ที่งานประชุมสุดยอดนักวิเคราะห์ระดับโลกโดยหัวเว่ย (Huawei Global Analyst Summit) ประจำปี 2565 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 เมษายน หัวเว่ย คลาวด์ (Huawei Cloud) ได้จัดเซสชั่น “เจาะลึกโลกดิจิทัล โดยให้บริการทุกด้าน” (Dive into Digital with Everything as a Service) โดยพูดถึงการเติบโตทางธุรกิจในปี 2564 และประกาศแผนเพิ่มการลงทุนในรูปแบบ “ให้บริการทุกด้าน”  หัวเว่ย คลาวด์ เปิดเผยความสำเร็จด้านนวัตกรรมและแผนบริการที่งานประชุมในปีนี้ โดยมีไฮไลต์สำคัญดังนี้

1 กลยุทธ์

คุณแจ็กเกอลีน ซือ (Jacqueline Shi) ประธานฝ่ายการตลาดและการขายระหว่างประเทศของหัวเว่ย คลาวด์ เปิดเผยว่า ในปี 2564 หัวเว่ย คลาวด์ ยังคงเติบโตอย่างรวดเร็วและมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยมีลูกค้าหลักเพิ่มขึ้น 59%, รายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้ (ARPU) เพิ่มขึ้น 33% และปริมาณธุรกรรมในมาร์เก็ตเพลสเพิ่มขึ้น 105% โดยในปี 2565 นี้ หัวเว่ย คลาวด์ จะเพิ่มกลยุทธ์เชิงลึก “เจาะลึกโลกดิจิทัล โดยให้บริการทุกด้าน” ได้แก่ ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเข้าถึงทั่วโลก ให้บริการเทคโนโลยีรองรับนวัตกรรม และให้บริการความเชี่ยวชาญเพื่อความเป็นเลิศร่วมกัน

2 การดำเนินการ

หัวเว่ย คลาวด์ สร้างความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องในส่วนของอินเทอร์เน็ตและองค์กร นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและการทำงานร่วมกันบนคลาวด์-คลาวด์ได้ให้บริการถึง 80% ของบริษัทอินเทอร์เน็ต 50 อันดับแรกของจีน ซึ่งช่วยให้พวกเขาเติบโตอย่างมีคุณภาพ การทำงานร่วมกันระหว่างหัวเว่ย คลาวด์ กับหัวเว่ย คลาวด์ สแต็ก (Huawei Cloud Stack) สร้างระบบนิเวศแบบมัลติคลาวด์สำหรับองค์กรภาครัฐและองค์กรต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการในแต่ละเฟสของการย้ายข้อมูลในระบบคลาวด์ หัวเว่ย คลาวด์ ให้บริการคลาวด์ของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์กว่า 600 แห่ง ธนาคารรายใหญ่ 6 แห่ง ธนาคารพาณิชย์ร่วม 12 แห่ง และสถาบันประกันภัย 5 อันดับแรกในจีน ไปจนถึงสนามบินอัจฉริยะกว่า 30 แห่ง

3 การแก้ปัญหา

ในปี 2564 หัวเว่ย คลาวด์ ได้นำเสนอรูปแบบ “ทุกสิ่งคือการบริการ” ไปแล้ว และในปี 2565 หัวเว่ยคลาวด์จะนำกลยุทธ์นี้ขึ้นไปสู่อีกระดับ

ในการให้บริการความเชี่ยวชาญนั้น หัวเว่ย คลาวด์ กลั่นกรองประสบการณ์ความชำนาญในการสร้างนวัตกรรมร่วมและการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลให้กลายเป็น MacroVerse aPaaS ที่ปรับแต่งนวัตกรรมเฉพาะให้เข้ากับแต่ละสถานการณ์ได้ หัวเว่ย คลาวด์ ยังให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาสามเรื่องในการย้ายระบบคลาวด์ ได้แก่ ความไม่เต็มใจ วิธีการ และความสามารถในการใช้งาน โดยวางแผนโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ ผลักดันการใช้งานบนคลาวด์ การเปิดใช้งานข้อมูล และการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล เพื่อช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ยอมรับการใช้งานบนคลาวด์ที่ง่าย ราบรื่น และมีประสิทธิภาพ

4 กระบวนการ

ในแง่การให้บริการเทคโนโลยี หัวเว่ย คลาวด์ ได้สร้าง MetaStudio สำหรับเนื้อหาดิจิทัล, ModelArts MLOps สำหรับการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI), DevCloud สำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ และกระบวนการสำหรับการกำกับดูแลข้อมูล ซึ่งทำให้บริการ SaaS สำหรับอุตสาหกรรมสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มบนคลาวด์ได้

ระบบที่เร็วถึง 50 มิลลิวินาที

ในการให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน หัวเว่ย คลาวด์ ให้บริการ KooVerse โดยหัวเว่ย คลาวด์ และคู่ค้าดำเนินการใน 65 โซนที่พร้อมใช้งานใน 27 ภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ ครอบคลุมกว่า 170 ประเทศและภูมิภาค หัวเว่ย คลาวด์ จะปรับใช้ศูนย์ข้อมูลทั่วโลกใน 7 ภูมิภาคและ 42 ประเทศหลัก และสร้างโหนด POP ใหม่ ปรับปรุงประสิทธิภาพการเข้าถึงเครือข่ายของแต่ละพื้นที่ให้บริการ และสร้างการครอบคลุมระบบคลาวด์ที่ใช้เวลารวดเร็วในการตอบสนองต่อเซิร์ฟเวอร์เพียง 50 มิลลิวินาที

นอกจากนี้ หัวเว่ย คลาวด์ จะเพิ่มการลงทุนในตลาดอุตสาหกรรม และเพิ่มนวัตกรรมการบริการเชิงลึกในด้านต่าง ๆ เช่น การทำงานร่วมกันบนคลาวด์-คลาวด์, Go-Global และอินเทอร์เน็ตอุตสาหกรรม โดยส่งมอบเทคโนโลยีและบริการที่ดีขึ้นแก่ลูกค้า เพื่อช่วยขยายขอบเขตของธุรกิจ

ในภายหน้า หัวเว่ย คลาวด์ จะยังคงสร้างสรรค์และทำงานร่วมกับลูกค้า คู่ค้า และนักพัฒนา เพื่อเพิ่มศักยภาพของกลยุทธ์ “เจาะลึกโลกดิจิทัล โดยให้บริการทุกด้าน” ซึ่งเป็นการสร้างรากฐานระบบคลาวด์สำหรับโลกอัจฉริยะ