ผู้เชี่ยวชาญด้านโครงการลงทุนและการก่อสร้าง 96% มีมุมมองเชิงบวกต่ออนาคตองค์กรของพวกเขา เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวขับเคลื่อนอันดับต้น ๆ ของการเติบโต แต่ต้องปรับปรุงการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงเพื่อความสำเร็จของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล บริษัท อินเอท (InEight Inc.) ผู้นำระดับโลกด้านซอฟต์แวร์การจัดการโครงการก่อสร้าง เปิดตัวรายงานแนวโน้มโครงการทุนระดับโลก หรือ Global Capital Projects Outlook ประจำปีครั้งที่สอง รายงานแนวโน้มฉบับดังกล่าวอ้างอิงจากข้อมูลเชิงลึกจากการวิจัยเจ้าของโครงการทุนรายใหญ่ที่สุดของโลก รวมถึงผู้รับเหมาก่อสร้าง รวม 300 ราย ทั่วทั้งอเมริกา ยุโรป และเอเชียแปซิฟิก
การวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม 96% มีมุมมองที่เป็นบวกอย่างมากหรือค่อนข้างมากเกี่ยวกับแนวโน้มการเติบโตขององค์กรของตนเองในปีหน้า เพิ่มขึ้นจาก 92% ในปี 2564 โดยเทคโนโลยีดิจิทัล (57%) และการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และข้อมูลเชิงลึก (53%) เป็นโอกาสอันดับต้น ๆ สำหรับการเติบโต อย่างไรก็ตาม ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบทั้งหมด (93%) กล่าวว่ายังต้องมีการปรับปรุงประสบการณ์ด้านการจัดการความเปลี่ยนแปลง ซึ่งสื่อถึงความจำเป็นของแนวทางการใช้เทคโนโลยีที่ลึกล้ำและเน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลางมากขึ้นผู้ตอบแบบสอบถามมีความกังวลเป็นพิเศษเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีที่ไม่สม่ำเสมอหรือขาดความต่อเนื่อง (58%) ปัญหาด้านกระบวนการและการผสานรวมข้อมูล (54%) การสื่อสารที่บกพร่อง (51%) และข้อจำกัดทางเทคนิคและระบบ (51%) ซึ่งเป็นความไม่พอใจอันดับต้น ๆ ที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยี ขณะเดียวกัน ผู้ตอบแบบสอบได้ระบุถึงแนวโน้มที่คล้ายคลึงกันเมื่อมีการสอบถามเกี่ยวกับอุปสรรคในการลงทุนด้านเทคโนโลยีที่สูงขึ้น โดยกล่าวถึงความท้าทายของการผสานรวมกับระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และการขาดบุคลากรที่มีทักษะเชิงเทคนิคเพื่อทำให้กระบวนการราบรื่น ซึ่งเป็นประเด็นหลัก
เจค มาโชลซ์ ( Jake Macholtz) ซีอีโอของอินเอท แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรายงานแนวโน้มฉบับดังกล่าวว่า “ทุกคนที่เราคุยด้วยต่างพูดถึงโอกาสในการเติบโตทั้งสำหรับเจ้าของและผู้รับเหมา ซึ่งมุมมองเชิงบวก การปรับตัว และความมั่นใจของอุตสาหกรรมนั้นชัดเจน และแข็งแกร่งมาก จึงสร้างขวัญและกำลังใจอย่างยิ่งสำหรับองค์กรต่าง ๆ ในยามเศรษฐกิจเช่นนี้ รวมถึงความท้าทายในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ซึ่งดูเหมือนว่า โอกาสในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นนั้นมีความหวัง”
การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง รายงานแนวโน้มพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมองว่าเทคโนโลยีดิจิทัลมีประโยชน์ในวงกว้างสำหรับการทำงานในแต่ละวัน ซึ่งประโยชน์สูงสุดคือการรับข้อมูลที่ละเอียดและครบถ้วนเกี่ยวกับโครงการและเหตุการณ์ต่าง ๆ (51%) การจัดลำดับความสำคัญของงาน/การจัดการขั้นตอนการทำงานของโครงการ (50%) และการให้ความมั่นใจว่ามีการปฏิบัติตามนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความปลอดภัย (EHS) (54%) อย่างไรก็ตาม ผู้ตอบแบบสอบถามได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นของแนวทางที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง โดย 94% กล่าวว่าพวกเขามีความกังวลเจาะจงเกี่ยวกับอนาคตของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ซึ่งสิ่งที่พวกเขาคำนึงถึงเป็นอันดับแรก ๆ ได้แก่ การสื่อสารแบบตัวต่อตัวลดลง (45%) ประสบการณ์ทางวิชาชีพและสัญชาตญาณของมนุษย์ถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี (43%) ความเสียหายต่อสมดุลชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว (41%) หรือการแทนที่งานด้วยระบบอัตโนมัติ (39%)
เมื่อสอบถามถึงประโยชน์ที่พวกเขาคาดหวังจากการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในอนาคต ผู้ตอบแบบสอบถามระบุถึง ระบบการทำงานอัตโนมัติมากขึ้น (49%) การควบคุมที่มากขึ้น (48%) ข้อมูลกลยุทธ์เชิงลึกที่มากขึ้น (47%) และการสื่อสารที่ดีขึ้น (49%) “ผู้ตอบแบบสอบถามมีความชัดเจนเกี่ยวกับประโยชน์ของเทคโนโลยีดิจิทัลและกระตือรือร้นที่จะตระหนักถึงวิสัยทัศน์ใหม่แห่งอนาคต แต่ตอนนี้อุตสาหกรรมกำลังขาดแคลนการจัดการการเปลี่ยนแปลงขององค์กร ซึ่งทำให้การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลเป็นเรื่องลำบากโดยไม่จำเป็น” คุณมาโชลซ์ กล่าว
สภาพแวดล้อมในการดำเนินงานที่อ่อนแอ ท่ามกลางอุปสรรคในซัพพลายเชน ความกดดันด้านเงินเฟ้อ ความท้าทายด้านพลังงาน และสงครามในยูเครน เจ้าของโครงการทุนและผู้รับเหมากลับมีมุมมองที่เป็นบวกเกี่ยวกับทิศทางของอุตสาหกรรมอย่างแน่วแน่ ดังจะเห็นได้ชัดเจนที่ผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า ค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างและโครงการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (เพิ่มขึ้นจาก 68% ในปีที่แล้วสู่ 76% ในปี 2565) ซึ่งการปรับตัวก็ยังอยู่ในระดับสูงเช่นเดียวกัน โดย 91% ของผู้ตอบแบบสอบถามพิจารณาว่า องค์กรของตนค่อนข้างมีการปรับตัวหรือมีการปรับตัวสูงมาก อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการให้ลุล่วงตรงเวลาและดำเนินงานตามงบประมาณได้ลดลงอย่างมาก ซึ่งต่างไปจากในรายงานปีที่แล้ว โดยผู้รับเหมาระบุว่า การดำเนินงานเสร็จตามกำหนดได้ลดลง 16% เมื่อเทียบรายปี จาก 51% เป็น 35% ในขณะที่โครงการที่เสร็จสิ้นตามงบประมาณหรือต่ำกว่างบประมาณที่ได้รับอนุมัติก็ลดลงจาก 51% เป็น 38% แต่เจ้าของโครงการไม่ได้ตระหนักถึงผลกระทบดังกล่าว โดยรายงานว่า มีโครงการเสร็จสิ้นตามกำหนด 43% และ 45% เสร็จสิ้นตามงบประมาณ
ขณะเดียวกัน ผู้ตอบแบบสอบถามได้เน้นย้ำสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานที่อ่อนแอ โดยระบุถึงการปราศจากการจัดการหรือคาดการณ์ความเสี่ยงต่าง ๆ ที่ถือเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อการดำเนินงานเสร็จตามกำหนดและอยู่ในงบประมาณ