เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2565  นายณรงค์ศักดิ์  พุทธพรมงคล ประธานกรรมการ หอการค้าไทย-จีน และคณะกรรมการบริหารหอการค้าไทย-จีน ให้การต้อนรับ  นายเกรียงไกร  เธียรนุกุล และคณะผู้บริหารสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พร้อมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสที่ นายเกรียงไกร เธียรนุกุล  ได้รับความไว้วางใจดำรงตำแหน่งประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย วาระปี 2565-2567

นายณรงค์ศักดิ์  พุทธพรมงคล                                                        

                                                                      นายณรงค์ศักดิ์  พุทธพรมงคล ประธานกรรมการ หอการค้าไทย-จีน

นายณรงค์ศักดิ์  กล่าวต้อนรับ และชี้แจงความเป็นมาและบทบาทของหอการค้าไทย-จีน ในการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยและจีน  รวมถึงบทบาทในการช่วยเหลือสังคมและสนับสนุนด้านการศึกษาของประเทศ ในการนี้ นายณรงค์ศักดิ์  ย้ำถึงความสำคัญของเศรษฐกิจจีน ที่มีต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย  เนื่องด้วยจีนเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญอันดับ 1 ของไทย ติดต่อมาเป็นเวลา 9 ปี  และการค้าระหว่างประเทศไทยและจีน ก็มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง  โดยในไตรมาสแรกของปีนี้ (มกราคม-มีนาคม 2565) การค้าระหว่างไทยและจีน ขยายตัวเกือบ 14% / การส่งออกไปจีน ขยายตัว 4.2% เป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง 16 เดือนติดต่อกัน /  ส่วนการนำเข้าขยายตัว 19%   ไทยจึงเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ากับประเทศจีน

นายเกรียงไกร  เธียรนุกุล

                                                        นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ปี 2565-2567

จีน ได้เข้ามายื่นขอส่งเสริมด้านการลงทุนจากบีโอไอสูงเป็นอันดับ 3 ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในไตรมาสแรกชองปีนี้  ( โดยอันดับ 1 คือ ไต้หวัน/ อันดับ 2  คือ ญี่ปุ่น) การลงทุนของจีนในประเทศไทย เพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยเมื่อปี 2562 เป็น ครั้งแรกที่การลงทุนของจีนในประเทศไทย สูงเป็นอันดับ 1  และเมื่อปี 2564 ที่ผ่านมา การลงทุนของจีนในประเทศไทยมีสัดส่วน 17% ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ นายณรงค์ศักดิ์  กล่าวเสริมว่าภารกิจหลักของหอการค้าไทย-จีน เพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย จากผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 และสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน  ได้แก่ การส่งเสริมการส่งออกไปจีน / การส่งเสริมการลงทุนระหว่างไทยและจีน  /  การสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย-จีน  รายไตรมาส /  การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้ประกอบการชาวจีนโลก (หรือ WCEC) สมัยที่ 16 ในปีหน้า (2566) / การเสริมสร้างความพร้อมของผู้ประกอบการรุ่นใหม่/ และ การขยายความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและประเทศจีน

หอการค้าไทย-จีน แสดงความยินดีกับประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คนใหม่พร้อมกระชับความร่วมมือ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย หลังโควิด-19

ในโอกาสนี้  นายเกรียงไกร  กล่าวขอบคุณหอการค้าไทย-จีน ที่ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น และชี้แจงว่าคณะผู้บริหารสภาอุตสาหกรรมฯ ส่วนมากมีบรรพบุรุษมาจากเมืองจีน จึงมีความคุ้นเคยและใกล้ชิดกับหอการค้าไทย-จีน   และ เล็งเห็นถึงความสำคัญของจีนที่มีต่อภูมิภาคอาเซียนสำหรับสาขาที่ทั้งสองประเทศสามารถส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันได้ เช่น  อุตสาหกรรมที่เป็นอนาคต หรือ 12 S-Curve  ที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และ เทคโนโลยี 5-G    และอุตสาหกรรมเกี่ยวกับ BCG  รวมถึงรถไฟฟ้า (EV) เป็นต้น สภาอุตสาหกรรมฯ ยินดีร่วมมือกับหอการค้าไทย-จีน เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ระหว่างไทยและจีน ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น  นายเกรียงไกร  กล่าว