นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่ งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิดโครงการการเตรี ยมความพร้อมสู่วัยทำงานด้ วยการประกันภัย OIC Be Smart First Jobber ปีที่ 2 ณ ไรส์ อินโนเวชั่น ฮับ (Rise Innovation Hub) อาคารเกษรทาวเวอร์ ถนนเพลินจิต เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริ มความรู้ความเข้าใจด้านการประกั นภัยให้กับกลุ่มเป้าหมายนิสิตนั กศึกษาในระดับอุดมศึกษา บัณฑิต และผู้เข้าสู่ตลาดแรงงาน (First Jobber) เพื่อให้สามารถใช้การประกันภั ยเป็นเครื่องมือในการบริหารจั ดการการเงินและความเสี่ยงในชีวิ ตประจำวัน รวมทั้งส่งเสริมความรู้ความเข้ าใจในด้านเส้นทางสายอาชี พการประกันภัยของนิสิตนักศึ กษาที่สามารถใช้บริหารจั ดการความเสี่ยงได้จริง และส่งผลลัพธ์ต่อเนื่องไปสู่เป้ าหมายสูงสุดคือการเปลี่ ยนแปลงในระดับพฤติกรรม ซึ่งจะทำให้การประกันภัยเป็นส่ วนหนึ่งของวัฒนธรรมในการบริ หารความเสี่ยงอย่างแท้จริงและยั่ งยืนในระยะยาว
โครงการ OIC Be Smart First Jobber ปีที่ 2 มีความแตกต่างและพิเศษเพิ่มขึ้ นจากโครงการในปีที่แล้ว โดยดำเนินการภายใต้แนวคิด Insure Experience เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ ความน่าสนใจ และกระตุ้นให้เกิดกระบวนการเรี ยนรู้ การมีส่วนร่วมจากนิสิตนักศึกษา โดยผ่าน 5 กิจกรรมหลัก ๆ คือ กิจกรรมแรก การระดมสมองและแลกเปลี่ยนความคิ ดเห็น ในรูปแบบ mini exhibition เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ ตระหนักถึงความเสี่ยงที่เกี่ ยวข้องกับ First Jobber รวมทั้งการรับของที่ระลึกในรู ปแบบกล่องสุ่ม เพื่อสะท้อนรูปแบบความเสี่ยงที่ สามารถเผชิญได้ในทุกเวลาของชีวิ ต กิจกรรมที่ 2 การปรับเปลี่ยนจากการพูดคุยกั บผู้นำทางความคิด โดยจัดในรูปแบบมินิคอนเสิร์ตให้ ผู้ร่วมงานได้มีปฏิสัมพันธ์กั บผู้นำทางความคิด ได้แก่ คุณทัศนัย กิตติรุ่งสุวรรณ (เต๋า) ผู้เข้าแข่งขันในรายการ The Voice และ The Voice All Stars กิจกรรมที่ 3 การบรรยายในหัวข้อ Explore the Future : Mastering Risk Management in Life การบริหารความเสี่ยงที่เลี่ ยงไม่ได้ในชีวิต
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ เนตยานันท์ อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งมีความเชี่ยวชาญโดยตรงในด้ านการบริหารความเสี่ ยงและการประกันภัยในรู ปแบบการบรรยายที่สนุก เข้าใจง่าย และเน้นการมีส่วนร่วมของนิสิตนั กศึกษา กิจกรรมที่ 4 การเสวนา InsureXperience & Career Path Talk “ประสบการณ์เส้นทางสายอาชี พประกันภัย” โดยวิทยากรจากสำนักงาน คปภ. และภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ซึ่งต้องขอบคุณสมาคมทุก ๆ สมาคมในภาคอุตสาหกรรมประกันภัย รวมถึงวิทยากรจากสำนักงาน คปภ. และวิทยากรจากภาคธุรกิจ และกิจกรรมที่ 5 การเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ OIC Creative Workshop โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อัษฎางค์ พลนอก อดีตผู้อำนวยการอุทยานวิ ทยาศาสตร์ภาคเหนือตอนล่าง ผู้เชี่ยวชาญด้านการจั ดกระบวนการเรียนรู้ ที่จะจำลองรูปแบบธุรกิจ การเผชิญและบริหารจัดการความเสี่ ยง รวมถึงการประกันภัยในรูปแบบต่าง ๆ ให้นิสิตนักศึกษาได้ร่ วมวางแผนและแก้ปัญหาในรู ปแบบเสมือนจริง พร้อมการถอดบทเรียนเพื่อแลกเปลี่ ยนความคิดเห็น และสร้างความเข้าใจรวมทั้งทั ศนคติที่ดีต่อระบบการประกันภัย
โดยในปีนี้ สำนักงาน คปภ. ได้ขยายกิจกรรมไปยังสถาบันการศึ กษาในภูมิภาคเพิ่มเติม จำนวน 4 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ครั้งที่ 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครั้งที่ 3 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และครั้งที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเพื่อเป็นการต่อยอดเพิ่มเติ มจากการจัดกิจกรรมในสถานศึกษา จึงได้จัดให้มีการประกวดนวั ตกรรมเพื่อส่งเสริมการเข้าถึ งระบบการประกันภัย สำหรับรูปแบบและเงื่ อนไขประกอบด้วย 1. นวัตกรรมที่นำเสนอจะต้ องสามารถตอบคำถามสำคัญคือ “ส่งเสริมความรู้อย่างไรให้ คนไทยเข้าถึงระบบการประกันภั ยมากขึ้น” โดยผู้ส่งผลงานอาจนำเสนอนวั ตกรรมที่เน้นกลุ่มเป้าหมายเป็ นนิสิตนักศึกษาผู้เริ่มต้นทำงาน (First Jobber) หรือประชาชนทั่วไปก็ได้ 2. ผู้เข้าแข่งขันสามารถส่ งผลงานในรูปแบบบุคคลหรือกลุ่มบุ คคล และผู้ส่งผลงานทุกรายจะต้องเป็ นนิสิตนักศึกษาในสถาบันการศึ กษาระดับอุดมศึกษาเท่านั้น 3. รูปแบบผลงานการประกวดในรอบคั ดเลือกคือการจัดทำงานนำเสนอ ความยาวไม่เกิน 5 ภาพ หรือสไลด์ เพื่อบอกเล่าถึงนวัตกรรมดังกล่ าวในเชิงกรอบแนวคิดหรือ conceptual idea โดยส่งผลงานได้ที่ไปรษณีย์อิเล็ กทรอนิกส์ [email protected] ภายในเวลา 23.59 น. ของวันที่ 26 พฤศจิกายน 2566
ทั้งนี้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จะดำเนินการตัดสินผลงาน เพื่อให้ได้ผลงานที่ดีที่สุ ดจำนวน 6 ผลงาน โดยมีหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ คะแนนผลงานจากรูปแบบและเนื้ อหามีการนําเสนอที่น่าสนใจ เข้าใจง่ายและชัดเจน คิดเป็นร้อยละ 20 ความคิดสร้างสรรค์ในการนํ าเสนอและการนำไปใช้ได้จริง (ความสดใหม่โดดเด่น ไม่ซ้ำกับผลงานอื่น ๆ) คิดเป็นร้อยละ 30 และการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ต่ าง ๆ เพื่อนำมาพัฒนาเป็นนวัตกรรมซึ่ งสอดคล้องกับหัวข้อการประกวด คิดเป็นร้อยละ 50
โดยผู้ผ่านการเข้ารอบชิงชนะเลิ ศทั้ง 6 ผลงาน จะเข้ามานำเสนอผลงานต่ อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารสำนักงาน คปภ. ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้นำทางความคิดหรือผู้เชี่ ยวชาญด้านนวัตกรรม ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 และสำนักงาน คปภ. ได้จัดให้มี online coaching เพื่อให้น้อง ๆ นิสิตนักศึกษาสามารถปรับปรุ งและพัฒนาผลงานจากรอบคัดเลื อกให้มีรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ชัดเจนและสามารถนำไปดำเนิ นการได้จริงในทางปฏิบัติ โดยมีระยะเวลา 10 นาที ในการนำเสนอและตอบข้อซั กถามจากคณะกรรมการ
สำหรับรางวัลที่ผู้เข้าร่วมกิ จกรรมในครั้งนี้จะได้รับ คือ รางวัลชนะเลิศ 1 รางวัล จะได้รับรางวัลเงินสด 50,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จะได้รับรางวัลเงินสด 25,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จะได้รับรางวัลเงินสด 10,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร รางวัลชมเชย 3 รางวัล จะได้รับรางวัลเงินสดรางวัลละ 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร