อว. มอบประกาศนียบัตรแสดงความยินดีให้กับนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยที่ วช. ให้การสนับสนุนจนคว้ารางวัลจากเวทีนานาชาติ 11 เวที วันที่ 15 มิถุนายน 2565 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดพิธีมอบประกาศนียบัตรให้แก่นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทย โดยมี ศ.นพ.ดร.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีและมอบประกาศนียบัตรแสดงความยินดีแก่นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยที่ได้รับรางวัลจากเวทีนานาชาติ พร้อมทั้ง ปาฐกถาพิเศษ “นโยบายและทิศทางในการผลักดันสิ่งประดิษฐ์ ผลงานวิจัย และนวัตกรรมสู่เวทีนานาชาติ” พร้อมด้วย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวรายงานฯ ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ ชั้น 3 สโมสรทหารบก วิภาวดี

อว. ปลื้มนักวิจัย และนักประดิษฐ์ไทย กวาดรางวัล 11 เวทีนานาชาติ

ศ.นพ.ดร.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีและนวัตกรรมมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและยังเป็นตัวแปรสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศก้าวเดินไปข้างหน้า สังคมที่มั่นคงและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน สร้างความเข้มแข็งทางนวัตกรรมระดับแนวหน้าในสากล นำประเทศไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วนอกเหนือจากเรื่องกำลังคนแล้วยังมีการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือผลงานที่สามารถนำไปสู่การใช้ประโยชน์ ทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคมอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งการสนับสนุนทางตรง ได้แก่ การให้ทุนสนับสนุนในการพัฒนาโครงการและผลงานสู่การใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมผ่านที่อยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงฯ ส่วนการสนับสนุนทางอ้อม การสร้างแรงจูงใจ และการให้รางวัล ประกาศเกียรติคุณ ยกย่องบุคคล หน่วยงานด้านการวิจัยและนวัตกรรม ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ซึ่งในส่วนนี้เป็นหนึ่งในอำนาจหน้าที่ของ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในการให้ทุนสนับสนุนและดำเนินการโครงการการส่งเสริมสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม สู่เวทีระดับนานาชาติ มาอย่างต่อเนื่องโดยทำหน้าที่เป็นหน่วยงานผู้มีอำนาจเสนอชื่อของประเทศไทยในการนำผลงานของนักประดิษฐ์ไทยเข้าสู่เวทีการประกวดแข่งขัน และจัดแสดงในเวทีระดับนานาชาติ การสร้างสรรค์ผลงาน สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยทำหน้าที่เป็นผู้เสนอชื่อและประสานงานหลักของประเทศไทย ในการนำส่งผลงานของนักประดิษฐ์ และนักวิจัยไทย เข้าร่วมประกวดและจัดแสดงในเวทีระดับนานาชาติ กว่า 11 เวที โดยเล็งเห็นประโยชน์ในการส่งเสริมและสนับสนุนนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติ และเป็นโอกาสอันดี ที่จะได้เผยแพร่ผลงาน แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของคนไทย การประดิษฐ์คิดค้นที่ไม่แพ้ชาติใดนับเป็นจุดเริ่มต้น ของการยกระดับให้ผลผลิตจากงานวิจัย และผลงานประดิษฐ์คิดค้นของคนไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากลเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและร่วมกันพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนสืบไป

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าว วช. ขอแสดงความยินดีและเป็นกำลังใจให้กับนักวิจัยและนักประดิษฐ์ทุกท่านที่ได้รับรางวัลจากเวทีนานาชาติ รวมทั้งผู้บริหารหน่วยงาน ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการประดิษฐ์คิดค้น ในการส่งเสริมและสนับสนุน จนเกิดผลงานที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา วช.  ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์สู่เวทีนานาชาติในฐานะหน่วยงานเสนอชื่อและนำส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในเวทีนานาชาติของประเทศไทยกว่า 300 ผลงาน ทั้งในเวทีหลัก และเวทีประสานกว่า 10 เวที โดย วช. เป็นผู้ประสานหลักเป้าหมายเพื่อเปิดโอกาสให้นักประดิษฐ์ไทย ได้รับองค์ความรู้ใหม่และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ด้านการวิจัยและการประดิษฐ์กับนักวิจัยชาวต่างประเทศในการพัฒนาผลงานให้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางผลงานได้รับการรับรอง โดยมาตรฐานสากลซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลงานทั้งเชิงพาณิชย์และเชิงสังคมตลอดจนเกิดความร่วมมือระหว่างนักวิจัยไทยและนักวิจัยนานาชาติในการสร้างสรรค์ ผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นประโยชน์ในมิติต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรมในระดับสากล ดังนั้น วช. จึงมีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมและผลักดันให้ ผลงานวิจัยและผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้นของนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยได้ก้าวสู่เวทีระดับโลกผ่านการดำเนินงานร่วมกับพันธมิตรจากต่างประเทศ ได้แก่ IFIA  และ WIIPA ซึ่งเป็นองค์กรกลางของหน่วยงานด้านการส่งเสริมสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมนานาชาติ จากการจัดงานในวันนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยที่สามารถคว้ารางวัลจากการประกวดนับตั้งแต่ต้นปีงบ

อว. ปลื้มนักวิจัย และนักประดิษฐ์ไทย กวาดรางวัล 11 เวทีนานาชาติ

ประมาณ 2565 จนถึงปัจจุบัน รวมจำนวนทั้งสิ้น 164 ผลงาน จาก 11 เวที ระดับนานาชาติ ประกอบด้วย
1) เวที “The 6th Korea International Youth Olympiad 4i 2021” (KIYO 4i 2021) ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี โดย นักประดิษฐ์ นักวิจัยไทยได้รับรางวัล เหรียญทองจำนวน 4 รางวัล เหรียญเงินจำนวน 1 รางวัล และเหรียญทองแดงจำนวน 3 รางวัล
2) เวที “The 45th International Invention Show” (INOVA 2021) ณ เมืองซาเกร็บ สาธารณรัฐโครเอเชีย โดย นักประดิษฐ์ นักวิจัยไทยได้รับรางวัลเหรียญทองจำนวน 6 รางวัล เหรียญเงินจำนวน 8 รางวัล และเหรียญทองแดงจำนวน 4 รางวัล
3) เวที “The XV International Warsaw Invention Show 2021” (IWIS 2021) ณ กรุงวอร์ซอ สาธารณรัฐโปแลนด์ โดย นักประดิษฐ์ นักวิจัยไทยได้รับรางวัลเหรียญทองจำนวน 8 รางวัล เหรียญเงินจำนวน 13 รางวัล และเหรียญทองแดงจำนวน 10 รางวัล
4) เวที “Seoul International Invention Fair 2021” (SIIF 2021) ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี โดย นักประดิษฐ์นักวิจัยไทยได้รับรางวัล Grand Prize 1 รางวัล เหรียญทองจำนวน 6 รางวัล เหรียญเงินจำนวน 8 รางวัล และเหรียญทองแดงจำนวน 12 รางวัล
5) เวที “2021 Kaohsiung International Invention & Design Expo” (KIDE 2021) ณ เมืองเกาสง ไต้หวัน โดย นักประดิษฐ์ นักวิจัยไทยได้รับรางวัลเหรียญทองจำนวน 7 รางวัล เหรียญเงินจำนวน 10 รางวัล และเหรียญทองแดงจำนวน 6 รางวัล
6) เวที “The 32nd International Invention, Innovation & Technology Exhibition” (ITEX 2021)
ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ สหพันธรัฐมาเลเซีย โดย นักประดิษฐ์ นักวิจัยไทยได้รับรางวัลเหรียญทองจำนวน 18 รางวัล เหรียญเงิน จำนวน 5 รางวัล และเหรียญทองแดง จำนวน 4 รางวัลอว. ปลื้มนักวิจัย และนักประดิษฐ์ไทย กวาดรางวัล 11 เวทีนานาชาติ
7) เวที “The 9th Macao International Innovation and Invention Expo” (MiiEX 2021) ณ เขตบริหารพิเศษมาเก๊าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดย นักประดิษฐ์ นักวิจัยไทยได้รับรางวัลเหรียญทองจำนวน 6 รางวัล และเหรียญเงินจำนวน 10 รางวัล
8) เวที “SPECIAL EDITION 2022 INVENTIONS GENEVA EVALUTATION DAYS” ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส โดย นักประดิษฐ์ นักวิจัยไทยได้รับรางวัลเหรียญทองเกียรติยศ (Gold with Congratulations of the Jury) จำนวน 1 รางวัล เหรียญทองจำนวน 11 รางวัลเหรียญเงินจำนวน 18 รางวัล และเหรียญทองแดงจำนวน 5 รางวัล
9) เวที “Malaysia Technology Expo 2022” (MTE 2022) ณ สหพันธรัฐมาเลเซีย โดย นักประดิษฐ์ นักวิจัยไทยได้รับรางวัลเหรียญทองจำนวน 6 รางวัล และเหรียญเงินจำนวน 2 รางวัล
10) เวที “2022 Shanghai International Invention and Innovation Exhibition” ณ เมืองเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดย นักประดิษฐ์ นักวิจัยไทย เหรียญทองจำนวน 9 รางวัล เหรียญเงินจำนวน 9 รางวัล และเหรียญทองแดงจำนวน 8 รางวัล
11) เวที “The 33rd International Invention, Innovation & Technology Exhibition” (ITEX 2022)
ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ สหพันธรัฐมาเลเซีย โดย นักประดิษฐ์ นักวิจัยไทยได้รับรางวัลเหรียญทองจำนวน 3 รางวัล และเหรียญเงินจำนวน 1 รางวัล
นับเป็นความภาคภูมิใจที่นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ สะท้อนผลสำเร็จจากการบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม ที่เกิดประโยชน์ต่อประเทศในวงกว้างนำไปสู่การผลักดันนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยนำผลงานสู่มาตรฐานในระดับนานาชาติได้อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ภายในงานมีการจัดนิทรรศการผลงานของนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยที่ได้รับรางวัลจากเวทีการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมจากเวทีนานาชาติ ความสำเร็จที่ วช. ผลักดันและส่งเสริมในการสนับสนุนทุนให้นักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยก่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดผลงานในระดับสากลถือเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในเวทีระดับนานาชาติ ผลักดันให้นักวิจัยและนักประดิษฐ์ได้รับการยอมรับทั้งด้านนวัตกรรม วิชาการ ความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นเลิศ วช. มุ่งมั่นที่จะพัฒนาผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศให้ดียิ่งขึ้น