ปี 2007 the Green Grid ได้นำเสนอสมการเพื่อช่วยปรับเปลี่ยนแนวทางของอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์โหลดไฟฟ้าทั้งหมดของดาต้าเซ็นเตอร์ ถูกแบ่งด้วยโหลดไอทีนี่คืออัตราส่วนที่เรียบง่ายของค่า PUE  และยิ่งวัดการใช้พลังงานได้มากแค่ไหน ค่า PUE จะยิ่งให้ศักยภาพมากขึ้นในการปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงานสู่เป้าหมายได้ครอบคลุมทั้งอุตสาหกรรมบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอินเตอร์เน็ตทุกบริษัท ต่างติดตามค่า PUE และเมื่อเริ่มติดตาม สิ่งดีๆ ก็เกิดขึ้นตามมา โดยในปี 2008 ค่า PUE ที่ 1.2 นั้นเรียกได้ว่าค่อนข้างจะสมบูรณ์ทีเดียว แต่เมื่อเป้าหมายที่เป็นค่า PUE ในอุดมคติตามหลักทฤษฏีอยู่ที่ 1.0  ฉะนั้นในอีกไม่กี่ปีถัดมา เฟสบุ๊ค ก็ทำได้ที่ 1.078 และบริษัทอื่นๆ ก็ตามรอยได้ในไม่ช้า และตัวเลขก็ยังคงลดลงต่อเนื่องตัวชี้วัดค่า PUE คือมาตรฐานที่ใช้ร่วมกัน ที่เปลี่ยนประสิทธิภาพด้านพลังงานไปสู่ตัวเลขที่เหลือหลักเดียว สิ่งนี้ช่วยปูทางไปสู่ความก้าวหน้า แม้ว่าการวัดค่า PUE ถือเป็นเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมก็ตาม อุตสาหกรรมก็ยังคงร่วมแรงร่วมใจกันใช้มาตรฐานร่วมกันเพื่อสิ่งที่ใหญ่ยิ่งขึ้น โดยรวมแล้วความยั่งยืนด้านสภาพแวดล้อมของดาต้าเซ็นเตอร์กำลังก้าวสู่ขั้นตอนของการเป็นศูนย์หน้า  แทนที่จะกระตุ้นการแข่งขันในเรื่องของประสิทธิภาพ ตัวชี้วัดแบบใหม่ควรจะกระตุ้นการแข่งขันสู่การปล่อยของเสียเป็นศูนย์ ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ และปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (zero waste, zero carbon, zero emissions)

การถือกำเนิดของกรอบการทำงานและตัวชี้วัดความยั่งยืนแบบใหม่

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน เรามีตัวชี้วัดความยั่งยืนอยู่แล้วมากมาย แต่ปัจจุบันยังไม่มีการลงความเห็นร่วมกันว่าตัวชี้วัดตัวไหนที่ได้ผลที่สุด และจะจัดการให้อยู่ในรูปของ scorecard ที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายได้อย่างไร  ในการผลักดันเพื่อให้เกิดความเห็นร่วมกัน ผมได้คุยกับคุณแนนซี่ โนวัค ซีไอโอ ของ Compass Data Centers ในงานประชุมสัมมนา 7×24 Exchange ในเซสชั่นของเราคือหัวข้อ “Achieving Sustainable Data Centers by 2030” ที่เราจะหาแนวทางเพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมเดินหน้าไปสู่การกำหนดนิยามของมาตรฐาน“ความยั่งยืนในการดำเนินงานด้านดาต้าเซ็นเตอร์ของเราเป็นหัวข้อที่ผู้บริหารใส่ใจ เส้นทางในการก้าวสู่ความยั่งยืนมากขึ้นได้รับอิทธิพลจากความเชื่อมั่นอันแรงกล้าของเรา รวมถึงการขับเคลื่อนที่มาจากลูกค้าและนักลงทุน ความก้าวหน้าขึ้นอยู่กับความสามารถในการวัดและนำความยั่งยืนมาใช้ในหลายระดับ ไม่ใช่แค่เรื่องประสิทธิภาพด้านพลังงานเพียงอย่างเดียว” แนนซี่ กล่าวทั้งแนนซี่และผมมีความเชื่อเหมือนกันว่าการกำหนดนิยามของมาตรฐานคือสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้า ขั้นตอนถัดไปที่เป็นเรื่องของเหตุและผลก็คือ การพัฒนากรอบการทำงานด้านความยั่งยืนตามนิยามที่ชัดเจนในแง่ของการชี้วัดที่ช่วยให้อุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ สามารถสร้างมาตรฐาน นำมาใช้ รวมถึงวัดผลจากความพยายามในการสร้างความยั่งยืนได้

จากการสนทนากับผู้นำอุตสาหกรรมเมื่อไม่นานมานี้ โดยเฉพาะในตลาดไฮเปอร์สเกลและโคโลเคชั่น ช่วยจุดประกายให้ทีมงานชไนเดอร์ สร้างมาตรฐานดังกล่าวขึ้น การทำงานเรื่องนี้มีระบุไว้ในเอกสาร whitepaper “Guide to Environmental Sustainability Metrics for Data Centers” ที่กำหนดชุดตัวชี้วัด 23 รายการ โดยแบ่งทั้ง 23 รายการออกเป็น 5 ประเภท  ครอบคลุมตั้งแต่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมในภาพรวมทั้งหมด และมีการแบ่งความสำเร็จออกเป็น 3 ระดับด้วยกัน คือ ระดับเริ่มต้น ระดับก้าวหน้า และระดับที่นำหน้าไปแล้ว

มุ่งหน้าสู่กรอบการทำงานที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ตัวชี้วัดทั้ง 23 รายการจะประกอบด้วยพื้นฐาน เช่น การใช้พลังงานทั้งหมดและค่า PUE โดยมีการวัดที่ละเอียดซับซ้อนมากขึ้น เช่นการจับคู่ซัพพลายกับการใช้พลังงานในแต่ละชั่วโมง และค่าเฉลี่ยความอุดมสมบูรณ์ของความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ทำไมต้องวัดครอบคลุมเป็นวงกว้างขนาดนั้น? เนื่องจากไม่มีตัวชี้วัดตัวใดที่สามารถให้ภาพสมบรูณ์ได้ ยกตัวอย่าง เช่น ค่า PUE นั้นไม่รวมตัวแปรเช่นสภาพอากาศในภูมิภาค คุณสามารถใช้โหมด economizer ในรัฐมิชิแกนมากกว่าในฟลอริดา ซึ่งความแตกต่างนี้มีนัยสำคัญ และใน scorecard นี้ก็จะหาทางชั่งน้ำหนักระหว่างตัวแปรดังกล่าวได้อย่างเหมาะสมตัวชี้วัด 23 รายการนี้เมื่อนำมาประกอบกัน ก็จะให้มาตรฐานครั้งแรกของอุตสาหกรรมในการประเมินว่าดาต้าเซ็นเตอร์นั้นยั่งยืนจริงหรือไม่ และนี่คือขั้นตอนที่สำคัญแน่นอนว่า สำหรับมาตรฐานการทำงานร่วมกัน ต้องมีการวัดโดยใช้ตัวชี้วัดเหล่านี้ทั้ง 23 รายการ พร้อมทั้งรายงานอย่างต่อเนื่อง นั่นคืออุปสรรคอีกประการที่อุตสาหกรรมต้องทำให้เกิดความชัดเจน โชคดีที่ความเป็นไปได้ไม่ใช่ประเด็น เพราะมีเทคโนโลยีที่สามารถวัดเรื่องเหล่านี้ทั้งหมดได้อยู่แล้ว แต่ความท้าทายอยู่ที่การรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเพื่อใช้ในการประเมินความยั่งยืนได้อย่างมีความหมาย และนั่นคือสาเหตุที่เราได้ออก white paper ฉบับใหม่ขึ้นมาคือ “Environmental Sustainability Management (ESM) Software for Colocation Data Centers.” เพื่อให้แนวทางในการวัดผลเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจน

ไม่มีตัวชี้วัด ก็ไม่มีการวัด และไม่มีการปรับปรุง

ประเด็นสำคัญก็คือ การวัดผลจะมาพร้อมกับการปรับปรุงที่ดีขึ้น โดยไม่ต้องรอให้วัดผลข้อมูลด้วยตัวชี้วัดก่อน แล้วค่อยหาทางปรับปรุง เพราะในความเป็นจริง การปรับปรุงเป็นเรื่องง่ายเนื่องจากเครื่องมือวิเคราะห์บนคลาวด์นั้นปัจจุบันสามารถทำให้กระบวนการในการค้นพบดำเนินไปแบบอัตโนมัติท้ายที่สุด เรื่องของค่า PUE จะบอกเราได้ก็ต่อเมื่อคุณกำหนดเป้าหมายที่อิงตามตัวชี้วัดได้อย่างชัดเจน และทันทีที่เริ่มวัดความคืบหน้าตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ผลลัพธ์ก็จะตามมาเมื่อความยั่งยืนคือความเร่งด่วนตลอดกาล แนวทางที่ใช้มาตรฐานจะช่วยให้เราเชื่อมโยงเป้าหมายอันสูงส่งเข้ากับการดำเนินงานที่ชัดเจน ซึ่งต้องทำไปพร้อมกัน   Tags: colocationdata centerSustainability