การป้องกันทางไซเบอร์ อีคอมเมิร์ซ เทคโนโลยีการศึกษา เทคโนโลยีอสังหาริมทรัพย์ เทคโนโลยีการประกัน เพื่อความก้าวหน้าของฟิลิปปินส์ หน่วยงานของรัฐบาลฟิลิปปินส์ ภาคเอกชน และธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) ประกาศเปิดตัว “Digital Pilipinas: A Closer Look at the Philippine Sandbox” ซึ่งเป็นโครงการเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงผ่านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในระดับประเทศและระดับโลก เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคมที่ผ่านมา Digital Pilipinas เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของ GeiserMaclang และได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสิงคโปร์ผ่านทาง MAS และจากรัฐบาลฟิลิปปินส์ผ่านทางกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม (DTI) และกระทรวงการคลัง (DOF)

Sopnendu Mohanty ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีการเงินของ MAS กล่าวปราศรัยครั้งสำคัญว่า “ถ้ามีตลาดหนึ่งแห่งในเอเชียที่มีศักยภาพมากที่สุดที่เปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิงได้ นั่นก็คือฟิลิปปินส์ เราจะส่งเสริมเทคโนโลยีให้แก่ประชาชนเพื่อความก้าวหน้า ดังนั้น ความเป็นอยู่ของประชาชนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้โครงการแซนด์บ็อกซ์นี้ประสบความสำเร็จ” Amor Maclang ประธานโครงการ Digital Pilipinas และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท GeiserMaclang Marketing Communications ย้ำว่า เทคโนโลยีสามารถช่วยแก้ไขปัญหาที่มีมานานมากของประเทศได้ตามที่ระบุไว้ในแผน 12 ข้อในโครงการ Digital Pilipinas “นวัตกรรมต่าง ๆ กำลังเกิดขึ้นในแซนด์บ็อกซ์เอเชีย แต่เราก็ต้องทำให้มากกว่าแค่ยกระดับคุณสมบัติด้านนวัตกรรมของเราในฐานะประเทศเพื่อคงความได้เปรียบด้านแข่งขันไว้ เราต้องการคุณสมบัติด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากผู้นำในอนาคตของเราด้วย” เธอกล่าว

Ramon Lopez รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม เน้นย้ำอีคอมเมิร์ซที่กำลังเติบโตของประเทศ โดยกล่าวว่า “ก่อนที่จะเกิดโรคระบาด รัฐบาลได้ใช้การเปลี่ยนแปลงไปสู่เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อผลักดันให้เกิดความง่ายในการทำธุรกิจ การนำอีคอมเมิร์ซมาใช้จึงอำนวยความสะดวกให้กับการเปลี่ยนแปลงไปสู่เทคโนโลยีดิจิทัลของธุรกิจ รัฐบาลยังคงมีความมุ่งมั่นต่อบทบาทของตนเองในการทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ ในประเทศของเราสามารถรับประกันได้ว่าประชาชนของเราจะได้รับประโยชน์ในอีคอมเมิร์ซ” ด้าน Carlos Dominguez รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังฟิลิปปินส์ ระบุถึงความสำเร็จครั้งสำคัญในการจัดเก็บภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยเขากล่าวว่า “เศรษฐกิจต่าง ๆ ของเราจะต้องปรับตัวรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ถ้าพวกเขาต้องการที่จะดำเนินธุรกิจต่อไปได้ แม้แต่ก่อนเกิดโรคระบาด รัฐบาลฟิลิปปินส์ก็สนับสนุนการขยายตัวอย่างรวดเร็วของฟินเทคในประเทศของเรา และหน่วยงานด้านจัดเก็บรายได้ของเราก็ได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้อย่างเต็มที่แล้ว”

แผน 12 ข้อในโครงการ Digital Pilipinas นำเสนอวิธีแก้ไขเพื่อจัดการกับความท้าทายต่าง ๆ ภายในระบบอีโคซิสเต็มของอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ ขณะเดียวกันก็ใช้ประโยชน์จากโอกาสที่เกิดจาก ICT ไปด้วย โดยแผน 12 ข้อได้แก่ เทคโนโลยีการเงิน เทคโนโลยีของภาครัฐและเทคโนโลยีในการกำกับดูแลกฎ เทคโนโลยีอสังหาริมทรัพย์ การเปลี่ยนแปลงไปสู่เทคโนโลยีดิจิทัล ระบบธนาคารสำหรับชาวฟิลิปปินส์ที่ทำงานในต่างประเทศ อนาคตในการเคลื่อนย้าย เทคโนโลยีประกัน อีคอมเมิร์ซ ความปลอดภัยในระบบไซเบอร์ การซื้อขายไฟฟ้าผ่านอินเทอร์เน็ต อนาคตแห่งการศึกษา เมืองระบบดิจิทัล และเกมมิง

กิจกรรมที่ดำเนินมาร่วมหลายเดือนของโครงการ Digital Pilipinas จึงนำไปสู่งาน World FinTech Festival ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2564 นี้ ซึ่งงานนี้ผู้นำและผู้บุกเบิกด้านเทคโนโลยีระดับชั้นนำของประเทศ จะมาร่วมแบ่งปันความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้ม และความคล่องตัวในองค์กรในความปกติรูปแบบใหม่ และหน่วยงานที่จะมาร่วมนี้ได้แก่ผู้ร่วมจัดทำโครงการ Digital Pilipinas ซึ่งประกอบไปด้วยเครือข่ายนวัตกรรมทางการเงินอาเซียน (AFIN)/ APIX, Angkas, Dragonpay, หอการค้ายุโรปประจำฟิลิปปินส์, สมาคมฟินเทคฟิลิปปินส์, Global Impact Fintech Forum (GIFT), Insular Life, Kimstore, KPMG of the Philippines (R.G. Manabat & Co), Mynt (GCash), Overseas Filipino Bank (OF Bank), The Final Pitch, Tier One Entertainment, Union Bank of the Philippines, UNObank, Women Future Conference และ Xendit Philippines Maclang ย้ำด้วยว่า “เรายังไม่มีอิสระอย่างแท้จริง จนกว่าเราจะควบคุมอนาคตดิจิทัลของเราในฐานะประเทศ”