นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ร่วมแบ่งปันมุมมองเทรนด์และอนาคตอุตสาหกรรมอาหาร บนเวทีเสวนาเรื่อง “The Dynamic Growth in the Global Food Tech Industry” ในงาน Thailand Focus 2022 จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ชู “เทคโนโลยี” เป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยพลิกโฉมอุตสาหกรรมอาหารของไทยมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น ตอบรับการเปลี่ยนแปลงและเทรนด์โลกได้
นายประสิทธิ์ กล่าวว่า เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันและความสำเร็จของธุรกิจอาหาร บริษัทฯ จึงมุ่งเน้น ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ระบบดิจิทัล IoT การทำงานอัตโนมัติเต็มรูปแบบ เช่น Smart Farm 4.0 ช่วยให้การทำฟาร์มมีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น เช่น การใช้ smart silo ที่ช่วยตรวจจับปริมาณอาหารสัตว์ในไซโลและสั่งอาหารมาใส่เพิ่มได้โดยอัตโนมัติ การนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ปรับปรุงพันธุ์สัตว์ให้ดีขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการผลิต สัตว์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีสุขภาพดีขึ้น ช่วยลดจำนวนคนงานที่ทำงานในฟาร์ม ซึ่งจะนำไปสู่ความมั่นคงทางอาหารได้
CPF ยก “เทคโนโลยี” หัวใจสำคัญพลิกโฉมอุตฯ อาหารไทย ตอบรับ 5 เมกะเทรนด์โลก  นายประสิทธิ์ ยังกล่าวว่า ธุรกิจจะเติบโตและประสบความสำเร็จหากสามารถปรับตัวตอบรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของอุตสาหกรรมและผู้บริโภคได้อย่างทันสถานการณ์  ทั้งนี้ แนวโน้มของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปหลังการระบาดโควิด-19  มองว่า 5 เทรนด์ของผู้บริโภคที่สำคัญ ที่ช่วยสร้างโอกาสเติบโตให้กับอุตสาหกรรมอาหารของไทยในอนาคต ได้แก่
1.Health and Wellbeing: ผู้บริโภคหันมาใส่ใจกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ และมีคุณค่าโภชนาการมากขึ้น อาหารเป็นยา  อาหารที่ช่วยให้ผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดีขึ้น
2.Convenient and Fresh: จากการระบาดของโควิด-19 ผู้บริโภคสนใจความสะดวกและความสดใหม่ของอาหาร และ ต้องหาซื้อได้ง่ายและสะดวก  ยา
3.Product and Channel Innovation: ผู้บริโภครุ่นใหม่ให้ความสนใจการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเทคโนโลยีที่ทันสมัยช่วยให้บริษัทสามารถพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็วทันต่อการเปลี่ยนแปลงอีกด้วย
4.Premium and Value for Money: ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์อาหารคุณภาพสูง มีความเป็นพรีเมียม และมีความคุ้มค่าต่อเงินที่จ่ายไป
5.Environmental sustainability: นอกจากคุณภาพและความปลอดภัย ผู้บริโภคยังเน้นถึงอาหารที่มาจากกระบวนการผลิตที่ดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคม
CPF ตระหนักและให้ความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมอาหารต่างๆ ต่อเนื่องเพื่อตอบรับการเปลี่ยนแปลงและเทรนด์ผู้บริโภคมาอย่างต่อเนื่อง เริ่มจาก ไก่เบญจา “Benja Chicken” ที่เป็นครั้งแรกไก่เลี้ยงด้วยข้าวกล้อง ซึ่งเป็น Superfood  100% เป็นธรรมชาติ ปราศฮอร์โมนเร่งโต ได้รับรองจาก NFS ว่าปลอดยาปฏิชีวนะ  ล่าสุด ไก่เบญจา ประสบความสำเร็จเป็นเนื้อไก่สดแบรนด์แรกของไทยสามารถคว้ารางวัล “สุดยอดรสชาติอาหารระดับโลก” ประจำปี 2022” หรือ Superior Taste Award 2022 จากเบลเยี่ยม ได้  นอกจากหมูพันธุ์ ซีพี คูโรบูตะแล้ว CPF ยังพัฒนาผลิตภัณฑ์หมูชีวา (Cheeva Pork) เป็นเนื้อหมูมีปริมาณโอเมก้า-3 สูงกว่าเนื้อหมูทั่วไป ด้วยการเลี้ยงอาหาร Superfood ได้แก่ Flaxseed น้ำมันปลา สาหร่ายทะเลลึก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หมูสดที่สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศสุดยอดนวัตกรรมอาหาร ในงาน ThaiFex-Anuga Asia 2020
ล่าสุด CPF ยังได้พัฒนานวัตกรรม เนื้อจากพืช ภายใต้แบรนด์ Meat Zero ตอบรับการเติบโตของกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มมังสวิรัติทั่วโลก ได้พัฒนาและวิจัยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญระดับโลกเป็น PLANT-TEC เทคนิคช่วยให้ผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืชมีเนื้อสัมผัส และรสสัมผัสเหมือนเนื้อสัตว์จริง   โดยนักเก็ตและไส้เบอร์เกอร์รสกระเทียม Meat Zero สามารถคว้ารางวัล “สุดยอดรสชาติอาหารระดับโลก ประจำปี 2022” หรือ Superior Taste Award 2022 ที่เบลเยี่ยม และในปีเดียวกัน ยังรับรางวัล “THAIFEX-ANUGA Taste Innovation Show 2022” ในงาน Thaifex-Anuga Asia 2022 อีกด้วย ปัจจุบัน CPF ส่งออก Meat Zero ไปยังสิงคโปร์ ฮ่องกง
CPF ยก “เทคโนโลยี” หัวใจสำคัญพลิกโฉมอุตฯ อาหารไทย ตอบรับ 5 เมกะเทรนด์โลก  
นายประสิทธิ์ เสริมว่า นอกจากผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืชแล้ว CPF ยังให้ความสนใจโปรตีนทางเลือกจากการเพาะเลี้ยงเซลล์เนื้อเยื่อ (Cell-based meat) มองว่าเป็นนวัตกรรมที่จะมาพลิกโฉมอุตสาหกรรมอาหารโลก CPF มองเห็นโอกาสและจัดตั้งทีมงานศึกษาเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด พร้อมกับร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำจากสหรัฐอเมริกา และอิสราเอล นำไปสู่การพัฒนาสินค้าและตลาดในอนาคต ประเทศไทยมีภาพลักษณ์ที่ดี  เป็นแหล่งผลิตอาหารที่ดีมากของโลก รวมไปถึงอยู่ในโลเคชันที่ดีในการดำเนินการด้านโลจิสติกส์ โดย CPF ได้ใช้ประเทศไทยเป็นฐานเพื่อวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ผลิตเพื่อส่งออก ประเทศไทยมีศักยภาพสูงด้านเกษตรกรรม หากประเทศไทยสามารถพัฒนาวัตถุดิบการผลิตอาหารได้อย่างเพียงพอ จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ และนำไปสู่การสร้างมั่นคงด้านอาหารให้กับผู้บริโภคชาวไทย และทั่วโลกได้