ระหว่างงานเอ็มดับบลิวซี บาร์เซโลนา (MWC Barcelona) ประจำปี 2566 หัวเว่ย (Huawei) ได้เปิดตัวสามโซลูชัน ได้แก่ หัวเว่ย เอฟทีทีอาร์ อ็อปติกซ์สตาร์ เอฟ30 (Huawei FTTR OptiXstar F30), 50จี พีโอเอ็น (50G PON) เครือข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟ 50 กิกะบิตเชิงพาณิชย์ตัวแรกของอุตสาหกรรม และหัวเว่ย อ็อปติกซ์ แอลป์ส-ดับบลิวดีเอ็ม (Huawei OptiX Alps-WDM) โดยเป็นโซลูชันที่ออกแบบเพื่อบ้านแบบนำแสงล้วน เข้าถึงอัลตราบรอดแบนด์ และเครือข่ายมหานครแบบนำแสงล้วน โซลูชันเหล่านี้ช่วยให้ผู้ดำเนินการสร้างเครือข่ายนำแสงล้วนสีเขียวครบวงจรเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพสูงของทุกบริการ พร้อมทั้งยังสนับสนุนการพัฒนาอย่างราบรื่นสู่เครือข่าย F5.5G และมุ่งสู่ 10 กิกะบิตในทุกที่ (10Gbps Everywhere)

  • ในด้านบ้านนำแสงล้วน (all-optical home) หัวเว่ย เอฟทีทีอาร์ อ็อปติกซ์สตาร์ เอฟ30 เป็นผลิตภัณฑ์เครือข่ายผ่านใยแก้วถึงห้องพัก (FTTR) แบบนำแสงล้วนตัวแรกของอุตสาหกรรม ที่ทำงานบนสถาปัตยกรรมเครือข่ายบริเวณกว้าง C-WAN เพื่อการยกระดับในหกด้านสำคัญ ดังนี้
    – ความสวยงาม: มาในสี่สีและสามโหมดการติดตั้ง ทำให้ผสานเข้ากับดีไซน์บ้านสมัยใหม่ได้อย่างลงตัวสมบูรณ์แบบ
    – ความเร็ว: การเร่งฮาร์ดแวร์และการเพิ่มประสิทธิภาพอัลกอริทึมทำให้มั่นใจได้ในการเชื่อมต่อ 2000 เมกะบิตต่อวินาทีในทั่วทั้งบ้าน
    – ความครอบคลุม: เสาสัญญาณอัจฉริยะแบบมัลติบีม (multi-beam) เพิ่มการครอบคลุมราว 30%
    – บริการข้ามเครือข่าย (โรมมิง): นวัตกรรมอัลกอริทึมเครือข่ายประสานบริการข้ามเครือข่ายไร้รอยต่อ (SRCN) ของหัวเว่ยเอื้อให้สามารถมีโรมมิงที่ไม่รู้สึกถึงรอยต่อในทั่วทั้งบ้าน
    – การทำงานพร้อมกัน: การทำงานร่วมกันระหว่างหลายอุปกรณ์ช่วยลดการรบกวนไวไฟและทำให้อุปกรณ์จำนวนสูงสุด 128 เครื่องสามารถเชื่อมต่อได้พร้อมกัน
    – บริการ: สมรรถนะบริการ 5A[1] ครบวงจรระดับพรีเมียมช่วยให้ผู้ดำเนินการสามารถส่งมอบบริการการติดตั้ง การบำรุงรักษา และการดำเนินการระดับพรีเมียม หัวเว่ย เอฟทีทีอาร์ อ็อปติกซ์สตาร์ เอฟ30 ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ชีวิตดิจิทัล และช่วยให้ผู้ดำเนินการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของบรอดแบนด์ ผลิตภัณฑ์นี้ได้เปิดตลาดมูลค่าหลายล้านล้านดอลลาร์
  • ในด้านการเข้าถึงอัลตราบรอดแบนด์ (ultra-broadband access) เครือข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟ 50 กิกะบิตหัวเว่ย 50จี พีโอเอ็น (Huawei 50G PON) เป็นโซลูชันเชิงพาณิชย์ตัวแรกของอุตสาหกรรมที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานดังต่อไปนี้

    – ให้เครือข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟ 50 กิกะบิตที่สมมาตรและความหนาแน่นสูงเพื่อให้สอดรับกับความต้องการแบนด์วิดท์การส่งถ่ายข้อมูลที่สูงขึ้นในสภาวการณ์ใช้งานในอนาคตในสถานศึกษา การเชื่อมต่อระหว่างกันเชิงอุตสาหกรรม องค์กรธุรกิจ และบ้าน
    – ใช้นวัตกรรมตัวขยายทรงเรียวและโครงสร้างการสะท้อนซูเปอร์แลททิซ (superlattice) เพื่อเพิ่มขนาดการจัดสรรกำลังนำแสง (optical power budget) ราว 25% และทำให้ติดตั้งเครือข่ายการกระจายแสง (ODN) ในเครือข่ายที่มีอยู่ได้โดยไม่ต้องเดินสายใหม่
    – บูรณาการเครือข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟชนิดกิกะบิต (GPON), เครือข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟ 10 กิกะบิต และเครือข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟ 50 กิกะบิตเข้าด้วยกันในพอร์ตเดียว ทำให้สามารถดำเนินการปรับปรุงอัปเกรดบริการตามสั่ง ประกอบกับลดต้นทุนการลงทุนสำหรับผู้ดำเนินการ

ในฐานะเทคโนโลยีเครือข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟรุ่นใหม่ตามนิยามของไอทียู-ที (ITU-T) 50จี พีโอเอ็นนี้ สนับสนุน 10 กิกะบิตต่อวินาทีในทุกที่อย่างมีประสิทธิผล โซลูชันนวัตกรรม 50จี พีโอเอ็น ของหัวเว่ยมอบเส้นทางการพัฒนาพร้อมต้นทุนการเป็นเจ้าของโดยรวม (TCO) ที่คุ้มค่าสำหรับผู้ดำเนินการในการอัปเกรดเครือข่ายเป็น 10 กิกะบิต

  • ในด้านเครือข่ายมหานครนำแสงล้วน (all-optical metro network) โซลูชันเครือข่ายมัลติเพล็กซ์แบ่งความยาวคลื่น (WDM) หัวเว่ย อ็อปติกซ์ แอลป์ส-ดับบลิวดีเอ็ม มาพร้อมสี่สมรรถนะ ดังนี้

    – คล่องตัว: สมรรถนะนี้ขยายการเชื่อมต่อนำแสงแบบข้าม (OXC) ไปยังสุดขอบของเครือข่ายและเอื้อต่อการเชื่อมต่อนำแสงแบบส่งสัญญาณสเต็ปเดียว (one-hop) ประกอบกับการดูแลรักษาที่ยืดหยุ่นในทั้งเครือข่าย จึงยกระดับสมรรถนะการเชื่อมต่อเครือข่าย และย่นระยะเวลาการให้บริการจากหลักเดือนเป็นหลักนาที
    – ระยะยาว: นวัตกรรมโมดูลแบบอาพันธ์ (coherent module) 100 กิกะบิตช่วยย้ายเครือข่ายส่งข้อมูลด้วยแสง (OTN) 100 กิกะบิตไปสู่การนำแสงแบบอาพันธ์ (CO) ซึ่งช่วยเพิ่มแบนด์วิดท์การส่งถ่ายข้อมูล 10 เท่าและลดต้นทุนได้อย่างมาก
    – รวมเข้าด้วยกัน: ด้วยการใช้เทคโนโลยีสวิตช์เลือกความยาวคลื่น (WSS) เพื่อผนวกรวมรางย่อย ๆ (subrack) เป็นโมดูลเดียว สถาปัตยกรรมนี้ช่วยให้วงจรสื่อสัญญาณการเข้าถึงเก้าวงจรสามารถใช้ความยาวคลื่น 96 ช่วงร่วมกัน จึงเพิ่มประสิทธิภาพของความยาวคลื่นและลดการใช้พื้นที่ของอุปกรณ์ได้อย่างมาก
    – เรียบง่าย: สมรรถนะประการนี้แปะป้ายการนำแสงดิจิทัลให้กับความยาวคลื่น พร้อมใช้หน่วยบริหารจัดการและควบคุมแบบรวมศูนย์ เพื่อให้วางแผน ก่อสร้าง และบำรุงรักษาได้อัตโนมัติ จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายการดำเนินการ (OPEX)

ด้วยสมรรถนะทั้งสี่ด้านนี้ โซลูชันเครือข่ายมัลติเพล็กซ์แบ่งความยาวคลื่น อ็อปติกซ์ แอลป์ส-ดับบลิวดีเอ็ม ของหัวเว่ย สร้างสถาปัตยกรรมที่เรียบง่ายและมอบประสบการณ์ขั้นสุดยอด สมรรถนะเหล่านี้ช่วยสร้างนิยามใหม่ของเครือข่ายนำแสงล้วนสีเขียวและสอดรับกับความต้องการของผู้ดำเนินการในการพัฒนาบริการประเภทธุรกิจไปยังผู้บริโภค (B2C), ธุรกิจไปยังมนุษย์ (B2H) และระหว่างธุรกิจ (B2B) ตลอดจนจะสนับสนุนการพัฒนาบริการในทศวรรษข้างหน้านี้

คุณริชาร์ด จิน (Richard Jin) ประธานฝ่ายไลน์ผลิตภัณฑ์ธุรกิจนำแสงของหัวเว่ย กล่าวว่า “จาก F5G สู่ F5.5G ยิ่งกว่าวางแผนอนาคต เราสร้างอนาคต วันนี้ การเชื่อมต่อกิกะบิตกำลังมีความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทั่วโลก เมื่อมองแนวโน้มในปี 2568 แล้ว ความต้องการเครือข่ายที่หลากหลายจะต้องใช้การเชื่อมต่อ 10 กิกะบิตที่มีอยู่ในทุกที่ ทุกอุตสาหกรรมจำเป็นต้องทำงานร่วมกันเพื่อโอบรับ F5.5G และก้าวสู่ 10 กิกะบิตต่อวินาทีในทุกที่ หัวเว่ยจะร่วมมือกับผู้ดำเนินการระดับโลกเพื่อเร่งการอัปเกรดเครือข่ายและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งจะช่วยผู้ดำเนินการในการขยายพรมแดนธุรกิจของพวกเขาอย่างต่อเนื่อง และการคว้าโอกาสด้วยสุดยอดประสบการณ์ผู้ใช้เพื่อเป็นผู้นำอนาคต”

มหกรรมเอ็มดับบลิวซี บาร์เซโลนา ประจำปี 2566 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึง 2 มีนาคม ณ เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน หัวเว่ยจะจัดแสดงผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่บูธหมายเลข 1H50 ณ ฟิรา แกรน เวีย ฮอลล์ 1 (Fira Gran Via Hall 1) หัวเว่ยและผู้ให้บริการระดับโลก ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม และผู้นำความคิดเห็น จะดำดึ่งสู่ประเด็นต่าง ๆ เช่น ความสำเร็จของธุรกิจ 5G, โอกาส 5.5G, การพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, การพลิกโฉมสู่ดิจิทัล และวิสัยทัศน์ของเราในการใช้แผนแม่บททางธุรกิจไกด์ (GUIDE) เพื่อวางรากฐานสำหรับ 5.5G และสานต่อความสำเร็จของ 5G เพื่อความเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://carrier.huawei.com/cn/events/mwc2023

[1] 5A หมายถึงวางแผนแม่นยำ (Accurate Planning), ติดตั้งคล่องตัว (Agile Installation), ยอมรับเต็มที่ (All-in Acceptance), ตอกย้ำความมั่นใจ (Active Assurance) และดูแลใส่ใจ (Attentive Care)