บทเรียนราคาแพงจากการลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซีที่ราคาปรับขึ้นร้อนแรงในปีที่ผ่านมา ทำเอาหลายคนกระโดดเข้าสู่วงการนี้ แต่เมื่อตลาดผันผวนเหรียญคริปโตจำนวนมากที่ไม่มีปัจจัยพื้นฐานใดๆ รองรับราคาเหรียญเหล่านี้ก็เริ่มร่วงลงอย่างรุนแรง ซึ่งก็ทำให้ผู้ลงทุนหลายคนเจ็บตัวตามไปด้วย นี่คือประตูความเสี่ยงในการลงทุนที่นักลงทุนเปิดรับเข้ามาเอง  ท่ามกลางความไม่แน่นอนของตลาดคริปโต เราได้เห็นความงอกเงยของตลาดหุ้นกู้ที่เติบโตสวนกระแสเงินเฟ้อและดอกเบี้ยขาขึ้น เช่น หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ หรือ หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน (Perpetual Bond) ที่มีบริษัทเอกชนรายใหญ่เข้าสู่ช่องทางการระดมทุนชนิดนี้ 

ล่าสุดคือ สยามพิวรรธน์ ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และค้าปลีกชั้นนำ ที่ได้ประกาศแผนการออกและเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนเป็นครั้งแรก หุ้นกู้ด้อยสิทธิของ สยามพิวรรธน์ ประกาศอัตราดอกเบี้ยช่วง 5 ปีแรกที่ 5.50% ต่อปี กำหนดจ่ายดอกเบี้ยทุกๆ 3 เดือน จากนั้นจะปรับอัตราดอกเบี้ยทุกๆ 5 ปี อ้างอิงจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี ในช่วงเวลานั้นๆ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้จัดอันดับเครดิตของบริษัทฯ อยู่ที่ ‘A-’ แนวโน้มอันดับเครดิต ‘คงที่’ (Stable) และอันดับเครดิตหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนนี้ที่ระดับ ‘BBB’ แนวโน้มอันดับเครดิต ‘คงที่’ (Stable) เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2565

หมัดต่อหมัด หุ้นกู้สู้คริปโต

ในประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบการลงทุนในหุ้นกู้กับคริปโตเคอร์เรนซี สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้ คือ

  1. บริษัทผู้ออกหุ้นกู้โดยส่วนใหญ่มี Track Record ในการทำธุรกิจ มีผลการดำเนินงานย้อนหลังให้พิจารณา ในขณะที่ผู้ออกคริปโต เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่เพื่อวัตถุประสงค์ในการออกคริปโตโดยเฉพาะ
  2. หุ้นกู้ มีสถาบันจัดอันดับเครดิตจากองค์กรที่น่าเชื่อถือและมีความเป็นอิสระในการจัดอันดับเครดิตของผู้ออกหุ้นกู้และของหุ้นกู้ ไม่มีซึ่งผู้ลงทุนสามารถใช้เป็นแหล่งศึกษา อ้างอิง และใช้เป็นแนวทางในการคัดเลือกหุ้นกู้ที่จะลงทุนได้ แต่คริปโตไม่มีสถาบันจัดอันดับเครดิต

ในขณะที่คริปโตไม่มีองค์กรอิสระหรือสถาบันจัดอันดับเครดิตตราสารมาช่วยวิเคราะห์ ให้ความเห็นและจัดอันดับเครดิตให้ ดังนั้น การลงทุนในคริปโตจึงเป็นการลงทุนแบบ ‘อัตตา หิ อัตตโน นาโถ’ (ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน)

 แล้วในฐานะผู้ลงทุนจะเลือกอย่างไร 

การลงทุนในหุ้นกู้ คือการที่ผู้ลงทุนกำลังปล่อยกู้ให้กับบริษัทนั้นๆ สิ่งแรกที่ควรพิจารณา คือคุณภาพของบริษัทหรือคุณภาพของผู้ออกหุ้นกู้นั้นๆ วิธีที่จะช่วยในการคัดเลือกที่ง่ายที่สุด คือ

  1. เลือกบริษัทที่มีอัตราส่วน‘หนี้สินที่มีดอกเบี้ยต่อส่วนของทุน’ ต่ำๆ ยิ่งต่ำยิ่งดี เราคงจะไม่อยากปล่อยกู้บริษัทที่มีหนี้สินมากกว่าทุนหลายๆ เท่า เพราะโอกาสจะได้เงินต้นคืนก็จะน้อยกว่า บริษัทที่มีหนี้สินน้อยกว่าทุน หรือมีหนี้สินใกล้เคียงกับทุน
  2. เลือกจากอันดับเครดิตของผู้ออกหุ้นกู้และอันดับเครดิตของตราสารสิ่งที่ผู้ลงทุนควรทำคือ อ่านรายงานการจัดอันดับเครดิต ทำความเข้าใจและอ่านคำนิยามของอันดับเครดิตในระดับต่างๆ เพื่อจะได้ถามตัวเองว่าเราจะรับความเสี่ยงได้ในอันดับเครดิตระดับใด แน่นอนแต่ละคนรับความเสี่ยงไม่เท่ากัน บางคนกล้าได้กล้าเสีย กล้าลงทุนบริษัทที่อันดับเครดิตต่ำกว่า Investment Grade หรือที่เรียกว่า Junk Bond แต่บางคนรับไม่ได้ต้องลงทุนในระดับ Investment Grade เท่านั้น เป็นต้น ส่วนผลตอบแทนการลงทุนก็เป็นไปตามสัจธรรม High Risk High Return ยิ่งเสี่ยงต่อเงินต้นของคุณมาก เขาก็จะเสนอดอกเบี้ยสูงๆ หน้าที่ของผู้ลงทุนคือ ถามตัวเองว่าชอบลงทุนแบบไหน

ดังนั้น เราจึงต้องกลับมาตั้งต้น คัดเลือกผู้ออกหุ้นกู้ คัดเลือกบริษัทที่พื้นฐานมั่นคง แข็งแกร่ง มีผลงานพิสูจน์ชัด และมีศักยภาพในการเติบโตในระยะยาว เพื่อความปลอดภัยของเงินต้นและดอกเบี้ยของเรา    

คำเตือน : – หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนฯ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูงและซับซ้อนกว่าหุ้นกู้ปกติ โดยมีความเสี่ยงที่ระดับ 7 จากทั้งหมด 8 ระดับ

ผู้ลงทุนควรทำความความเข้าใจลักษณะหุ้นกู้ เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน เอกสารฉบับนี้ไม่ใช่หนังสือชี้ชวนสำหรับการเสนอขายตราสารหนี้