ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี จระเข้ไม่เคยหยุดพัฒนาเพื่องานก่อสร้าง ทุ่มงบ 25 ล้านบาท สร้างห้องวิจัยมาตรฐานระดับสากล ชี้โควิด-19 เปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค เข้าสู่วิถี New Normal New Lifestyle ปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัยด้วยตัวเองแทนการใช้ช่าง

นายธิติ ศรีรัตนา ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมและเทคโนโลยี บริษัท จระเข้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้นำ ในการผลิตและจำหน่ายสินค้านวัตกรรม เพื่องานก่อสร้าง ซ่อมแซม และตกแต่ง กล่าวว่า ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯให้ความสำคัญกับการพัฒนาและวิจัยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเคมีภัณฑ์ก่อสร้าง (Construction Chemical) เช่น วัสดุกันซึม สี น้ำยาต่างๆ ซึ่งเป็นสินค้าที่จระเข้ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคมายาวนาน ปัจจุบันเทรนด์ของการดูแลสุขภาพ ควบคู่ไปกับการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ทุกคนให้ความสนใจ บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้สอดคล้องกับเรื่องดังกล่าว จนได้รับมาตรฐาน Leadership in Energy and Environmental Design (LEED) เกณฑ์สำหรับการประเมินอาคารเขียว จากองค์กร U.S. Green Building Council (USGBC) และมาตรฐาน WELL Being Standard (WELL) จากสถาบัน International Well Building Institute (IWBI) ซึ่งจะให้ความสำคัญกับเรื่องของคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยภายในอาคาร

บริษัท จระเข้ คอร์ปอเรชั่น จำกัดรวมถึงผลงานวิจัยที่ยาวนานกว่า 10 ปี ทำให้ผลิตภัณฑ์กลุ่มเคมีภัณฑ์ก่อสร้างของจระเข้ เป็นรายแรกและรายเดียวในประเทศ ที่นำเทคโนโลยีต้านจุลชีพของ Microban® มาใช้ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีจากอเมริกาที่ 250 แบรนด์ดังทั่วโลกไว้วางใจ โดยจระเข้ได้นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาวิจัยและพัฒนา ใช้กับผลิตภัณฑ์ของจระเข้ เช่น กลุ่มกาวยาแนว วัสดุตกแต่งคิ้วและจมูกบันได และผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสี เป็นต้น เพื่อยับยั้งราดำ ตะไคร่น้ำ ทำให้สินค้าของจระเข้มีความแตกต่างจากคู่แข่ง

ด้าน นายบัณฑิต ธุวดารากุล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยพัฒนาและควบคุมคุณภาพ บริษัท จระเข้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์จะมุ่งเน้นสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของผู้ใช้งาน ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดของจระเข้จะผ่านการคิดค้นและพัฒนาจากห้องวิจัยของบริษัทฯ ใช้งบประมาณในการลงทุนก่อสร้างและจัดซื้ออุปกรณ์กว่า 25 ล้านบาท โดยในห้องวิจัยแห่งนี้มีความพิเศษ คือ เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง มีความทันสมัย สามารถทดสอบผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย ประกอบด้วย เครื่องทดสอบ Universal Setting สามารถทดสอบได้ทั้งแรงอัด แรงดึง แรงกด เครื่อง QUV Accelerated Weathering Tester เป็นเครื่องเร่งปฏิกิริยาในการทดสอบ เพื่อทดสอบสินค้าที่บริษัทฯ ผลิต เมื่อผ่านกาลเวลาสินค้าจะมีลักษณะหรือคงคุณภาพอย่างไร

เครื่อง Automatic Tensile Strength ใช้ทดสอบแรงดึง สำหรับกาวซีเมนต์ เครื่อง Water Infertility ทดสอบสินค้ากันซึม โดยนำผลิตภัณฑ์กันซึมทาลงบนก้อนปูน และอัดน้ำเข้าไป เพื่อทดสอบน้ำว่ารับแรงอัดได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งกันซึมที่ดีน้ำจะต้องไม่ผ่านไปที่ด้านหลังของวัสดุ และเครื่อง Ultrasonic Tester ทดสอบสถานะของปูน เป็นอุปกรณ์ทดสอบการคงตัวของปูน และความแข็งแรง ซึ่งบริษัทฯ เป็นเอกชนรายเดียวที่มีอุปกรณ์นี้

ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยพัฒนาและควบคุมคุณภาพ กล่าวต่อว่า ห้องวิจัยแห่งนี้เป็นเอกชนรายแรกของประเทศไทยที่ได้รับใบรับรองห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025:2005 สาขาโยธา ใช้ทำการทดสอบกาวซีเมนต์ สามารถใช้อ้างอิงระหว่างประเทศได้ ซึ่งแต่เดิมบริษัทฯ ต้องส่งผลิตภัณฑ์ไปทดสอบที่ประเทศสิงค์โปร์ สหรัฐอเมริกา แต่พบปัญหาความล่าช้าในการส่งสินค้าหรือหาแล็ปทดสอบยาก จึงพัฒนาห้องวิจัยที่ทันสมัยและได้มาตรฐานขึ้นเองเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ผลงานที่ออกมาจากแลปนี้มากมาย เช่น จระเข้ เฟล็กซ์ชิลด์, จระเข้ ฟลอร์สมูท แพทช์, กลุ่มน้ำยาเคลือบผิว และเคมีภัณฑ์ก่อสร้างอื่นๆ เป็นต้น โดยในอนาคตจะทำการทดสอบสินค้าอื่นๆ และจะเปิดทดสอบให้กับหน่วยงานภายนอกอีกด้วย