มหาวิทยาลัยศรีปทุม (SPU) ร่วมกับดีโหวต (D-vote) เปิดเผยผลสำรวจ ‘คะแนนความนิยมทางการเมือง 2566’ ประจำสัปดาห์ โดยสำรวจระหว่างวันที่ 11 เม.ย. – 17 เม.ย. 2566 จากกลุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกช่วงอายุ ภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 1,398 ตัวอย่าง ค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0 ผ่านเทคโนโลยีสำรวจความเห็นสาธารณะบนบล็อกเชน โดยพรรคการเมืองที่ประชาชนจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ อันดับ 1 พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 43.79 อับดับ 2 พรรคก้าวไกล ร้อยละ 25.51 อันดับ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 10.43 อันดับ 4 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 3.86 อันดับ 5 พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 3.59 อันดับ 6 เสรีรวมไทย ร้อยละ 3.49 อันดับ 7 พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 2.92% อันดับ 8 พรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 2.33 อันดับ 9 พรรคอื่น ๆ  นอกเหนือจากนี้ 1.56 อันดับ 10 พรรคชาติพัฒนากล้า ร้อยละ 1.54 และผู้ยังไม่ตัดสินใจร้อยละ 0.92 โดยเมื่อเทียบกับผลสำรวจครั้งที่แล้ว (ระหว่างวันที่ 28 มี.ค. – 10 เม.ย.) มีพรรคการเมืองที่ได้รับความนิยมขยับสูงขึ้นสำหรับแบบบัญชีรายชื่อ 3 ลำดับแรก คือ พรรคก้าวไกล รวมไทยสร้างชาติ และเสรีรวมไทย

ในขณะที่ผู้สมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตที่ประชาชนจะเลือกเป็นอันดับ 1 คือจากพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 41.70 อันดับ 2 พรรคก้าวไกล ร้อยละ 21.37 อันดับ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 8.70 อันดับ 4 พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 6.75 อันดับ 5 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 5.76 และอันดับ 6 พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 4.82 อันดับ 7 พรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 3.54 อันดับ 8 พรรคชาติพัฒนากล้าร้อยละ 1.77 อันดับ 9 พรรคเสรีรวมไทย ร้อยละ 1.64 อันดับ 10 พรรคอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ ร้อยละ 1.24 และผู้ยังไม่ตัดสินใจร้อยละ 2.65 โดยเมื่อเทียบกับผลสำรวจครั้งที่แล้ว มีพรรคการเมืองที่ได้รับความนิยมขยับสูงขึ้นสำหรับแบบแบ่งเขต 3 ลำดับแรก คือ พรรคก้าวไกล พลังประชารัฐ และรวมไทยสร้างชาติ

สำหรับบุคคลที่ประชาชนอยากสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นอับดับ 1 น.ส.แพทองธาร ชินวัตร (เพื่อไทย) ร้อยละ 41.94 อันดับ 2 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (ก้าวไกล) ร้อยละ 24.89 อันดับ 3 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (รวมไทยสร้างชาติ) ร้อยละ 10.39 อันดับ 4 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (เสรีรวมไทย) ร้อยละ 5.78 อันดับ 5 นายอนุทิน ชาญวีรกุล (ภูมิใจไทย) ร้อยละ 3.56 อันดับ 6 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (ไทยสร้างไทย) ร้อยละ 3.20 อันดับ 7 ไม่รู้/ไม่แน่ใจ ร้อยละ 2.90 อันดับ 8  พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ (พลังประชารัฐ) ร้อยละ 2.69 อันดับ 9 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (ประชาธิปัตย์) ร้อยละ 2.63 อันดับ 10 นายกรณ์ จาติกวณิช (ชาติพัฒนากล้า) ร้อยละ 2.02  โดยเมื่อเทียบกับผลสำรวจครั้งที่แล้ว บุคคลที่ประชาชนอยากสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี และมีคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น3 ลำดับแรก ได้แก่ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส

ทั้งนี้ผลสำรวจความคิดเห็นต่อการเลือกตั้งเบื้องต้น (253 ตัวอย่าง ความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 92.0) พบว่าร้อย 81.03 จำเบอร์ผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อได้แล้ว ในขณะที่ร้อยละ 69.96 จำเบอร์ผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตได้แล้ว โดยร้อยละ 77.47 ไม่เห็นด้วยกับเบอร์ผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตแตกต่างกันในแต่ละเขต