เมื่อวันที่ (29 มิ.ย. 63) เวลา 09.30 น. ที่ผ่านมา นายปรเมธี วิมลศิริ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสั งคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิ บัติการพัฒนากลไกศูนย์ ประสานงานด้านความเสมอภาคระหว่ างหญิงชาย โดยมีนางสาววิจิตา รชตะนันทิกุล รองอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบั นครอบครัว กล่าวรายงาน ทั้งนี้ มีคณะผู้บริหารด้านการเสริมสร้ างบทบาทหญิงชาย (Chief Gender Equality Officer – CGEO) หัวหน้าศูนย์ประสานงานด้ านความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย (Gender Focal Point – GFP) และเจ้าหน้าที่ GFP ทุกหน่วยงานสังกัดกระทรวง พม. รวมจำนวน 45 คน เข้าร่วมประชุม ณ ห้องปรินซ์ บอลรูม 3 ชั้น 11 โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค กรุงเทพฯ
นายปรเมธี วิมลศิริ ปลัดฯกล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่ นคงของมนุษย์ (พม.) ในฐานะหน่วยงานหลักของรัฐบาลที่ ดำเนินการขับเคลื่อนงานส่งเสริ มความเสมอภาคระหว่างเพศ โดยได้ให้ความสำคัญของผู้บริ หารและกลไกหลักในการส่งเสริ มความเสมอภาคระหว่างเพศภายในหน่ วยงาน ได้แก่ CGEO และ GFP ที่มีความรู้และความตระหนั กในเรื่องเพศภาวะ สิทธิสตรี และการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่ างเพศ จะนำไปสู่การกำหนดนโยบาย ทิศทาง และการดำเนินงานที่คำนึงถึ งความแตกต่างทางเพศ และประเด็นเพศภาวะ


นายปรเมธี กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา กระทรวง พม. มีการจัดการประชุม CGEO และ GFP โดยกำหนดแนวการพัฒนาใน 5 มิติ เพื่อสร้าง พม. ให้เป็นต้นแบบองค์กรในการส่ งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ ประกอบด้วย 1. มิติการพัฒนากลไก โดยให้มีการแต่งตั้ง CGEO ระดับกรม และ GFP ในทุกกรม และทบทวนการดำเนินการตามแผนแม่ บทด้านการส่งเสริ มความเสมอภาคระหว่างเพศ เป็นต้น 2. มิติการพัฒนาบุคลากร โดยให้ความรู้เรื่ องเพศภาวะและการส่งเสริ มความเสมอภาคระหว่างเพศ รวมถึงการบู รณาการเพศภาวะในการปฏิบัติงานกั บกลุ่มเป้าหมายของหน่วยงาน 3. มิติการพัฒนาการปฏิบัติงาน โดยจัดเก็บข้อมูลจำแนกเพศในองค์ กรทั้งบุคลากรและผู้ใช้บริการ และงบประมาณที่มีมุมมองมิติ เพศภาวะ (Gender Responsive Budgeting – GRB) เป็นต้น 4. มิติการพัฒนาสภาวะแวดล้ อมและกฎระเบียบภายในองค์กร
โดยปรับปรุงและพั ฒนามาตรการและสภาพแวดล้อมให้เอื้ อต่อการส่งเสริ มความเสมอภาคระหว่างเพศ เช่น ความเสมอภาคระหว่ างเพศในการสรรหาและแต่งตั้ง การจัดห้องให้นมบุตร ห้องดูแลเด็กเล็ก ห้องปั๊มน้ำนมมารดา ห้องน้ำสำหรับคนพิการ ผู้สูงอายุ กลุ่มบุคคลที่มี ความหลากหลายทางเพศ และจัดทำมาตรการป้องกันและแก้ ไขการล่วงละเมิดหรือการคุ กคามทางเพศในการทำงานทุกหน่ วยงาน เป็นต้น 5. มิติการติดตามและประเมินผล โดยทุกส่วนราชการมีหน้าที่ ในการติ ดตามและการรายงานการดำเนิ นงานในการส่งเสริ มความเสมอภาคระหว่างเพศ