หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ หรือ (นสร.กร.) เป็นหน่วยขึ้นตรงของกองเรือยุทธการ มีภารกิจในการจัดเตรียมกำลังสำหรับปฏิบัติการสงครามพิเศษทางเรือ ทั้งด้านการฝึกศึกษาเกี่ยวกับการสงครามพิเศษทางเรือ การต่อต้านการก่อการร้ายสากล การปฏิบัติการจิตวิทยา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรือ การปฏิบัติการค้นหาและถอดทำลายวัตถุระเบิด การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล การฝึกกำลังพลทดแทนของหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ ปฏิบัติการสงครามนอกแบบ นอกจากนี้ยังได้รับการสนองงาน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) และพื้นที่รับผิดชอบของ (นสร.กร.) ในนามของ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย (พธท.) และการถวายอารักขาและรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญอีกด้วย

โดยมีภารกิจที่สำคัญดังนี้
1.จัดเตรียมกำลังพลสำหรับปฏิบัติการการสงครามพิเศษทางเรือและปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบรวมทั้ง

การฝึกและศึกษาเกี่ยวกับการสงครามพิเศษทางเรือ เป็นหน่วยกำลังรบขึ้นตรงต่อกองเรือยุทธการ

2.กองรบพิเศษ ปฏิบัติการการสงครามพิเศษทางเรือ และปฏิบัติกิจพิเศษอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย

3.โรงเรียนสงครามพิเศษทางเรือ ฝึกและศึกษาอบรมทดสอบ ประเมินผล เกี่ยวกับการสงครามพิเศษทางเรือ และปกครองบังคับบัญชาผู้เข้ารับการฝึกและศึกษาของ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ (นสร.กร.)

4.กองสนับสนุนหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ สนับสนุนการส่งกำลังบำรุง การบริการให้แก่หน่วยในความรับผิดชอบของ (นสร.กร.)

5.สนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรทั้งในทะเลและชายฝั่งทะเลร่วมกับพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย (พธท.)

เพื่อตอบสนองภารกิจที่สำคัญดังกล่าว (นสร.กร.) ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ หรือ สทป. ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศเพื่อการใช้งานในกองทัพ ภาคประชาสังคม และภาคอุตสาหกรรม โดยการนำเทคโนโลยีทางเรือเข้ามาสนับสนุนงานด้านความมั่นคง จึงได้ประสาน สทป. เพื่อขอสนับสนุนต้นแบบเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเล ที่สามารถตอบสนองภารกิจของ นสร.กร. ดังนี้

  • ด้านความมั่นคงทางทหาร ได้แก่ 1.1) สนับสนุนภารกิจหลักสูตรต่าง ๆ ของ นสร. เช่น นักทำลายใต้น้ำ

จู่โจม, ปฏิบัติงานใต้น้ำ และลาดตระเวน 1.2) ขนส่งในพื้นที่ที่เรือใหญ่เข้าไม่ถึง (เข้าเกยหาด)

  • ด้านความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ การเก็บขยะลอยน้ำในพื้นที่โครงการอนุรักษ์

พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) และพื้นที่รับผิดชอบของ (นสร.กร.)

  • ด้านความมั่นคงทางสังคม การมีส่วนร่วมตอบสนองความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อสร้างการ

ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากขยะในทะเลให้แก่ประชาชนร่วมกันแก้ไขปัญหาขยะ ให้หมดไป

พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการสนับสนุนภารกิจของกองทัพเรือ (นสร. กร.) เพื่อสนับสนุนภารกิจด้านความมั่นคงของประเทศ ในฐานะหน่วยงานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีที่มีความพร้อมด้านองค์ความรู้และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญที่สามารถดำเนินโครงการฯ ร่วมกับ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ หรือ (นสร.กร.) ให้เกิดผลสำเร็จได้

สทป. ได้เสนอโครงการจัดสร้างต้นแบบอุตสาหกรรมเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเลต่อคณะกรรมการ สทป. เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2562 โดยคณะกรรมการฯ ได้มีมติเห็นชอบและพิจารณาอนุมัติให้ สทป.วิจัยและพัฒนาสร้างต้นแบบอุตสาหกรรมเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเล ร่วมกับ (นสร.กร.) และบริษัทเอกชนที่มีศักยภาพภายในประเทศ และได้กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการโครงการฯ 1-2 ปี จนแล้วเสร็จ ประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินโครงการฯ ในครั้งนี้ ได้แก่ 1.) สทป. ได้นําแนวคิดในเรื่องแผนพัฒนาทางลัดมาดําเนินการให้เป็นรูปธรรม 2.) เพิ่มขีดความสามารถในงานวิจัยต่อยอดองค์ความรู้สําหรับแพลตฟอรมทางน้ำของ สทป. 3.) การพัฒนาตอยอดการจัดสร้างต้นแบบอุตสาหกรรมเรืออเนกประสงค์ทางทะเล 4.) ส่งเสริมอุตสาหกรรมการต่อเรือของไทย 5.) ตอบสนองความรับผิดชอบต่อสังคม 6.) การร่วมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ดําริโครงการเพื่อให้สาธารณชนเรียนรู้และตระหนักถึงความสําคัญของพันธุกรรมพืช และ สทป. เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยอนุรักษณ์พันธุ์พืช เพื่อสร้างการตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากขยะในทะเลให้แก่ประชาชนร่วมกันแก้ไขปัญหาขยะให้หมดไป

นอกจากนี้โครงการจัดสร้างต้นแบบอุตสาหกรรมเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเลยังถือเป็นโครงการแรกของ สทป. ตั้งแต่ก่อตั้งสถาบันฯ มา ที่จะได้มีโอกาสนำผลงานวิจัยพัฒนาต้นแบบสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ หรือ (นสร.กร.) ซึ่งถือเป็นมหามงคลอย่างยิ่งต่อ สทป. เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการพึ่งพาตนเองสามารถสนับสนุนกระทรวงกลาโหม ในการดำเนินกิจการด้านการวิจัยพัฒนา และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเพื่อความมั่นคง รวมถึงต่อยอดผลการวิจัยและพัฒนาไปจนถึงขั้นการผลิต และจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ สทป. มาตรา 22 (1) (2) ว่าด้วยการศึกษาค้นคว้า วิจัย และพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีป้องกันประเทศและดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ส่งเสริมและสนับสนุนกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหม หน่วยงานอื่นของรัฐ และภาคเอกชน , มาตรา 23 (6) ทำความตกลงและร่วมมือกับองค์การหรือหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศในกิจการที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสถาบันที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ. เทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ. 2562

นอกจากนั้นการดำเนินโครงการฯ ยังก่อให้เกิดความคุ้มค่าด้านต่าง ๆ ดังนี้

1.ความคุ้มค่าด้านเศรษฐกิจ

– ลดการนำเข้า และ/หรือการใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศที่มีต้นทุนสูง

– เพิ่มมูลค่าของผลงานวิจัยและพัฒนาทางด้านความมั่นคงในอนาคต

2.ความคุ้มค่าด้านความมั่นคง

– ตอบสนองยุทธศาสตร์ของ กห. และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

– สามารถตอบสนองต่อความต้องการของหน่วยผู้ใช้งานได้อย่างเป็นรูปธรรม

3.ความคุ้มค่าด้านการเมือง

– ก่อให้เกิดพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ รวมถึงการบูรณาการ/พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือตามแผนยุทธศาสตร์ของ สทป.

– ตอบสนองตามนโยบายของรัฐบาลในการผลักดันให้เกิดการพึ่งตนเองในด้านการวิจัยและพัฒนา

4.ความคุ้มค่าด้านเทคโนโลยี

– มีความคุ้มค่าในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ในโครงการร่วมวิจัยของหน่วยงานรัฐ

– เปิดโอกาสให้บุคลากรของหน่วยงานรัฐในการร่วมวิจัยและพัฒนา

ทั้งนี้เมื่อ สทป. สามารถสร้างต้นแบบเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเล สำเร็จเป็นรูปธรรมและส่งมอบให้ (นสร.กร.) เพื่อใช้งานสำเร็จเรียบร้อยแล้ว สทป.มีแผนที่จะนำองค์ความรู้ในการสร้างต้นแบบเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเล ดังกล่าวต่อยอดองค์ความรู้สู่การผลิตในเชิงอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีสูงขึ้นต่อไปในอนาคต