นายพิศาล ไทยสม ผู้อำนวยการฝ่ายกรรมสิทธิที่ดิน การทางพิเศษ แห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม เป็นประธานในกิจกรรมการสร้างชุมชนเครือข่ายเป็นมิตรกับทางพิเศษ และกิจกรรมการฝึกซ้อมการป้องกันและระงับอัคคีภัยทางพิเศษฉลองรัช ประจำปี 2567 ณ บริเวณ ลานกีฬาชุมชนบึง พระราม 9 พัฒนา ทางพิเศษฉลองรัช

นายพิศาล ไทยสม ผู้อำนวยการฝ่ายกรรมสิทธิที่ดิน กทพ. กล่าวว่า ได้ตระหนักและให้ความสำคัญในการเสริมสร้างสังคมในพื้นที่รอบเขตทางพิเศษให้เกิดความเข้มแข็ง ความสามัคคี และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้นระหว่างการทางพิเศษแห่งประเทศไทยและชุมชนรอบเขตทางพิเศษ โรงเรียน และหน่วยงานอื่น ๆ รอบเขตทางพิเศษอย่างยั่งยืนลดพื้นที่เสี่ยง เพื่อให้ชุมชนช่วยดูแลพื้นที่รอบเขตทางพิเศษ โดยการจัดกิจกรรมการสร้างชุมชนเครือข่ายเป็นมิตรกับทางพิเศษ และกิจกรรมการฝึกซ้อมการป้องกันและระงับอัคคีภัย ทางพิเศษฉลอง ประจำปี 2567 ในวันนี้ ได้รับความร่วมมือจาก ชุมชนบึงพระราม 9 ชุมชนบึงพระราม 9 พัฒนา โรงเรียนเด็กเล็กก่อนวัยเรียนชุมชน บึงพระราม 9 โรงเรียนเด็กเล็กก่อนวัยเรียนชุมชนบึงพระราม 9 พัฒนา สำนักงานเขตห้วยขวาง สถานีดับเพลิงบางกะปิ และสถานีตำรวจนครบาลวังทองหลาง เข้าร่วมกิจกรรมการฝึกซ้อมป้องกันและระงับอัคคีภัยในวันนี้ ซึ่ง กทพ. ต้องขอขอบคุณหน่วยงานต่าง ๆ ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีมาโดยตลอด โดยในวันนี้ ได้จัดให้ความรู้วิธีการดับเพลิง การฝึกซ้อมขั้นตอนอพยพกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การช่วยฟื้นคืนชีพ (First Aid & CPR) ให้กับชาวชุมชนรอบเขตทางพิเศษ ในการป้องกันและระงับอัคคีภัยรวมถึงให้ความช่วยเหลือในกรณีเกิดอัคคีภัย พร้อมทั้งได้มอบมอบอุปกรณ์ถังดับเพลิงสีแดง จำนวน 10 ถัง ถังดับเพลิงสีเขียว จำนวน 5 ถัง จักรยานออกกำลังกายจำนวน 1 เครื่อง และของที่ระลึกให้กับชุมชนบึงพระราม 9 และมอบถังดับเพลิงสีเขียว จำนวน 5 ถัง อุปกรณ์กีฬา ติดตั้งชิงช้า 3 ตัว ที่สนามเด็กเล่น และของที่ระลึกให้กับชุมชนบึงพระราม 9 พัฒนา อีกด้วย

กทพ. จัดกิจกรรมการสร้างชุมชนเครือข่ายเป็นมิตรกับทางพิเศษ และกิจกรรมการฝึกซ้อมการป้องกันและระงับอัคคีภัยทางพิเศษฉลองรัช ประจำปี 2567

“การทางพิเศษฯ ได้นำทางพิเศษฉลองรัชเข้าสู่ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 จนถึงปัจจุบัน ข้อกำหนดมาตรฐานของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 : 2015 ได้กำหนดให้การทางพิเศษฯ ทำการฝึกซ้อมการป้องกันและระงับอัคคีภัยใต้ทางพิเศษ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานใกล้เคียง ในการรองรับหากเกิดอัคคีภัยใต้ทางพิเศษ หรือในชุมชนใกล้เคียง แสดงให้เห็นว่าการทางพิเศษฯ กับชุมชนรอบเขตทางพิเศษมีความร่วมมือที่ดีต่อกัน ผมหวังว่ากิจกรรม ในวันนี้จะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างการทางพิเศษฯ และชุมชนรอบเขตทางพิเศษ ก่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ลดพื้นที่เสี่ยงเพื่อให้ชุมชนช่วยกันดูแลพื้นที่รอบเขตทางพิเศษ โดยการทางพิเศษฯ ก็จะจัดกิจกรรมดี ๆ อย่างนี้ต่อไป” นายพิศาล ฯ กล่าวในท้ายที่สุด