จากสถานการณ์การระบาดของโควิด เกิดความไม่แน่นอนในทั้งในด้านการเรียนการสอน และการประกอบวิชาชีพ ทุกๆอย่างกำลังเปลี่ยนไป คำศัพท์หนึ่งที่พูดถึงในยุค New Normal คือ V.U.C.A. (Volatility) เหวี่ยงๆ ขึ้นๆลงๆ (Uncertainty) ไม่แน่นอน U-Turn ตลอด (Complexity) ซับซ้อน ยุ่งยาก(Ambiguity) อืมมมม….คลุมเครือ ไม่ชัดเจน

ผศ.ดร.ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม (SPU) เปิดเผยว่า Engineering SPU จัดให้มีโครงการ”การประชุมนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2563” ในรูปแบบออนไลน์ Live สดผ่าน Facebook Fanpage: EngineerringSripatum โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้นำความรู้จากห้องเรียนและการเรียนกับตัวจริง ประสบการณ์จริง สู่การประยุกต์ใช้กับการปฎิบัติงานจริงในอนาคต ลักษณะกิจกรรมเป็นการเสวนาร่วมพูดคุย ในหัวข้อเรื่อง “อาชีพวิศวกร ยุคโควิดครองเมือง” ซึ่งแบ่งเป็น 3 ช่วง โดยมี ผศ.ดร.ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ,ผศ.ดร.ชวลิต มณีศรี ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางวิศวกรรม และผศ.ดร.ชิษณุ อัมพรายน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา เป็นพิธีกรดำเนินรายการ (online)

สำหรับช่วงที่ 1 เป็นช่วงอาจารย์รับเชิญ ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ภรชัย จูอนุวัฒนกุล หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ประยุกต์ ,ผศ.ดร.ไพจิตร ผาวัน หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธาและการพัฒนาเมือง และดร.เทพฤทธิ์ ทองชุบ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมระบบเครื่องกลและนวัตกรรมอุตสาหกรรม เป็นการเสวนาพูดคุยเกี่ยวกับการ Update…ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรม และ การเรียนในยุค New Normal“Engineering SPU”

  • ปัจจุบันการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมยังเป็นการสอบวัดผลอยู่ อย่างไรก็ตามในอนาคตอันใกล้นี้ จะไม่มีการสอบแต่เปลี่ยนรูปแบบเป็นอย่างอื่น โดยเน้นความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพบนพื้นฐานขององค์ความรู้ที่จำเป็นของแต่ละสาขา ซึ่งสอดคล้องกับการปรับปรุงหลักสูตรของคณะเช่นกัน
  • การเรียนในยุค New Normal มีการปรับตัวและยืดหยุ่นตามสถานการณ์ ใช้การจัดการการที่มีประสิทธิภาพและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนโดยคงไว้ซึ่งคุณภาพตามหลักวิชาการ เช่น การแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติให้เล็กลง (Small Lot) การฝึกสหกิจศึกษาแบบระบบปิด เป็นต้น

จากนั้นอาจารย์ได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพต่อว่า การประยุกต์ใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพกับการปฏิบัติงานจริง ร่วมกับการใช้งานเทคโนโลยี จากการพูดคุยนี้จึงมีหัวข้อที่อาจจะมีการจัดเสวนาออนไลน์อีกหลายหัวข้อ เช่น BIM (Building Information Modeling) Smart Farm ระบบราง การออกแบบระบบปรับอากาศในสถานการณ์โควิด เป็นต้น โดยรายละเอียดแต่ละสาขาคือ

  • ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าฯ – การประยุกต์ใช้ความรู้ด้านระบบอัตโนมัติในการเกษตร (โครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ หลักสูตรระยะสั้น รุ่นที่ 3) การออกแบบระบบพลังงานทางเลือกโซล่าเซลล์ทั้งในการเรียนการสอนและการบริการวิชาการด้วยโปรแกรม PVSYST และ Designer ของ Solar Edge การออกแบบและใช้งานเครื่องตัดไฟรั่ว (Residual Current Device: RCD) การแก้ปัญหาระบบไฟฟ้าและอนุรักษ์พลังงานในอาคารอุตสาหกรรม รวมถึงการใช้ BIM ในการออกแบบและจัดการงานระบบอาคาร
  • ด้านวิศวกรรมโยธาฯ – แนะนำผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมโยธาทั้งในด้านโครงสร้าง การทดสอบวัสดุ การวางผังเมือง การบริหารจัดการก่อสร้าง เป็นต้น การทำงานด้านโยธายังมีการปฏิบัติหน้างานอยู่เหมือนเดิม แต่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เช่น BIM ในการออกแบบและจัดการงานก่อสร้าง
  • ด้านวิศวกรรมเครื่องกลฯ – ถือเป็นส่วนสำคัญในปัจจุบันที่อยู่ในสถานการณ์โควิด คือ การออกแบบระบบปรับอากาศ ทั้งห้องความดันบวกและห้องความดันลบที่ใช้ในรถพยาบาล ห้องผ่าตัด ห้องทันตกรรม และตู้ตรวจเคลื่อนที่ (Swap Mobile Unit) และมีอีกสาขาหนึ่งที่ใช้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เช่น BIM ในการออกแบบส่วนงานระบบและการขึ้นแบบ 3 มิติ
  • นอกเหนือจากหลักสูตรระดับปริญญาแล้ว หลักสูตรระยะสั้นเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่มีผู้ให้ความสนใจมาก เช่น Smart Farm ระบบราง และยานยนต์สมัยใหม่ การเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ปรับตัวตลอดเวลาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในยุดโควิด

ช่วงที่ 2 ศิษย์ปัจจุบันรับเชิญ 2 ท่าน ซึ่งเป็นเจ้าของรางวัลสหกิจศึกษา ในยุคโควิดครองเมือง นางสาวชนินาถ แสงสิน รหัส 60041994 และนางสาวสกุลทิพย์ ปัณฑิตธาดาพงศ์ รหัส 60029218 ร่วมเสวนาพูดคุยเล่าเรื่องเกี่ยวกับ “รางวัลสหกิจศึกษาระดับประเทศ”

  • เข้าไปทำอะไรและอะไรที่ทำให้ได้รับรางวัล – การปรับปรุงการทำงานเพื่อลดของเสียในสายการผลิต สิ่งที่คิดว่าทำให้ได้รางวัลคือ การประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมา และผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม โดยสามารถลดต้นทุนได้ 400,000 ต่อปี ขณะที่อีกหัวข้อเป็นการประยุกต์ใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการควบคุมวัสดุคงคลัง ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมาเช่นกัน ทำให้เจ้าของกิจกรรมสามารถตัดสินใจในการสั่งวัตถุดิบ ควบคุมวัสดุคงคลัง และสั่งผลิตได้แม่นยำและรวดเร็วมากขึ้น
  • สิ่งที่ทำให้ประสบความสำเร็จ – ความตั้งใจ ความขยัน ความอดทน ความพร้อมรับความรู้ใหม่ประสบการณ์ใหม่ และการกล้าที่จะถามในสิ่งที่สงสัย“Engineering SPU”

และช่วงที่ 3 ช่วงสุดท้าย เป็นช่วงศิษย์เก่ารับเชิญ 3 ท่าน ได้แก่ นายทินกฤต มีชัย ตำแหน่งวิศวกรเครื่องกล ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ,นายวัชรินทร์ ขวัญซ้าย ตำแหน่งผู้จัดการโครงการ บริษัทแสงฟ้าก่อสร้าง จำกัด และนายสาธิต มาเฮง กรรมการผู้จัดการ บริษัท 12 มิถุนายน วิศวกรรม จำกัด. ร่วมพูดคุยถ่ายทอดความรู้และแชร์ประสบการณ์ตรงในการทำงาน เกี่ยวกับ“วิชาชีพวิศวกรรมและผลกระทบจาก COVID -19”

  • ศิษย์เก่าเล่าประวัติความเป็นมาในการเรียน การทำงานตั้งแต่จบการศึกษาจนถึงปัจจุบัน ทำให้เห็นพัฒนาการ และแนวคิดในการทำงาน
  • การปรับตัวในยุคโควิด โดยเฉพาะการบริหารโครงการบริษัทเอกชน และเจ้าของกิจการ มีหลักการสำคัญคือ การรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ การประเมินความเสี่ยงและการบริหารจัดการเพื่อให้เป็นไปตามแผนงาน การเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส เช่น การบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่สามารถเข้าไปทำได้สะดวกมากขึ้นจากการที่ลูกค้าส่วนใหญ่ WFH โดยเพิ่มทักษะให้ทีมติดตั้งซึ่งงานลดลงมาสนับสนุนและปรับเปลี่ยนเป็นทีมซ่อมบำรุง ทำให้ธุรกิจยังคงอยู่รอดได้
  • สิ่งที่อยากฝากให้กับรุ่นน้อง – ทัศนคติต่อการทำงาน การปรับตัว การเรียนรู้สิ่งใหม่ และการเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส

ผศ.ดร.ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ เผยต่อว่า กิจกรรมการเสวนาออนไลน์ดังกล่าว จะพูดเกี่ยวกับประเด็น ดังนี้ การสรุปทักษะที่ต้องมี ในวิชาชีพวิศวกรรม ยุคหลังโควิด ครองเมือง ,การประยุกต์ใช้หลักวิศวกรรมอย่างถูกต้อง… ใช้ข้อมูล ไม่ใช้ความเชื่อ ,การรู้จักใช้เทคโนโลยีดิจิทัล อย่างมืออาชีพ ,การใช้ทักษะในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ภายใต้ความไม่แน่นอนและคลุมเครือ ,การยืดหยุ่นปรับตัว เรียนรู้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง… และการรอบรู้ข้ามศาสตร์ตระหนักเรื่องความปลอดภัย คุณภาพชีวิตที่ดี ….ที่นี่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เราสร้างวิศวกรมืออาชีพ ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม