ททท. ร่วมกับบางจากฯ และเทศบาลเมืองพัทยา รณรงค์ลดขยะพลาสติกและหมุนเวียนนำกลับมาใช้ซ้ำ ภายใต้โครงการ “ลดโลกเลอะ X รักษ์ปันสุข” ส่งมอบ “หมวก”ผลิตจากขยะพลาสติก จำนวน 200 ใบให้เมืองพัทยา เพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่าและใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และเทศบาลเมืองพัทยา จัดทำโครงการ “ลดโลกเลอะ x รักษ์ปันสุข” ด้วยการรวมพลังและความร่วมมือในการลดใช้พลาสติก และหมุนเวียนใช้ให้เกิดประโยชน์โดย ททท. และบางจากฯ ได้เชิญชวนนักเดินทางร่วมบริจาคขวด PET ที่สถานีบริการน้ำมันบางจาก พื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล ชลบุรี ระยอง จันทบุรี จำนวน 262 จุด โดยได้นำขวดพลาสติก PET สร้างสรรค์งานประติมากรรมรูป “เต่ามะเฟืองแม่ลูก” สัตว์สงวนที่ได้รับผลกระทบจากขยะพลาสติก ขนาด 8×8 เมตร ณ บริเวณริมชายหาดจอมเทียน พัทยา จ.ชลบุรี เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 – มิถุนายน 2563 เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ และนำขวดพลาสติกที่เหลือไป รีไซเคิลผลิตเป็นหมวกกันแดด จำนวน 200 ใบ เพื่อส่งมอบให้เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครที่ดูแลรักษาความสะอาดในเมืองพัทยานำไปใช้ประโยชน์ต่อไป และเป็นสัญลักษณ์รณรงค์การท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

อย่างไรก็ดี ททท. ในฐานะบทบาทหลักในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทยตระหนักถึงเรื่องนี้ โดยได้ทำปฏิญญา “ลดโลกเลอะ” และในโอกาสที่ ททท. ครบรอบ 60 ปี ในปี 2563 ททท. มีแนวคิดและให้ความสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ (Responsible Tourism) โดยได้กำหนดเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่มุ่งเน้นการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญในการท่องเที่ยวที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และได้ดำเนินการเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง รณรงค์ปลูกจิตสำนึกและกระตุ้นให้นักท่องเที่ยว ร่วมกันรับผิดชอบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ลดการสร้างภาระขยะในแหล่งท่องเที่ยว พร้อมกันนี้ยังได้กำหนดเป้าหมายลดการใช้พลาสติกในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้ลดลงร้อยละ 50 ภายในปี 2563 ลดขยะพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use plastics) อาทิ หลอด ฝาครอบแก้ว ถุง กล่องอาหาร พร้อมทั้งส่งเสริมการใช้วัสดุสำหรับทดแทนพลาสติกและภาชนะที่สามารถใช้ซ้ำได้ เช่น การใช้ถุงผ้า กระบอกน้ำ กล่องข้าวพกพา หลอดดูดน้ำจากวัสดุธรรมชาติ การใช้ผ้าเช็ดหน้า เพื่อไม่สร้างภาระในการกำจัดให้กับแหล่งท่องเที่ยวและชุมชน อีกทั้ง ยังช่วยรักษาความสวยงามให้คงอยู่ตลอดไป”