นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม  (ปตท.สผ.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและประชุมติดตามการดำเนินงานของ กฟผ. แม่เมาะ โดยมี นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และผู้บริหาร กฟผ. ให้การต้อนรับพร้อมนำเสนอความก้าวหน้ าการดำเนินงาน อาทิ ศักยภาพและความเป็นไปได้ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และกักเก็บไว้ในชั้นหินระดับลึกใต้เหมืองแม่เมาะ การนำเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่งมาเผาไหม้ร่วมกับถ่านหิน (Biomass Co-Firing) และความก้าวหน้าการนำโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 4 กลับมาเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเพื่อช่วยวิกฤติพลังงาน เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง

รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน เร่ง ชธ. กฟผ. ปตท.สผ. ศึกษาศักยภาพ CCS ในพื้นที่เหมืองแม่เมาะ เดินหน้านโยบายมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 อย่างเป็นรูปธรรมนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กฟผ.แม่เมาะ มีศักยภาพในการพัฒนาไปสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมด้านพลังงานสะอาด รวมทั้งยังมีศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอน ไดออกไซด์ (Carbon Capture Storage : CCS) ซึ่งมอบหมายให้สามหน่วยงานคือ   กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ชธ.) ปตท.สผ. และ กฟผ. เร่งดำเนินการศึกษาเบื้องต้นให้แล้วเสร็จ ภายในเดือนมกราคม ปี 2566 หากสามารถพัฒนาไปสู่การกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ก็จะช่วยสนับสนุนให้ประเทศไทยมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน    “อยากให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลที่มีแลกเปลี่ยนกันให้ได้มากที่สุด หากสามารถทำได้จริงด้วยราคาที่เหมาะสม ก็จะเป็นโอกาสให้การผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะดำเนินต่อไปได้สอดคล้องกับทิศทางและนโยบายหลักของประเทศ” นายสุพัฒนพงษ์ กล่าว

นอกจากนี้ ยังให้สามหน่วยงานร่วมกันเตรียมศึกษาโครงการ CCS ที่โรงไฟฟ้าน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เพิ่มเติม ซึ่งคาดว่าจะได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ในอนาคตสำหรับความก้าวหน้าการนำโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 4 กลับมาเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเพื่อช่วยวิกฤติพลังงาน คาดว่าจะสามารถเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ได้ประมาณวันที่ 1 ธันวาคม 2565 ซึ่งจะช่วยให้ประเทศลดการนำเข้าเชื้อเพลิงที่มีราคาแพงจากต่างประเทศลงได้   นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินการโครงการ Biomass Co-Firing ซึ่งเป็นการนำวัสดุเหลือใช้ ทางการเกษตร เช่น เปลือก ซัง ต้น ตอ ใบข้าวโพด นำมาผ่านกระบวนการบดและอัดเป็นแท่ง ใช้เป็นเชื้อเพลิง เผาไหม้ร่วมกับถ่านหินที่โรงไฟฟ้า    แม่เมาะเครื่องที่ 12 และ 13 ถือเป็นโรงไฟฟ้าแห่งแรกของประเทศไทยที่ใช้ระบบการเผาไหม้ถ่านหินร่วมกับชีวมวลทางการเกษตร ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน และยังช่วยลดการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ส่งผลให้ปัญหาหมอกควัน ฝุ่น PM 2.5 และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง และยังเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนโดยรอบ กฟผ.  แม่เมาะ จากการขายวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอีกด้วย