พีแอนด์จี เฮลท์ เดินหน้าช่วยเหลือผู้คนด้วยแคมเปญ “Put Life Back in Their Hands” เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเปิดตัวแคมเปญในวันเบาหวานโลกใน  18 ประเทศทั่วโลก เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาการปลายประสาทอักเสบในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และความสำคัญของการระบุอาการตั้งแต่เนิ่น ๆ และการรักษาอย่างทันท่วงที พีแอนด์จี เฮลท์ (P&G Health) ได้ประกาศแคมเปญ “Put Life Back in Your Hands” ใน 18 ประเทศทั่วเอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ก่อนถึงวันเบาหวานโลกประจำปี 2565 เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความเกี่ยวข้องกันระหว่างอาการปลายประสาทอักเสบ (Peripheral Neuropathy หรือ PN) กับโรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus หรือ DM) และความสำคัญของการระบุอาการตั้งแต่เนิ่น ๆ และการรักษาอย่างทันท่วงที

เนื่องจากโรคเบาหวาน (DM) เป็นสาเหตุสำคัญ[2] ที่ทำให้เกิดอาการปลายประสาทอักเสบ การเพิ่มขึ้นของความชุกของอาการปลายประสาทอักเสบมีความสัมพันธ์มากกับจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เพิ่มขึ้น โดยอาการปลายประสาทอักเสบรวมถึงโรคเส้นประสาทจากเบาหวาน (Diabetic Peripheral Neuropathy หรือ DPN) เป็นผลมาจากความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อระบบประสาทซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้คน เนื่องจากพวกเขาไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวกสบาย อาการปลายประสาทอักเสบประกอบด้วย อาการชา อาการคล้ายเข็มทิ่ม อาการเจ็บยิบ ๆ และความรู้สึกแสบตามมือและเท้า นอกจากโรคเบาหวานจะเป็นสาเหตุให้เกิดอาการดังกล่าวแล้ว การขาดวิตามินบีและความชราก็เป็นปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายต่อระบบประสาทด้วยเช่นเดียวกัน

สรุปข้อมูลน่าสนใจ :

  • ในปี 2564 มีผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 393 ล้านราย[3] ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง และแอฟริกา และคาดว่าจำนวนผู้ป่วยจะพุ่งแตะหลัก 603 ล้านรายในปี 2588[3]
  • ราว 50%[1] ของผู้ป่วยโรคเบาหวานระบุว่า พวกเขาต้องทนทุกข์ทรมานจากอาการปลายประสาทอักเสบ ซึ่งจำนวนผู้ป่วยด้วยอาการนี้ในภูมิภาคข้างต้นมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ
  • แพทย์ไม่ถึง 1 ใน 3 รับรู้ได้ถึงสัญญาณของโรคเส้นประสาทจากเบาหวาน ซึ่งเคสที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยมีส่วนอย่างมากต่ออัตราการป่วยและการเสียชีวิตของโรคเบาหวานในระดับสูง[3] นอกจากนี้ ผู้ป่วยจำนวนมากถึง 50% ไม่มีอาการ ดังนั้นจึงมักไม่ได้รับการวินิจฉัยและเสี่ยงต่อการบาดเจ็บโดยที่ไม่รู้ตัว[4]
  • หากไม่ได้รับการวินิจฉัยหรือและรักษาแต่เนิ่น ๆ โรคเส้นประสาทจากเบาหวานอาจลุกลามจนกลายเป็นความเจ็บปวดทางระบบประสาทที่ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อคุณภาพชีวิต
  • เพื่อลดความเสี่ยงของโรคเส้นประสาทจากเบาหวาน การตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ การตรวจหาตั้งแต่เนิ่น ๆ และการให้ความรู้แก่ผู้ป่วย มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผลลัพธ์เชิงบวกในการรักษา

1 ใน 2 ของผู้ป่วยเบาหวานต้องทนทุกข์ทรมานจากอาการปลายประสาทอักเสบ[1] ตลอดช่วงชีวิต

คุณอาโลก อัครวาล (Aalok Agrawal) รองประธานอาวุโสของพีแอนด์จี เฮลท์ ประจำภูมิภาคเอเชีย อินเดีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา กล่าวว่า ในฐานะพันธมิตรของสหพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation หรือ IDF) พีแอนด์จี เฮลท์ มุ่งมั่นที่จะเดินหน้าสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงอาการปลายประสาทอักเสบและระบบประสาทเสียหาย แคมเปญ “Put Life Back in Your Hands” ของเราเป็นความพยายามในการสร้างความตระหนักรู้โดยรวมใน 18 ประเทศร่วมกับบรรดาผู้บริโภค บุคลากรทางการแพทย์ เภสัชกร องค์กรทางการแพทย์และพันธมิตรต่าง ๆ เพื่อเน้นย้ำให้เห็นถึงความยากลำบากที่ผู้ป่วยอาการปลายประสาทอักเสบต้องเผชิญในแต่ละวัน รวมถึงความสำคัญของการวินิจฉัยและการรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”

” เมื่ออาการต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวานและอาการปลายประสาทอักเสบไม่ได้รับการวินิจฉัยเพียงพอและไม่ได้รับการรักษาในภูมิภาคของเรา แพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น วันเบาหวานโลก ยังเปิดโอกาสให้แก่ความพยายามร่วมกันในการสร้างความตระหนักรู้และการให้ความรู้ เพื่อนำมาซึ่งผลลัพธ์การรักษาที่ดีขึ้น โดยหนึ่งในความพยายามดังกล่าวคือการจัดฟอรัม “เอาชนะปลายประสาทอักเสบในผู้ป่วยโรคเบาหวาน” (Winning the Fight Against Neuropathy in Diabetic Patients) ของพีแอนด์จี เฮลท์ ซึ่งจะรวบรวมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์จากหลากหลายสาขาที่มีชื่อเสียงระดับโลก พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพและเภสัชกรจากทั่วเอเชียแปซิฟิกและตะวันออกกลาง มาแบ่งปันคำแนะนำทางคลินิกล่าสุดเกี่ยวกับการวินิจฉัยและการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการเส้นประสาทเสียหายจากโรคเบาหวาน” เขากล่าวเสริม

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับฟอรัม  ” เอาชนะปลายประสาทอักเสบในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ” โปรดติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ของเรา หรือคลิกที่นี่ เพื่อลงทะเบียนการสัมมนาผ่านเว็บไซต์ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ: WDDglobalwebinar

[1]  Kumar S, et al. Laser Therapy 2016;25: 141–144

[2]  Landmann G. Ars Medici. 2013;1: 18-21

[3]  International Diabetes Federation. IDF Diabetes Atlas. 10th edition; 2021.

[4]  Miranda-Massari JR, et al. Curr Clin Pharmacol. 2011;6: 260–273.