะยูน เกยตื้นตามชายฝั่งและหาดทราย ซึ่งเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุทั้งการเจ็บป่วยตามธรรมชาติ การติดเครื่องมือประมง หรือจากการกินขยะทะเลเข้าไป รวมถึงปัญหามลพิษปนเปื้อนในน้ำทะเล และอีกหลายกรณียังไม่ทราบสาเหตุการตายที่แน่ชัด ด้วยเหตุนี้ กรมทรัพยากรทางทะลเและชายฝั่ง (ทช.)
จึงเร่งดำเนินการตามนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง การสำรวจประชากรพะยูนและสัตว์ทะเลหายาก รวมถึงแหล่งหญ้าทะเลและแหล่งอาหารสำคัญของสัตว์ทะเลหายาก เพื่อติดตามสถานการณ์ในภาพรวมประชากรและการเผยแพร่ของสัตว์ทะเลหายาก รวบรวมเป็นฐานข้อมูลและกำหนดแนวทาง มาตรการในการอนุรักษ์และดูแลพะยูนรวมทั้งสัตว์ทะเลหายากให้มีโอกาสอยู่รอดสูงขึ้น จึงมอบหมายให้ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง ร่วมกับศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตะวันออก และศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง ออกปฏิบัติการสำรวจสัตว์ทะเลหายากโดยใช้อากาศยานไร้คนขับชนิดปีกตรึง (Fixed-wings Unmanned Aerial Vehicle: Fixed-wings UAV) จำนวน 2 ลำ ด้วยวิธี Line-transect และสำรวจทางเรือร่วมกับใช้อากาศยานไร้คนขับชนิดปีกหมุนหลายใบพัด (Multirotor UAV) บริเวณแหลมโต๊ะชัย แหลมจูโหย เขาบาตูปูเต๊ะ และบริเวณใกล้เคียงเกาะลิบง จังหวัดตรัง ผลการสำรวจพบสัตว์ทะเลหายาก 2 ชนิด ได้แก่ พะยูน จำนวน 3 ตัว บริเวณแหลมจูโหยทั้งหมด และเต่าตนุ จำนวน 6 ตัว ได้แก่ บริเวณแหลมโต๊ะชัย จำนวน 4 ตัวและแหลมจูโหย จำนวน 2 ตัว สำหรับผลการประเมินตรวจสุขภาพสัตว์ทะเลหายากเบื้องต้นพบว่า พะยูนแสดงพฤติกรรมการดำน้ำหาอาหาร ความสมบูรณ์ของร่างกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ อัตราการหายใจ 1-2 ครั้งใน 5 นาที ขนาดโตเต็มวัย ความยาวลำตัวประมาณ 2.7 เมตร เนื่องจากสภาพอากาศลมแรง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน
ดร.ปิ่นสักก์ อธิบดีฯ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังได้มอบให้ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน สำรวจสัตว์ทะเลหายากโดยใช้อากาศยานไร้คนขับชนิดปีกหมุนหลายใบพัด (Multirotor UAV) สำรวจบริเวณพื้นที่บ้านด่านหยิด ท่าฉัตรชัย จังหวัดภูเก็ต และบริเวณช่องปากพระ ท่านุ่น บ้านบางขวัญ และบ้านปากแหว่ง จังหวัดพังงา ผลการสำรวจพบสัตว์ทะเลหายาก 2 ชนิด ได้แก่ พะยูน จำนวน 1 ตัว บริเวณช่องปากพระ ท่านุ่น จังหวัดพังงา และเต่าตนุ จำนวน 5 ตัว บริเวณบ้านปากแหว่ง จังหวัดพังงา ผลการประเมินตรวจสุขภาพสัตว์ทะเลหายากเบื้องต้นพบว่า พะยูนแสดงพฤติกรรมการดำน้ำหาอาหาร ความสมบูรณ์ของร่างกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ อัตราการหายใจ 5-7 ครั้งใน 10 นาที ขนาดโตเต็มวัย ความยาวลำตัวประมาณ 2.5 เมตร และเต่าทะเลมีสุขภาพสมบูรณ์ เนื่องจากพื้นที่บริเวณท่าฉัตรไชยบางพื้นที่และบริเวณเกาะปลิง อุทยานแห่งชาติสิรินาถ ถูกกำหนดเป็นเขตห้ามบินของสนามบิน จึงไม่สามารถทำการบินสำรวจได้ครอบคลุม และสภาพอากาศมีเมฆมากและมีฝนตกในบางพื้นที่ประกอบกับลมแรง น้ำทะเลมีลักษณะขุ่น ทำให้ภารกิจไม่บรรลุตามเป้าหมายหรือแผนที่วางไว้ จึงตัดสินใจยกเลิกการบินสำรวจในพื้นที่ที่มีอุปสรรค แต่ได้มีการสำรวจความหนาแน่นและความสมบูรณ์ของหญ้าทะเลโดยวิธีการตรวจสอบแบบสุ่มตัวอย่างเช็คจากจำนวนทั้งหมด (Spot Check) พบว่าบริเวณช่องปากพระ ท่านุ่น บ้านบางขวัญพบการปกคลุมสูง บริเวณบ้านปากแหว่ง จังหวัดพังงา ปกคลุมเล็กน้อย และบริเวณบ้านด่านหยิด ท่าฉัตรไชย จังหวัดภูเก็ตปกคลุมเล็กน้อย
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้การสำรวจเบื้องต้นครั้งนี้จะพบว่าสัตว์ทะเลหายากมีความอุดมสมบูรณ์ดี แต่ก็ยังต้องขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนโดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ให้ช่วยกันอนุรักษ์และสอดส่องดูแล นอกจากนี้ กรม ทช. ยังได้ศึกษาเทคนิค พร้อมนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการพัฒนางานด้านการอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก รวมถึงทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผสานองค์ความรู้ทางวิชาการและความร่วมมือของประชาชนในการมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการ ทั้งการแก้ไขปัญหาครอบคลุมทุกมิติตั้งแต่การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และจัดการปัญหาขยะทะเลตั้งแต่ต้นทางก่อนลงสู่ทะเล พร้อมกันนี้ขอฝากให้ทุกคนช่วยกันเป็นหูเป็นตา หากพบเจอสัตว์ทะเลหายากเกยตื้น สามารถ
Post Views: 2