วันนี้(21 สิงหาคม 2562) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ได้จัดกิจกรรมร่วมกับเครือข่ายชุมชนริมคลองลาดพร้าว ณ ชุมชนศาลเจ้าพ่อสมบุญ 54 เขตสายไหม เพื่อแสดงให้เห็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนให้มีความยั่งยืนในทุก ๆ ด้าน หลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยตามนโยบายของรัฐบาลและดำเนินการปลูกสร้างบ้านประชารัฐริมคลองแล้วเสร็จ โดยในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ มีการออกบูธร้านค้า เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์สินค้าจากชาวบ้านชุมชนริมคลองลาดพร้าว
ที่ได้รับรางวัลจากจากโครงการยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP ชุมชนริมคลองลาดพร้าว เช่น ผลิตภัณฑ์ข้าวต้มมัดสร้างสรรค์ กะหรี่พัฟแปรรูป พวงมาลัยประดิษฐ์ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมอาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นการสร้างรายได้ให้กับชาวชุมชนริมคลอง อีกทั้งมีการนำเสนอแปลงปลูกผักปลอดสารพิษของชุมชน


เพื่อคนริมคลองที่สมาชิกชุมชนศาลเจ้าพ่อสมบุญ 54 ร่วมกันทำให้เป็นโมเดลของการปลูกผักคนเมืองปลอดสารพิษ และอีกหนึ่งกิจกรรมในวันนี้ได้มีการมอบรางวัลให้แก่กลุ่มนักเรียน นักศึกษาที่เข้าร่วมการประกวดคลิปวิดีโอสั้น ในหัวข้อ “คุณภาพชีวิตยั่งยืนเริ่มต้นจากการพัฒนาที่อยู่อาศัย” การประกวดคลิปวิดีโอสั้นดังกล่าว
มีเจตนาที่จะให้โมเดลการพัฒนาชุมชนริมคลองลาดพร้าว เป็นองค์ความรู้หนึ่งในการศึกษาการจัดการชุมชน
ที่สามารถนำไปใช้ได้ทั้งการเป็นตัวอย่าง และปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของการพัฒนาชุมชนประเภทอื่น ๆ

นายสมพร ใช้บางยาง ประธานโครงการชุมชนริมคลองน่ามองน่าอยู่ กล่าวว่า “กิจกรรมการประกวดคลิปวิดีโอนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการชุมชนริมคลองน่ามองน่าอยู่ ซึ่งดำเนินการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนริมคลองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชน
ริมคลองลาดพร้าว โดยมีชุมชนนำร่องในโครงการชุมชนริมคลองน่ามองน่าอยู่ตลอดแนวคลองลาดพร้าวรวม 22 ชุมชน ที่ได้มีการก่อสร้างบ้านแล้วในทุกเขตตั้งแต่เขตสายไหม เขตหลักสี่ เขตบางเขน เขตจตุจักร และ
เขตห้วยขวาง โดยมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพชีวิตในทุกมิติ ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดย
มีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การส่งเสริมประเพณีและวัฒนธรรม การรณรงค์รักษ์น้ำ รักษ์คลอง การพัฒนาอาชีพ ยกระดับสินค้าชุมชนให้เป็นสินค้า
OTOP การจัดการขยะ การสร้างแปลงผักปลอดสารพิษในชุมชน รวมถึง
การพัฒนาด้านภูมิสถาปัตย์โดยใช้หลัก Universal design ซึ่งหลังจากกิจกรรมในวันนี้ จะมีการติดตาม
ความคืบหน้าและจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในชุมชนอื่นๆต่อไปW

นายธนัช นฤพรพงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ พอช. ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันการพัฒนาที่อยู่อาศัยบ้านประชารัฐริมคลองลาดพร้าว สามารถดำเนินการได้แล้ว 35 ชุมชน จากทั้งหมด 50 ชุมชน จำนวน 3,271 ครัวเรือน จากกลุ่มเป้าหมาย 7,069 ครัวเรือน โดย พอช.คาดว่าจะใช้ระยะเวลาดำเนินการอีกประมาณ
2 – 3 ปี โดยเป็นการวางแผนร่วมกันกับกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการก่อสร้างเขื่อนตลอดความยาวของคลองลาดพร้าว โดยเป้าหมายของโครงการไม่ใช่เพียงเรื่องการก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จเพียงอย่างเดียว
แต่มีเจตนารมณ์ที่จะให้ชุมชนที่ดำเนินการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ชุมชนแข้มแข็ง โดยการร่วมมือกันของทั้งภาครัฐเอกชนและประชาสังคม และรูปแบบการดำเนินการนี้ อยู่ระหว่างการนำไปพัฒนาชุมชนริมคลองเปรมประชากรแล้ว มีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 38 ชุมชน ประมาณ 6,500 ครัวเรือน ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเข้าสู่กระบวนการรื้อและก่อสร้างบ้านใหม่ในบางพื้นที่ช่วงปลายปี 2562 นี้

“โครงการนี้เราเรียกว่าโครงการชุมชนริมคลอง น่ามอง น่าอยู่ เป็นความร่วมมือของ 4 ภาคี มี พอช. สสส. ราชภัฏพระนคร และเครือข่ายชุมชนริมคลอง เราเริ่มตินทำจำนวน 20 ชุมชน จาก 50 ชุมชน โดยเลือกมาจากชุมชนที่มีความสำเร็จ มีความคืบหน้าในการก่อสร้างบ้าน หลักของการพัฒนาชุมชน หลักของพอช.เราคิดว่าการสร้างบ้านอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีการพัฒนาทุกมิติ ทั้งคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม พี่น้องที่เริ่มสร้างบ้าน 22 ชุมชน เริ่มที่จะมีความคิด มีแนวคิดที่จะพัฒนาชุมชนให้มีความยั่งยืนในทุกมิติ โครงการนี้ก็เข้ามาสนับสนุน โดยทางสสส.ให้เงินมาในการทำโครงการประมาณ 13 ล้านบาท โครงนี้มีระยะเวลาดำเนินการภายใน 2 ปี โดยชุมชนที่เข้าร่วมต้องมีแผนการทำโครางการที่ชัดเจน ซึ่งประกอบด้วยแผนชุมชน ข้อมูลชุมชน อาชีพของคนในชุมชน เรื่องการดูแลเด็กและเยาวชน เรื่องการออกแบบ Universal Design ต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับช่วงวัยของคนในชุมชน เราเริ่มมาประมาณ 2 ปี โดยนำร่อง 6 ชุมชน ใน 22 ชุม”

สำหรับความรู้สึกของนักศึกษาจากมหาลัยราชภัฏจันทรเกษมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดวิดีโอสั้น ในหัวข้อ “คุณภาพชีวิตยั่งยืนเริ่มต้นจากการพัฒนาที่อยู่อาศัย” ครั้งนี้ พวกเขาบอกว่า

“ประทับใจที่ลงพื้นที่ ชาวบ้านริมคลองรู้จักกันทุกครัวเรือน ขนาดเราเป็คนนนอก เขายังดูแลเราเป็นอย่างดี พอเดินไปรอบชุมชนก็คิดว่าชุมชนนี้น่าอยู่ พอนั่งแล้วมองไปข้างนอกมันสวยมาก มิติทางความคิดที่เราได้ยินเรื่องสลัม ภาพแรกที่คิดก็คือต้องสกปรก มีบ้านไม้รกรุงรัง มีคนสักลายน่ากลัวๆ มีทางเดินน้อยๆเป็นแหล่ง ค้ายา แต่พอได้เข้าไปสัมผัสจริงๆคนละอาอรมณ์กันเลย มันเป็นภาพที่สวยมาก มีบ้านอยู่ติดริมคลอง จริงๆพวกผมสนใจเรื่องตลาดน้ำ อยากติดตาม ถ้ามันมีตลาดน้ำย่านรัชดา 36 มันน่าจะดีขึ้น”

สำหรับการประกวดวิดีโอสั้น ในหัวข้อ “คุณภาพชีวิตยั่งยืนเริ่มต้นจากการพัฒนาที่อยู่อาศัย”ในครั้งนี้เป็นโอกาสดีที่จะไดเผยแพร่เรื่องราวชีวิต การต่อสู้ ความร่วมไม้ ร่วมมือของคนริมคลอง ในการลุงขึ้นมาพัฒนาชุมชนของตนเองให้ดีขึ้น อีกทั้งทำให้คนในสังคมได้รับรู้เรื่องราวของชีวิตของคนริมคลอง ทำนักศึกษาได้มีโอกาสลงพื้นที่เรียนรู้ ศึกษา และเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญให้คนในสังคมต่อไป