ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรพรรณ ยลระบิล ที่ปรึกษาคณบดีฝ่ายการนักศึกษา คณะพาณิชย์ฯ  ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ ( MOU ) กับ คุณมงคล เฮงโรจนโสภณ นายกสมาคมเพื่อนชุมชน ภายใต้ “โครงการสมาคมเพื่อนชุมชน – ธรรมศาสตร์โมเดล รุ่นที่ 7/2565 การส่งเสริมพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชน และกลุ่มเศรษฐกิจฐานราก ในพื้นที่มาบตาพุดคอมเพล็กซ์ ตามแนวทางธรรมศาสตร์โมเดล”โดยมีคุณชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยคุณวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คุณนวลนารถ สายสุทธิวงษ์ ผู้อำนวยการภาค ธนาคารออมสินภาค 15 กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ โรงแรมโกลเด้นซิตี้ จังหวัดระยอง  ความร่วมมือในครั้งมีการพัฒนา ระบบฐานรากด้านเศรษฐกิจของชุมชน เพิ่มมุมมองในการปรับปรุงสินค้า ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าในวงกว้าง และเพิ่มขีดความสามารถ การแข่งขันกับสินค้าอื่นในท้องตลาด นอกจากนี้ความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ในครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกันสร้างวิสาหกิจชุมชนให้มีรากฐานที่เข้มแข็ง และ สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยเน้นหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ในปีนี้มี 9 วิสาหกิจชุมชนเข้าร่วมโครงการ

🔹 วิสาหกิจชุมชนแม่บ้านประมงเรือเล็กตากวน-อ่าวประดู่

🔹 วิสาหกิจชุมชนกลุ่มตัดเย็บเครื่องหนังชนันทน์วัชเครื่องหนัง

🔹 วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์หอมมะหาด

🔹 วิสาหกิจชุมชนชากลูกหญ้าพัฒนา

🔹 วิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมสุขใจ

🔹 วิสาหกิจชุมชนครัวแม่ฉัน By Nana

🔹 วิสาหกิจชุมชนมุนดินฟาร์มเกษตร

🔹 วิสาหกิจชุมชนโคเนื้อบาร์มันบ้านแซมไฮซ์

🔹 วิสาหกิจชุมชนสวนเกษตรผสมผสาน ฐานเรียนรู้สวนคุณย่าชุมชนหนองแฟบ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรพรรณ ยลระบิล กล่าวว่า โครงการธรรมศาสตร์โมเดล เป็นโครงการต่อเนื่องที่ช่วยพัฒนา ระบบฐานรากด้านเศรษฐกิจของชุมชน เพิ่มมุมมองในการปรับปรุงสินค้า ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าในวงกว้าง และเพิ่มขีดความสามารถ การแข่งขันกับสินค้าอื่นในท้องตลาด นอกจากนี้ความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ในครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกันสร้างวิสาหกิจชุมชนให้มีรากฐานที่เข้มแข็ง และ สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยเน้นหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นำองค์ความรู้ท้องถิ่นที่มีอยู่มาต่อยอดด้วยเทคโนโลยีและการบริหารจัดการที่เป็นระบบ เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้กับชุมชนในการพัฒนาศักยภาพตนเอง สิ่งเหล่านี้คือเป้าหมายสำคัญในการช่วยเหลือวิสาหกิจชุมชนอย่างแท้จริง

นายมงคล เฮงโรจนโสภณ นายกสมาคมเพื่อนชุมชน กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นความก้าวหน้า ของการขยายผลเพื่อยกระดับวิสาหกิจชุมชน ที่ได้ร่วมกับคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนต้นแบบเขตพื้นที่มาบตาพุดคอมเพล็กซ์ โดยนำหลัก “ธรรมศาสตร์โมเดล”มาดำเนินการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้แก่วิสาหกิจชุมชน และกลุ่มเศรษฐกิจฐานราก ให้มีขีดความสามารถในการบริการในเชิงการค้า รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลวิจัยและพัฒนาระหว่างชุมชน ซึ่งคณาจารย์ และนักศึกษาโครงการบูรณาการปริญญาตรี – โท หลักสูตร 5 ปี (IBMP) คณะพาณิชยศาสตร์ มธ. ที่ทำหน้าที่ลงพื้นที่ปฎิบัติภารกิจ ให้คำแนะนำ และเป็นพี่เลี้ยงให้กับ 9 ชุมชนเป้าหมาย ซึ่งใช้ระยะเวลาดำเนินการไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายใต้กรอบความร่วมมือระยะเวลา 1 ปี ซึ่งโครงการเพื่อนชุมชน-ธรรมศาสตร์โมเดล ยังได้เชื่อมโยงไปยังผู้ประกอบการ ภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ และภาคีเครือข่ายฯ ได้ร่วมกันเป็น “บริษัทพี่เลี้ยง” ให้กับวิสาหกิจชุมชนแต่ละกลุ่ม โดยทำงานร่วมกับนักศึกษา ในการยกระดับศักยภาพ ทั้งด้านบริหารจัดการ การปรับปรุงคุณภาพสินค้า และการบริการ สร้างรายได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเชิงการค้าให้กับวิสาหกิจชุมชน จ.ระยอง สู่มาตรฐานสากล ตลอดจนร่วมกันขับเคลื่อนต้นแบบการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) ให้กับจังหวัดระยองต่อไป